You can replace this text by going to "Layout" and then "Edit HTML" section. A welcome message will look lovely here.
RSS

วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557

พระอัจฉริยเพียบ...

เมื่อจอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรม สถาบันพระมหากษัตริย์ก็กลับมาเป็นศูนย์รวมของชาติอีกครั้ง ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเจ้าปรารถนามานานแล้ว โดยไม่แปดเปื้อนไปกับการเมืองอันแสนจะทุเรศทุรังที่อยู่รายรอบ

และผู้สืบอำนาจคือ ถนอมและประภาส ก็ ต้องก้มหัวให้พระองค์เพื่อหาความชอบธรรมของรัฐบาลที่ตนกำกับดูแลอยู่ ช่วงนั้นพวกเจ้ารุ่นชรายังคงกำกับดูแลกิจการของวังในหลวงก็สนพระทัยในงาน อดิเรกและแขนงวิชาที่กว้างขวางเป็นแง่มุมใหม่ๆ

ทรงเป็นพ่อที่อบอุ่น ทรงเป็นนักกีฬาผู้เก่งกาจ เป็นอัครศิลปิน นักดนตรีผู้ยิ่งใหญ่ ราชาแจ๊ซ สุดยอดนักเศรษฐศาสตร์พัฒนา และจ้าวแห่งการนั่งสมาธิ

โดยได้รับการโฆษณาชวนเชื่อและสร้างเป็นตำนานอย่างไม่หยุดหย่อนตลอดพระชนมชีพ ที่เหลือของพระองค์ เพื่อย้ำเตือนพสกนิกรให้ตระหนักในพระอัจฉริยภาพอันไร้ผู้เทียบเทียมแล้ว ยังเป็นการช่วยระดมทุนสำหรับกิจการของราชสำนักซึ่งมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ภายใต้การจัดการระดับมืออาชีพของวังที่ช่วยสั่งสมความมั่งคั่งของพระราชวงศ์ อย่างเงียบๆ

ในหลวงภูมิพลทรงสนพระทัยการกีฬาและการบริหารร่างกายตัวมาตั้งแต่วัยเยาว์ ทรงพายเรือและยกน้ำหนักเป็นประจำในช่วงปี 2490 - 2500 และทรงชอบหาคู่แข่งขันแบดมินตัน และเทนนิสจากทั้งข้าราชบริพาร ทหารและคนอื่นๆ ในแวดวง

รวมถึงพระราชธิดาองค์โปรด ฟ้าหญิงอุบลรัตน์เมื่อเธอเติบโตเข้าสู่วัยรุ่น พระองค์ไม่มีทางแน่ใจได้เลยว่าคู่แข่งขันของพระองค์แค่ยอมอ่อนข้อให้หรือไม่

คนที่กล้าเอาชนะพระองค์กลายมาเป็นพระสหายที่คบหากันยาวนาน เช่น หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี พระโอรสในพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ และเป็นพระอนุชาของหม่อมเจ้าหญิงวิภาวดี รังสิต เป็นผู้ติดตามใกล้ชิดตั้งแต่ครั้งยังเป็นพระอนุชาในรัชกาลที่ 8 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิโครงการหลวง

กีฬาที่ในหลวงภูมิพลทรงโปรดปรานมากที่สุด คือการแล่นเรือใบขนาดเล็ก ซึ่งเป็นทั้งการออกกำลังกาย และการวัดกำลังของตนเอง และช่วยให้หลีกห่างจากข้าราชบริพารที่คอยเสนอหน้าตลอดเวลา

พระองค์ดูมีความสุขมากที่สุด เวลาปล่อยพระองค์ปล่อยพระทัยให้ล่องลอยไปตามกระแสลมพัดพา เพลิดเพลินกับควันบุหรี่และการจิบวิสกี้ คู่หูของพระองค์ก็ คือฟ้าหญิงอุบลรัตน์และหม่อมเจ้าภีศเดช ที่ช่วยคัดท้ายเรือโดยไม่มีปัญหาทางพิธีปฏิบัติ

การที่ในหลวงภูมิพลทรงโปรดการแล่นเรือใบได้ก่อให้เกิดกระแสเห่อการแล่นเรือ ใบขึ้นมาในหมู่ชนชั้นสูง ที่ก็พากันแห่ไปหัวหินในช่วงหน้าร้อน ราชสกุลมหิดลทรงจัดการแข่งเรือใบตลอดทั้งวัน ลงท้ายด้วยงานเลี้ยงพระราชทานรางวัลอย่างสุดเหวี่ยง แต่ยังยากที่จะปั้นให้เป็นพระปรีชาสามารถอีกอันหนึ่งให้ได้ แต่พบว่ามีสามหนทางในการคั้นเอาพระอัจฉริยภาพออกมาให้ได้

อย่างแรกคือ งานอดิเรกของในหลวงในการที่ทรงพระอุตสาหะสูงสุดในการสร้างเรือขึ้นมาด้วย พระองค์เอง ทรงมีโรงงานขนาดเล็กขึ้นมาในสวนจิตรดาในปี 2507 ทรงต่อเรือแบบเอนเตอร์ไพรส์ แบบโอเค และแบบมอธ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของนักเล่นเรือใบเรือเล็กที่มักต่อเรือเองทั้งนั้น

แต่ทางวังและรัฐบาลก็ทำเหมือนกับว่า มันเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมหัศจรรย์สุดยอดราวปาฏิหาริย์เลยทีเดียว จนได้รับการเทิดทูนยกย่องว่าเป็นพระมหากษัตริย์แห่งความเพียรวิริยะอุตสาหะ และทรงประสบความสำเร็จ ราวกับว่าทรงสร้างเรือเดินสมุทรขนาดยักษ์ได้ด้วยมือเปล่า และทรงเป็นยอดอัจฉริยะในการใช้เครื่องไม้เครื่องมือ และเทคโนโลยี โดยทรงคิดค้นปรับปรุงประสิทธิภาพของเรือให้ดีขึ้นมาได้

ในวันที่ 19 เมษายน 2509 ทรงแล่นเรือโอเค OK dinghy ตัดผ่านอ่าวไทย เป็นระยะทาง 60 ไมล์ทะเล หรือ 111 ก.ม.จากหัวหินไปยังสัตหีบ ด้วยเวลา 14 ชั่วโมง พระวีรกรรมนี้ได้รับการบรรยายว่าเป็นการแล่นเรือที่จริงจัง โดดเดี่ยวและยากลำบาก

แต่ก็ไม่จริงนักเพราะ ลมเบาบางมากและทะเลก็สงบเงียบ พระองค์ทรงอยู่บนเรือตามลำพัง โดยมีหม่อมเจ้าภีศเดชและพระองค์เจ้าพีระ แชมป์แข่งรถแล่นเรืออีกลำอยู่ข้างๆ ตามด้วยกองเรือของกองทัพเรือและเอกชน

มีการสลักก้อนหินขนาดใหญ่ที่สัตหีบ เพื่อรำลึกถึงโอกาสนี้ไว้ล่วงหน้าแล้ว เช่นเดียวกับการต่อเรือ มันคือความสำเร็จที่แสนจะธรรมดา และก็ไม่ใช่ความสำเร็จชนิดที่เป็นความสุดยอดหนึ่งเดียวที่จะต้องเป็นข่าว เกรียวกราว ภายหลังเส้นทางหัวหิน-สัตหีบนี้ไม่สามารถจัดการแข่งขันประจำปีได้ เนื่องจากมีโขดหินมากเกินไป

หนทางที่สามที่จะเชิดชูกิจกรรมการแล่นเรือให้เป็นพระปรีชาสามารถให้ได้ก็คือ ชัยชนะในการแข่งขันกีฬาเซียพเกมส์ หรือกีฬาแหลมทองในเดือนธันวาคม 2510 ที่มาของเรื่องก็คือ พล.อ.อ ทวี จุลละทรัพย์ หนึ่งในก๊วนแล่นเรือใบที่หัวหิน และเป็นสมาชิกของคณะกรรมการโอลิมปิคของไทย

อธิบายว่า “ เราต้องการให้ในหลวงเป็นเหมือนกษัตริย์โอลาฟที่ 5 (King Olav V) กษัตริย์ขวัญใจประชาชนแห่งนอร์เวย์ที่เป็นเลิศด้านกีฬา ที่ได้เหรียญทองโอลิมปิคในกีฬาสกีขณะเป็นมกุฏราชกุมาร ” แต่ซีเกมส์หรือกีฬาแหลมทองในตอนนั้นก็มีแต่เพียงพม่า ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์เท่านั้นที่ร่วมแข่งขัน งานนี้จึงไม่ได้ใกล้เคียงโอลิมปิคเลยแม้แต่น้อย

ในหลวงภูมิพลกับฟ้าหญิงอุบลรัตน์ทรงแข่งในนามทีมชาติไทย เมื่อแข่งขันกันไปได้ครึ่งทางของการแข่งขันทั้งหมดหกครั้ง ฟ้าหญิงอุบลรัตน์นำมาเป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วยพระราชบิดาของเธอ เมื่อสิ้นสุดการแข่งขันครั้งที่ห้า ฟ้าหญิงวัยรุ่นก็ทรงนำอยู่ไม่มากนัก ในหลวงจะได้เหรียญทองก็ต้องชนะการแข่งครั้งสุดท้ายเท่านั้น แต่ถ้าคู่แข่งขันรายอื่นเข้ามาเป็นที่หนึ่ง บารมีของพระมหากษัตริย์ก็จะเสียหาย

ผลการแข่งขันก็ออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด โดยที่พระเจ้าอยู่หัวทรงชนะการแข่งขันครั้งสุดท้ายและฟ้าหญิงอุบลรัตนทรงมา เป็นที่สอง ด้วยคะแนนที่เท่ากัน ในหลวงและฟ้าหญิงอุบลรัตน์จึงทรงครองเหรียญทองร่วมกัน ไม่มีใครรู้ว่าพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลเก่งถึงระดับโอลิมปิคหรือไม่

แต่สิ่งสำคัญคือ วันที่พระองค์และฟ้าหญิงอุบลรัตน์รับเหรียญทองจากสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ในวันที่ 16 ธันวาคม 2510 กลายมาเป็นวันกีฬาแห่งชาติ สำหรับคนไทยแล้ว คงไม่มีใครสงสัยเลยว่าพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลของเราก็เก่งไม่แพ้กษัตริย์ของ นอร์เวย์ที่ได้เหรียญทองโอลิมปิค.......

Read Comments
  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น