You can replace this text by going to "Layout" and then "Edit HTML" section. A welcome message will look lovely here.
RSS

วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2557

คนรักของในหลวง

คนรักของในหลวง

เป็นที่ทราบกันดีว่าในหลวงอานานทรงเชื่อฟังและขึ้นกับแม่สังวอนเสมอ ช่วงที่อยู่สวิตเซอร์แลนด์แม่สังวอนจะดูแลเรื่องอาหารการกินและเรื่องทั่วไป แม้แต่กำหนดการไปกลับเข้าออกบ้านของในหลวงอานาน เมื่อออกจากบ้านแม่สังวอนจะให้นายเซไรดาริส ( Mr. Seraidaris ) อาจารย์ชาวกรีกคอยตามดูแล

ในหลวงอานานจึงไม่ค่อยมีความเป็นส่วนตัวมากนัก นายเซไรดาริสจะติดตามพระองค์ไปเยี่ยมเยียนเพื่อนๆคล้ายกับเป็นตัวแทนแม่สัง วอน ดังนั้นบางครั้งในหลวงอานานก็ต้องพยายามปกปิดเรื่องที่อาจทำให้แม่สังวอนไม่ พอใจ โดยต้องแอบทำลับๆ ต่างจากเสี่ยเล็กที่ค่อนข้างเป็นตัวของตัวเองโดยไม่ต้องมีแม่มาคอยกวดขัน อบรม

ในหลวงอานานมีเพื่อนหญิงเกิดปีเดียวกันชื่อ มารีลีน เฟอรารี ( Marylene Ferrari ) พ่อของเธอคือยูจีนเฟอรารี ( Eugene Ferrari) เป็นหมอสอนศาสนานิกายแคลวินของสวิส ( Calvinist Church ) ระดับเจ้าคุณชั้นผู้ใหญ่ โดยย้ายเข้ามาอยู่ในโลซานน์ที่ถนนเวอร์ไดล์ในย่านคนมั่งมี เป็นคนสูงใหญ่ ผิวคล้ำเพราะมีเชื้อสายอิตาเลียน ใบหน้าเข้ม มีไมตรี ไม่ถือตัว มีภรรยากับบุตรชายอีกคนหนึ่ง ภรรยารูปร่างธรรมดาเป็นคนที่รักสามีและลูกทั้งสองมาก

เมื่อในหลวงอานานจบชั้นมัธยมและเข้าเรียนโรงเรียนกฎหมายมหาวิทยาลัยโลซานน์ ( Lausanne )ในเดือนกันยายน 2486 เมื่อมีอายุ 18 ปี ในชั้นเรียนมีเพื่อนร่วมชั้น 13 คน มีมารีลีนเฟอรารีเป็นผู้หญิงอยู่คนเดียว เธอเป็นสาวรูปร่างหน้าตาดี ตาสีน้ำตาลแก่ ผมสีน้ำตาลสลวย ฟันงาม เป็นคนร่าเริง พูดตรงไปตรงมาแต่ไม่พูดบ่อย มิตรภาพได้ค่อยๆเกิดขึ้นระหว่างกษัตริย์หนุ่มของไทยกับลูกสาวนักสอนศาสนาชาว สวิส ทั้งสองมักนั่งฟังการบรรยายด้วยกัน และได้พบกันในที่สังสรรค์ตอนบ่ายตามบ้านของเพื่อนนักศึกษา

มาริลีนได้มีโอกาสพบแม่สังวอนสองสามครั้งในขณะที่ในหลวงอานานยังมีชีวิตอยู่ และไม่ได้พบกันตลอดหกเดือนเมื่อในหลวงเสด็จกลับประเทศไทย เพื่อนนักศึกษาเคยไปที่วิลล่าวัฒนาโดยมีมาริลีนร่วมอยู่ด้วย ทรงเล่นเทนนิสกับมาริลีนและคนอื่นๆ ในหลวงอานานไม่เคยเสด็จในที่สาธารณะ เช่นกาแฟ บาร์ หรือภัตตาคาร แต่ทรงชอบทำความรู้จักและสนิทสนมกับเพื่อนนักศึกษาด้วยกัน

แม่สังวอนได้สั่งในหลวงอานานอย่างจริงจังถึงภาระหน้าที่ทีมีต่อประเทศและ ประชาชนไทย และจะไม่ยอมให้แต่งงานกับหญิงตะวันตกอย่างเด็ดขาด แม่สังวอนต้องย้ำเตือนในหลวงอานานเรื่องภาระหน้าที่ในฐานะกษัตริย์อยู่เสมอ ต่างจากเสี่ยเล็กที่ไม่ต้องจ้ำจี้จ้ำไช หรือต้องคอยกำชับหรือพร่ำสอนอะไรมากนัก ฝ่ายครอบครัวของมารีลีนก็ต้องคอยเตือนลูกสาวเช่นกัน เพราะพวกเขาก็ไม่ได้พิศมัยต่อราชบัลลังก์ของไทยแต่อย่างใด แม้ว่าทั้งผู้เป็นพ่อและแม่จะชอบอัธยาศรัยของในหลวงอานาน แต่ไม่อยากให้ลูกสาวแต่งงานกับชาวตะวันออก เพราะเห็นว่าฐานะของสตรีในตะวันออกต่ำต้อย แต่ก็ยอมให้ติดต่อคบหากันได้ในลักษณะเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน เพราะทั้งสองไม่ได้ทำให้ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายหนักใจ จึงไม่มีปัญหาเรื่องการพบปะ โดยที่ทั้งสองฝ่ายจะรักษาความสัมพันธ์ให้คงอยู่ในระดับเป็นเพื่อนกันเท่า นั้น

ความสัมพันธ์ของหนุ่มสาวทั้งสองได้เจริญงอกงามในบรรยากาศของมหาวิทยาลัยที่ มีความรู้สึกดึงดูดเข้าหากัน โดยทั้งคู่สัญญาจะไม่ให้ใครรู้เรื่องความสัมพันธ์ของพวกเขา และจะรักษาความลับนี้ไว้เป็นอย่างดี นายเซไรดาริสเคยตามในหลวงอานานไปงานสังสรรค์นักศึกษาและตามพระองค์พามาริลี นชมภาพยนต์ด้วยกัน และอีกครั้งที่ทรงพามารีลีนไปชมคอนเสิร์ตของมหาวิทยาลัย

ทั้งสองได้พยายามอยู่ด้วยกันตามลำพังเท่าที่จะทำได้ บางครั้งทั้งคู่ก็หลบไม่เข้าห้องเรียนแต่แอบไปขี่จักรยานเที่ยวนอกเมือง สัปดาห์เว้นสัปดาห์ระยะทาง 8-9 กิโลเมตรไปเที่ยวทะเลสาบทางทิศตะวันตก เที่ยวชมไร่องุ่นที่อยู่ทางทิศตะวันออกและไปสำรวจป่าเขาที่อยู่ทางเหนือ บางครั้งในหลวงอานานก็โทรศัพท์บอกล่วงหน้าให้พวกครอบครัวเฟอรารีได้เตรียม ตัวต้อนรับ นางเฟอรารีก็ดีใจที่เห็นลูกสาวมีความสุขกับพระองค์ เพราะในหลวงอานานเป็นคนถ่อมตัวและอ่อนโยน จึงได้ยอมให้อยู่กันตามลำพัง มีครั้งหนึ่งที่มีคนบังเอิญเข้าไปในที่พัก และเห็นทั้งสองกำลังเล่นวิ่งไล่จับกัน แต่ถึงจะมีใจให้กัน ก็ต้องยอมรับความจริงที่ว่า ทั้งคู่จะแต่งงานกันไม่ได้เด็ดขาด

คนทั้งสองมักคุยกันอย่างจริงจังเป็นเวลานาน ทั้งเรื่องของโลกและความก้าวหน้าในอนาคตของประเทศไทย ทั้งคู่จะอ่านตำรากฎหมายด้วยกัน ในหลวงอานานทรงสอนภาษาไทยแก่หญิงสาว และชอบฟังเสียงร้องเพลงของเธอ โดยพระองค์จะเล่นเปียโนและแนะนำให้เธอเรียนการร้องเพลงซึ่งเธอก็ปฏิบัติตาม รวมทั้งเรื่องการเรียนกฎหมายและเรื่องอื่นๆ โดยทรงสนับสนุนให้เธอได้พยายามอย่างดีที่สุด ในหลวงอานานเสียพระทัยที่เธอสอบวิชากฎหมายตก ขณะที่พระองค์ทรงสอบได้ จึงได้ช่วยเตรียมตัวให้เธอเพื่อสอบแก้ตัว และเธอได้ส่งโทรเลขแจ้งข่าวว่าเธอสอบได้แล้ว ทั้งคู่จะใช้นามแฝงในเขียนจดหมายเพื่อไม่ให้คนอื่นได้ล่วงรู้

ระหว่างปิดภาคเรียนฤดูร้อนในปี 2488 ครอบครัวเฟอรารีบังเอิญไปเช่าบ้านที่จัมเปกซ์ ขณะที่ครอบครัวมหิดอนก็ไปเช่าโรงแรมอยู่ในย่านเดียวกัน ทำให้ทั้งสองได้มีโอกาสพบกันมากขึ้น ตลอดเวลา 18 เดือนที่คนทั้งสองได้มีชีวิตเหมือนนิยายอย่างลับๆ โดยไม่ใยดีต่อโลกภายนอก

แต่เมื่อกลับจากจัมเปกซ์ ( Champex ) โลกภายนอกก็วิ่งเข้ามาพวกเขา โดยมีโทรเลขจากนายปรีดี ลงวันที่ 6 กันยายน 2488 ทูลเชิญในหลวงอานานให้เสด็จกลับประเทศไทยเมื่อพระองค์บรรลุนิติภาวะในปลาย เดือนนั้น โดยมีการฉลองวันเกิดที่วิลล่าวัฒนาในวันที่ 20 กันยายน 2488 ในหลวงอานานได้นัดฉลองวันเกิดกับมาริลีนเป็นการส่วนตัว โดยเธอได้ให้มีดเงินสำหรับเปิดซองจดหมาย ในหลวงอานานได้ให้ไดอารีที่พระองค์ได้เขียนถึงเรื่องราวที่ได้ทำร่วมกัน ก่อนเสด็จกลับประเทศไทยพระองค์ได้รวบรวมจดหมายและของที่ระลึกทุกชิ้นให้มาริ ลีนเก็บรักษาไว้เพราะทรงเกรงว่าอาจมีคนมาพบเห็นเข้า พร้อมทั้งได้กำหนดนัดแนะวิธีติดต่อกัน

ในวันที่จะเสด็จกลับประเทศ ไทย พระองค์ได้ โทรศัพท์ หามาริ ลีนสองครั้งและได้ส่งโพสการ์ดเมื่อเครื่องบินลงแวะที่เตอรกี และเขียนจดหมายหรือโทรเลขถึงเธอสัปดาห์เว้นสัปดาห์ โดยส่วนใหญ่จะส่งตรงไปที่ถนนเวอร์ไดล์ ในหลวงอานานได้สั่งให้นำจดหมายจากสวิสทั้งหมดส่งให้พระองค์โดยตรง ทรงบ่นกับมาริลีนว่าเธอเขียนจดหมายถึงพระองค์น้อยไปหน่อย และเมื่อทรงทราบข่าวในเดือนมีนาคมว่าต้องยืดเวลาอยู่ในเมืองไทยต่อไปอีก ทำให้ทรงมีความคิดถึงกันอย่างรุนแรง โดยได้ส่งโทรเลขไปถึงเธอให้เขียนจดหมายถึงกันให้บ่อยขึ้น

มารีลีนได้รับจดหมายจากไปรษณีย์เที่ยวแรกในเช้าวันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน 2489 ในหลวงอานานทรงเล่าว่ามีคนพาหญิงสาวในตระกูลชั้นสูงมาแนะนำให้รู้จัก และคนหนึ่งในจำนวนนี้อาจมาเป็นมเหสีของพระองค์ แต่พระองค์ทนรอเวลาที่จะกลับไปโลซานน์อีกต่อไปไม่ได้แล้ว ...ถ้อยคำเช่นนี้ อย่างน้อยที่สุดก็ต้องนำความปลาบปลื้มมาสู่หัวใจของหญิงสาว เพราะในหลวงอานานกำลังจะเสด็จกลับมาพบกับเธอและจะได้ใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย เดียวกันต่อไปอีกอย่างน้อยสองปี

แต่หัวใจของมาริลีนต้องแตกสลายไปทันที เมื่อได้ยินข่าวจากทางวิทยุว่า ในหลวงอานานสวรรคตแล้ว

พวกนักข่าวพยายามสืบเสาะเรื่องภูมิหลังของในหลวงอานานและติดตามจนพบตัวมาริ ลีน นักข่าวพากันไปที่บ้านของเธอที่หัวถนนเวอร์ไดล์ ขณะที่พระราชวงศ์ไทยยังคงถือและเชื่อมาจนถึงทุกวันนี้ว่ามาริลีนเป็นเพียง พระสหายผู้คุ้นเคยคนหนึ่งของในหลวงอานานเช่นเดียวกับพระสหายคนอื่นๆในชั้น เรียนเดียวกันเท่านั้น อย่างไรก็ดีนายเซไรดาริสหรือเจ้ากรีกผู้มีจมูกไวก็ได้เตือนมาริลีนให้สงบ เงียบอย่าให้พวกนักข่าวเอาเรื่องของความคุ้นเคยปกติไปขยายความจนเกินความ เหมาะสม แม่ของมาริลีนต้องเก็บตัวมาริลีนไว้ในบ้านถึง 8 วัน จนกระทั่งพวกนักข่าวพากันเลิกรากลับไปหมด

แต่ศาลไทยไม่ได้สนใจในประเด็นเรื่องภูมิหลังที่เมืองโลซานน์ของในหลวงอานาน เลยแม้แต่น้อย ทั้งๆที่คณะผู้พิพากษาก็ได้เคยไปเผชิญสืบถึงสวิตเซอร์แลนด์ จึงจะอ้างว่าไม่มีโอกาสไม่ได้ อย่างน้อยที่สุดคณะผู้พิพากษาก็อาจจะหาข้อสรุปได้ว่าจดหมายของใครกันที่ ในหลวงอานานทรงเผาเมื่อวันก่อนสวรรคตหรือยังเหลือจดหมายอีกสักฉบับไหมที่นาย บุศย์ให้การว่าเห็นจดหมายอยู่ในมือของแม่สังวอนตอนที่นางกระทืบเท้ากับพื้น ระหว่างที่เสี่ยเล็กต้องเดินกลับไปกลับมาเพราะยังตัดสินใจไม่ได้ ขณะที่แม่สังวอนไม่เห็นด้วยกับความคิดของเสี่ยเล็ก หรือว่าแม่สังวอนเริ่มรู้ถึงความสัมพันธ์ที่แท้จริงระหว่างในหลวงอานานกับมา ริลีนและได้เตือนให้พระองค์ระงับความรู้สึกให้ได้ก่อนเสด็จกลับไปสวิส เรื่องนี้ทำให้มีการลือว่าเกิดมีปากเสียงกันอย่างรุนแรงระหว่างในหลวงอานาน กับแม่สังวอน แต่คำให้การของเสี่ยเล็กและแม่สังวอนก็ไม่มีการกล่าวถึงจดหมายดังกล่าวหรือ ชื่อของมาริลีน เฟอรารีอยู่เลย.......

Read Comments
  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น