You can replace this text by going to "Layout" and then "Edit HTML" section. A welcome message will look lovely here.
RSS

วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ในส่วนของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ในส่วนของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็ มี พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ 2491 ได้รับการยกเว้นการเสียภาษี ให้อำนาจพระมหากษัตริย์แต่งตั้งคณะกรรมการทรัพย์สินฯ ได้ตามพระราชอัธยาศัย ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ ยังดำรงตำแหน่งรองราชเลขาธิการ

ในขณะที่กฎหมายของไทยให้ความคุ้มครองพระมหากษัตริย์เรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุ ภาพและ เห็นว่าสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินไม่ควรตรวจสอบบัญชีของสำนักงานทรัพย์สินฯ เพราะเป็นการหมิ่นเหม่ต่อการละเมิดพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งความคลุมเครือของสถานภาพของสำนักงานทรัพย์สินฯ
คือไม่อนุญาตให้มีการวิจารณ์หรือตรวจสอบสำนักงานทรัพย์สินฯของกษัตริย์ภูมิพลนั่นเอง

พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฯยังคุ้มครองทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่ให้ตก ไปสู่บุคคลอื่น เว้นแต่ได้รับพระบรมราชานุญาตเท่านั้น ดังนั้น หากสำนักงานทรัพย์สินฯ ถูกฟ้องหรือดำเนินคดี เจ้าหนี้ไม่สามารถยึดที่ดินและผู้ใดจะอ้างการครอบครองโดยปรปักษ์ไม่ได้ จะตกเป็นของสาธารณะก็ไม่ได้ การตรวจสอบสำนักงานทรัพย์สินฯต้องได้รับพระบรมราชานุญาตและต้องไม่กระทบพระ ราชอำนาจ
ปี 2544 สำนักงานทรัพย์สินฯ ใช้ที่ดิน บริเวณสวนมิสกวันและคุรุสภา ราว 35 ไร่ มูลค่าราว 1200 ล้านบาท แลกหุ้น ปตท. ของกระทรวงการคลังกว่า 34 ล้านหุ้น (หุ้นละ 35 บาท) ต้นปี 2547 ราคาหุ้นของ ปตท.ขึ้น 5 เท่าตัว อยู่ที่ 140–170 บาท ทำให้กำไรกว่า35,000 ล้านบาท

ในปี 2546 สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้นำที่ดินบริเวณทุ่งพญาไท จำนวน 484.5 ไร่ (มูลค่า 16,500 ล้านบาท) แลกกับหุ้นของธนาคารไทยพาณิชย์ที่กระทรวงการคลังถือ เพื่อเพิ่มหุ้นจาก 11.8% เป็น 24.0 %ในปี 2549 ทั้งๆที่ไม่มีกฎหมายอนุญาต

พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ 2522 บังคับให้เอกชนถือหุ้นธนาคารไม่เกิน 5% ภายในวันที่ 7 มีนาคม 2527 ตอนนั้นสำนักงานทรัพย์สินฯของกษัตริย์ภูมิพล มีหุ้นในธนาคารไทยพาณิชย์ 36% แต่มีการตีความว่าการถือหุ้นของสำนักงานทรัพย์สินฯของกษัตริย์ภูมิพล อยู่ในข้อยกเว้นของกฎหมาย เช่นเดียวกับหน่วยงานของรัฐ สำนักงานทรัพย์สินฯจึงได้สิทธิ์พิเศษควบคุมธนาคารไทยพาณิชย์ไว้เหมือนเดิม

ที่น่าแปลก คือนอกจากพสกนิกรของพระองค์ทั้งที่ร่ำรวยและที่ร่วงโรยจะต้องร่วมทำบุญโดย เสด็จพระราชกุศลมิได้ขาดแล้ว ยังต้องจ่ายเงินภาษีเลี้ยงดูพระราชวงศ์ ให้ดำรงอยู่เป็นศักดิ์ศรีของชาติ มิให้น้อยหน้าพระราชวงศ์ใดๆในโลก ด้วยงบประมาณแผ่นดินที่ค่อนข้างสูงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับพระราชวงศ์ในอารยประเทศที่ประชาชนมีมาตรฐานการกินอยู่ ที่ดีกว่าประชาชนไทยหลายเท่า
งบประมาณของสำนักพระราชวังที่ต้องจ่ายค่าบำรุงเลี้ยงดูพระราชวงศ์เพิ่มมาก ขึ้นเรื่อยๆ ทั้งๆที่เป็นกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก โดยในปี 2551 มีมากกว่า 2,000 ล้านบาท รวมทั้งงบอำนวยความสดวกที่จัดไว้ในหน่วยงานต่างๆรวมเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 6,000 ล้านบาท ยังมีงบแฝงอยู่ในกระทรวงต่างๆ อีก เช่น

ค่าจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ

ค่ารับรอง งบเสด็จพระราชดำเนิน ต้อนรับประมุขต่างประเทศ 500 ล้านบาท งบสำนักพระราชวัง 2,086 ล้านบาท งบถวายอารักขา ถวายพระเกียรติโดยกองทัพบก 185 ล้านบาท

กรมราชองครักษ์ถวายความปลอดภัยถวายพระเกียรติและปฏิบัติตามพระราชประสงค์ 465 ล้านบาท งบสํานักงานตํารวจแห่งชาติถวายความปลอดภัย 349 ล้านบาท กองบัญชาการทหารสูงสุดถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ 120 ล้านบาท งบสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำหรับโรงเก็บเครื่องบินพระราชพาหนะ 2 โรง 381ล้านบาท

งบซื้อเฮลิคอปเตอร์พระราชพาหนะ 3 เครื่อง และโรงจอด 1,220 ล้านบาท งบค่าใช้จ่ายเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง 600ล้านบาท
ขณะที่ค่าใช้จ่ายสำหรับพระราชวงศ์อังกฤษปีละ 2200 ล้านบาท งบค่าใช้จ่ายราชวงศ์ของไทยจึงแพงกว่าอังกฤษถึง 3เท่า ขณะที่ประเทศอังกฤษมีผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงกว่าไทย ถึง 4 เท่า...
รูปภาพ : ในส่วนของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็มี พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ 2491 ได้รับการยกเว้นการเสียภาษี ให้อำนาจพระมหากษัตริย์แต่งตั้งคณะกรรมการทรัพย์สินฯ ได้ตามพระราชอัธยาศัย ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ ยังดำรงตำแหน่งรองราชเลขาธิการ

ในขณะที่กฎหมายของไทยให้ความคุ้มครองพระมหากษัตริย์เรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและ เห็นว่าสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินไม่ควรตรวจสอบบัญชีของสำนักงานทรัพย์สินฯเพราะเป็นการหมิ่นเหม่ต่อการละเมิดพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งความคลุมเครือของสถานภาพของสำนักงานทรัพย์สินฯ
คือไม่อนุญาตให้มีการวิจารณ์หรือตรวจสอบสำนักงานทรัพย์สินฯของกษัตริย์ภูมิพลนั่นเอง

พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฯยังคุ้มครองทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่ให้ตกไปสู่บุคคลอื่น เว้นแต่ได้รับพระบรมราชานุญาตเท่านั้น ดังนั้น หากสำนักงานทรัพย์สินฯ ถูกฟ้องหรือดำเนินคดี เจ้าหนี้ไม่สามารถยึดที่ดินและผู้ใดจะอ้างการครอบครองโดยปรปักษ์ไม่ได้ จะตกเป็นของสาธารณะก็ไม่ได้ การตรวจสอบสำนักงานทรัพย์สินฯต้องได้รับพระบรมราชานุญาตและต้องไม่กระทบพระราชอำนาจ
ปี 2544 สำนักงานทรัพย์สินฯ ใช้ที่ดิน บริเวณสวนมิสกวันและคุรุสภา ราว 35 ไร่ มูลค่าราว 1200 ล้านบาท แลกหุ้น ปตท. ของกระทรวงการคลังกว่า 34 ล้านหุ้น (หุ้นละ 35 บาท) ต้นปี 2547 ราคาหุ้นของ ปตท.ขึ้น 5 เท่าตัว อยู่ที่ 140–170 บาท ทำให้กำไรกว่า35,000 ล้านบาท

ในปี 2546 สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้นำที่ดินบริเวณทุ่งพญาไท จำนวน 484.5 ไร่ (มูลค่า 16,500 ล้านบาท) แลกกับหุ้นของธนาคารไทยพาณิชย์ที่กระทรวงการคลังถือ เพื่อเพิ่มหุ้นจาก 11.8% เป็น 24.0 %ในปี 2549 ทั้งๆที่ไม่มีกฎหมายอนุญาต

พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ 2522 บังคับให้เอกชนถือหุ้นธนาคารไม่เกิน 5% ภายในวันที่ 7 มีนาคม 2527 ตอนนั้นสำนักงานทรัพย์สินฯของกษัตริย์ภูมิพล มีหุ้นในธนาคารไทยพาณิชย์ 36% แต่มีการตีความว่าการถือหุ้นของสำนักงานทรัพย์สินฯของกษัตริย์ภูมิพล อยู่ในข้อยกเว้นของกฎหมาย เช่นเดียวกับหน่วยงานของรัฐ สำนักงานทรัพย์สินฯจึงได้สิทธิ์พิเศษควบคุมธนาคารไทยพาณิชย์ไว้เหมือนเดิม

ที่น่าแปลก คือนอกจากพสกนิกรของพระองค์ทั้งที่ร่ำรวยและที่ร่วงโรยจะต้องร่วมทำบุญโดยเสด็จพระราชกุศลมิได้ขาดแล้ว ยังต้องจ่ายเงินภาษีเลี้ยงดูพระราชวงศ์ ให้ดำรงอยู่เป็นศักดิ์ศรีของชาติ มิให้น้อยหน้าพระราชวงศ์ใดๆในโลก ด้วยงบประมาณแผ่นดินที่ค่อนข้างสูงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับพระราชวงศ์ในอารยประเทศที่ประชาชนมีมาตรฐานการกินอยู่ที่ดีกว่าประชาชนไทยหลายเท่า
งบประมาณของสำนักพระราชวังที่ต้องจ่ายค่าบำรุงเลี้ยงดูพระราชวงศ์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งๆที่เป็นกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก โดยในปี 2551 มีมากกว่า 2,000 ล้านบาท รวมทั้งงบอำนวยความสดวกที่จัดไว้ในหน่วยงานต่างๆรวมเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 6,000 ล้านบาท ยังมีงบแฝงอยู่ในกระทรวงต่างๆ อีก เช่น

ค่าจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ

ค่ารับรอง งบเสด็จพระราชดำเนิน ต้อนรับประมุขต่างประเทศ 500 ล้านบาท งบสำนักพระราชวัง 2,086 ล้านบาท งบถวายอารักขา ถวายพระเกียรติโดยกองทัพบก 185 ล้านบาท

กรมราชองครักษ์ถวายความปลอดภัยถวายพระเกียรติและปฏิบัติตามพระราชประสงค์ 465 ล้านบาท งบสํานักงานตํารวจแห่งชาติถวายความปลอดภัย 349 ล้านบาท กองบัญชาการทหารสูงสุดถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ 120 ล้านบาท งบสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำหรับโรงเก็บเครื่องบินพระราชพาหนะ 2 โรง 381ล้านบาท

งบซื้อเฮลิคอปเตอร์พระราชพาหนะ 3 เครื่อง และโรงจอด 1,220 ล้านบาท งบค่าใช้จ่ายเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง 600ล้านบาท
ขณะที่ค่าใช้จ่ายสำหรับพระราชวงศ์อังกฤษปีละ 2200 ล้านบาท งบค่าใช้จ่ายราชวงศ์ของไทยจึงแพงกว่าอังกฤษถึง 3เท่า ขณะที่ประเทศอังกฤษมีผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงกว่าไทย ถึง 4 เท่า...
ในปี 2540 ประมาณว่าสำนักงานทรัพย์สินฯของกษัตริย์ภูมิพล ได้เข้าไปถือหุ้นโดยตรงของบริษัทต่างๆมากกว่า 70 บริษัท ซึ่งครอบคลุมในกิจการต่าง ๆ ที่สำคัญคือปูนซีเมนต์ ธนาคารพาณิชย์ โรงแรม พลังงาน เหมืองแร่ อสังหาริมทรัพย์ ประกันภัย/ประกันชีวิต ชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังได้ลงทุนทั้งโดยตรงและโดยอ้อมทั้งสิ้นเกือบ 300 บริษัท โดย 43 บริษัท จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์
มีอุตสาหกรรม 37 แห่ง สถาบันการเงิน 11 แห่ง ประกันภัย/คลังสินค้า 8 แห่ง โรงแรม 8 แห่ง
พัฒนาที่ดิน/ก่อสร้าง 6 แห่ง ธุรกิจบริการ/สื่อสารมวลชน 9 แห่ง รายได้บริษัทปูนซีเมนต์และบริษัทในเครือสูงเกินหลักแสนล้านบาทเป็นครั้งแรก ในปี 2538 และได้ร่วมลงทุนกับทุนต่างประเทศ

เช่น กลุ่มโอบายาชิบริษัทก่อสร้างยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่น ในนามบริษัท นันทวัน หรือ ไทยโอบายาชิ ผู้สร้างตึกเอสซีปาร์ครัชโยธิน ธนาคารกรุงเทพสีลม สยามดิสคัพเวอรี่และรถไฟไฟ้ขนส่งมวลชน ในปี 2548 ได้ตั้ง บริษัทนันทวรรณมารูเซ่ โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานทรัพย์สิน และมารูเซ่ (ญี่ปุ่น)

ร่วมกับบริษัทเซโรกราฟฟิค ซิสเต็ม หรือไทยฟูจิ ซีรอค Fuji Xerox ขายเครื่องถ่ายเอกสารอุปกรณ์สำนักงาน

ลงทุนกับบริษัทไทยโอยาเล็นซ์
Hoya Lens ผลิตแว่นตา

สยามคูโบตาดีเซล
Siam Kubota Diesel
ผลิต เครื่องสูบน้ำ
รถไถนา รถแทรกเต้อร์

วาย เค เค ซิปเปอร์ ( YKK Zipper )
ไว เค เค เทรดดิ้ง
ผลิตซิป อุปกรณ์เครื่องแต่งกาย

ร่วมลงทุนกับกิจการขนาดใหญ่ เช่น ธนาคารกรุงไทย ปิโตรเคมีแห่งชาติ ปุ๋ยแห่งชาติ ไทยออยส์ ที่ควบคุมปัจจัยการผลิตสำคัญของประเทศ และขยายตัวเร็วมาก เช่น บริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติ ปี 2519–2528 ช่วงที่ นายสมหมาย ฮุนตระกูล และนายจรัส ชูโตเป็นผู้จัดการใหญ่เครือซิเมนต์ไทย ได้มีการเข้าซื้อกิจการเป็นจำนวนมาก เช่น

บริษัทสยามคราฟท์ (Siam Craft)
ผู้ผลิตกระดาษ คราฟท์ รายแรกของไทย

ตั้งบริษัทโรยัล เซรามิค อุตสาหกรรม
และเข้าซื้อกิจการของโรยัลโมเสค

ซื้อกิจการบริษัท สยามบรรจุภัณฑ์
ซึ่งผลิตกระดาษลูกฟูก

บริษัท ยางไฟร์สโตน ( ประเทศ ไทย )

บริษัทแพนด์สกรุ๊ป
ขนส่งสินค้าหรือโลจิสติกส์

อามิเกจแซงค์ (กรุงเทพฯ)
ผู้ผลิตสุขภัณฑ์ หรือ สยาม ซานิตารีแวร์

อินเตอร์เนชั่นแนลแอนยิเนียริ่ง(ไอ อี ซี)
จำหน่ายเครื่องจักรกล สื่อสารและโทรคมนาคม

บริษัทท่อซีเมนต์ใยหิน
(Asbestos Cement Pipe)

ไทยวนภัณฑ์
ซื้อกิจการไม้อัดจากศรีมหาราชา
และไทยทักษิณป่าไม้

กระเบื้องทิพย์
ผลิตกระเบื้องมุงหลังคา
ของบริษัทกระเบื้องซูเปอร์

กระดาษสหไทย
ผลิต กระดาษ พิมพ์เขียน

เอส พี แบตเตอรี
หรือ สยามฟูรูกาวา

ไทยอินดัสเตรียลฟอร์จจิงส์ผลิตอะไหล่มอเตอร์ไซต์ ฯลฯ

ในช่วง 2535 -2540 เครือซีเมนต์ไทยมีบริษัทร่วมลงทุนกว่า 130 บริษัท พนักงานกว่า 35,000 คน ประกาศการลงทุนในต่างประเทศ 27 โครงการ ต่อมาได้ลดเหลือ 3 โครงการเท่านั้น ธุรกิจในเครือซีเมนต์ไทยได้รับความคุ้มครองจากรัฐบาลมานาน ในทุกๆด้าน จึงไม่ต้องพัฒนาปรับปรุง และผูกขาดการขายในประเทศ ได้กำไรกว่าส่งออก คุณภาพก็ไม่จำเป็นต้องดีนัก และเข้าไปมีบทบาทสำคัญในกลุ่มสมาคมและสภาหอการค้าไทย มีการขยายตัวขนานใหญ่จากการกู้หนี้ต่างประเทศ ในปี 2539 บริษัทมีหนี้ต่างประเทศกว่า 60,000 ล้านบาท พอเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 2540 ทำให้ขาดทุนกว่า 50,000 ล้านบาท....

Read Comments
  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น