You can replace this text by going to "Layout" and then "Edit HTML" section. A welcome message will look lovely here.
RSS

วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557

กำเนิดจักรีและคดีสวรรคต

ฟังเสียงพร้อมเพลงประกอบ : http://www.4shared.com/mp3/APS-DYp-/The_Royal_Legend_04__.html หรือที่ :http://www.mediafire.com/?5nd5p277aw5h5v5
..........
ตำนานๆ 009004 : กำเนิดจักรีและคดีสวรรคต
กรณี พระเจ้าตากสิน
ถูกสั่งประหารคาผ้าเหลือง

หลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พระเจ้าตากสิน ได้นำทัพกอบกู้เอกราชให้แก่ไทย แล้วสถาปนากรุงธนบุรี เป็นราชธานีใหม่ ทรงรวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่นแล้วปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2311 แม้จะมีเรื่อง เล่าว่า พระเจ้าตากสินทรงกู้เงินจากจีนมาทำสงครามกู้เอกราชและคิดจะไม่จ่ายหนี้ จึงคิดอุบายหลบหนี้โดยให้พระยาจักรียึดอำนาจ และบางตำนานก็ว่าเพชฌฆาตใจอ่อนปล่อยพระเจ้าตากหนีไปบวชอยู่ที่วัดเขาขุนพนม นครศรีธรรมราช แต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์ชี้ชัดว่าพระองค์ถูกพระยาจักรี สั่งประหารชีวิตเพื่อปราบดาภิเษกราชวงศ์ใหม่ และมีการกำจัดขุดรากถอนโคนเชื้อสายพระเจ้าตากสินอีกหลายครั้ง

ชนวนมาจากความวุ่นวายทางการเมืองในเวียตนามที่องค์เชียงชุนและองค์เชียงสือพ่ายหนีพวกกบฏไตเซิน (หรือราชวงศ์เล้)ต้องถอยร่นลงมาทางใต้ หวังจะได้กำลังจากเขมร จึงเข้าไปคุมการเมืองในเขมร ซึ่งเป็นประเทศราชของไทย พระเจ้าตากสินได้ทรงแต่งตั้งนักองค์นนเป็นกษัตริย์กัมพูชา แต่ถูกเจ้าฟ้าทะละหะ (มู) จับประหารในพ.ศ. 2322แล้วถวายราชสมบัติให้นักองค์เองพระชนม์ 7 พรรษาโดยตนเป็นมหาอุปราช

ฝ่ายกรุง ธนบุรีไม่ไว้ใจ จึงสั่งให้พระยาจักรี (ด้วง) เจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) กรมขุนอินทรพิทักษ์ พระราชโอรสเป็นทัพหลวงยกทัพไป เมื่อรบชนะแล้วให้ตั้งกรมขุนอินทรพิทักษ์ครองกรุงกัมพูชาต่อไป ทัพ หลวงพยายามจะรุดหน้าไป แต่ทัพรองชลอฟังเหตุการณ์ทางกรุงธนบุรี ฝ่ายญวนได้ลอบแต่งทูตมาแอบเจรจากับแม่ทัพรองฝ่ายไทย แม่ทัพรองฝ่ายไทยก็ให้ญวนล้อมกองทัพสมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ และทัพพระเจ้าหลานเธอ กรมขุนรามภูเบศอย่างแน่นหนา มิให้เคลื่อนที่ได้ ส่วนพวกตนรีบเดินทัพย้อนกลับมากรุงธนบุรีโดยด่วน ทางด้านกรุงธนบุรี มีผู้ปลุกปั่นยุยง และชักชวนทำการกบฏ รวบรวมคนตั้งเป็นกองรบเข้าทำร้ายผู้รักษากรุงเก่า แล้วเดินทางมายังกรุงธนบุรี ยิงเข้าพระนครโดยมีพวกกบฏในกรุงธนบุรี ก่อการจลาจลรับกับพวกกบฏที่ยกมาจากกรุงเก่า
ในตอนแรก พวกกบฏให้พระสงฆ์ไปทูลขอพระเจ้าตากสินผนวชเพื่อสะเดาะเคราะห์เมือง 3 เดือน สมเด็จพระเจ้าตากสินฯทรงรับคำทูล เพราะเห็นว่ากำลังจากภาคตะวันออกกลับมาไม่ทันและราษฎรก็ถูกปลุกปั่นให้เข้า ใจผิดว่าพระเจ้าตากสินทรงมีสติวิปลาส จึงต้องยอมบวชไปก่อนที่วัดแจ้ง ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อทรงผนวช 12 วัน พระยาสุริยอภัย (ทองอิน) หลานเจ้าพระยาจักรี ยกทัพมาจากนครราชสีมา ร่วมกับพวกกบฏ

พอเช้าวันที่ 6 เมษายน 2325 เจ้าพระยาจักรี รีบเดินทัพใหญ่มาถึงพระนคร มีการสอบถามความเห็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ซึ่งส่วนมากเป็นพวกของพระยาจักรี ว่าควรทำอย่างไรต่อไป
ข้า ราชการที่ยังจงรักภักดีในพระเจ้าตากสิน และเชื่อในพระปรีชาสามารถของพระองค์ ก็ยืนยันว่าควรไปกราบทูลให้ลาผนวชออกมาครองราชสมบัติบริหารราชการแผ่นดินโดย ด่วน หรือไม่ก็ควรยกราชสมบัติให้รัชทายาทของพระองค์แทน พวกข้าราชการพวกที่กล้าพูดเช่นนั้น ก็ถูกคุมตัวไปประหารชีวิตทั้งหมด
สมเด็จพระเจ้าตากสินถูกปลงพระชนม์ในวันนั้น ณ พระวิหารที่ประทับในวัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) หลังจากทรงผนวช 28 วัน โหรจดไว้ว่าดับขันธ์ เพื่อยืนยันว่าพระเจ้าตากสินถูกปลงพระชนม์ขณะที่ทรงเพศเป็นพระภิกษุ เมื่อมีพระชนม์ 48 พรรษา
ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ กล่าวถึงวาระสุดท้ายของพระเจ้าตากสินมหาราชไว้ในหนังสือ”การเมืองไทยสมัยพระ เจ้ากรุงธนบุรี” หน้า 575 ว่า " ( พระพุทธยอดฟ้าฯ) จึงมีรับสั่งให้เอาไปประหารชีวิตสำเร็จโทษเสีย เพชฌฆาตกับผู้คุม ก็ลากเอาตัวขึ้นแคร่หามไปกับทั้งสังขลิกพันธนาการ เจ้าตากสินจึงว่าแก่ผู้คุมเพชฌฆาตว่า ตัวเราก็สิ้นบุญจะถึงที่ตายแล้ว ช่วยพาเราแวะเข้าไปหาท่านผู้สำเร็จราชการ จะขอเจรจาด้วยสักสองสามคำ ผู้คุมก็ให้หามเข้ามา ครั้น ( พระพุทธยอดฟ้าฯ)ได้ทอดพระเนตร จึ่งโบกพระหัตถ์มิให้นำมาเฝ้า ผู้คุมแลเพชฌฆาตก็ให้หามออกไปนอกพระราชวัง ถึงหน้าป้อมวิชัยประสิทธิ์ (ริม แม่น้ำเจ้าพระยาปากคลองบางกอกใหญ่ที่ตั้งกองทัพเรือติดวัดอรุณหรือพระราชวัง สมัยกรุงธนบุรี) ก็ประหารชีวิตตัดศีรษะเสีย ถึงแก่พิราลัย จึ่งรับสั่งให้เอาศพไปฝัง ณ วัดบางยี่เรือใต้"
แล้วเชิญพระศพไปฝังไว้ที่วัดอินทาราม บางยี่เรือ ใกล้ ตลาดพลู (เวลานั้นเรียกวัดบางยี่เรือ) บรรดาศพข้าราชการที่จงรักภักดีในพระองค์ เช่น เจ้าพระยานครราชสีมา (บุญคง ต้นสกุลกาญจนาคม) พระยาสรรค์ (สกุลแพ่งสภา) พระยารามัญวงศ์ (สกุลศรีเพ็ญ) พระยาพิชัยดาบหัก (ทองดี ต้นสกุลวิชัยขัทคะ และพิชัยกุล) กว่า 50 นาย ถูกฝังเรียงรายใกล้พระศพพระเจ้าตากสิน
ฝ่าย พระราชวงศ์ของพระเจ้าตากสินที่ยังเหลือ ถ้าเป็นเจ้าชายที่โตแล้วก็ถูกจับปลงพระชนม์หมด เอาไว้แต่ที่ยังเป็นเด็ก ส่วนเจ้าหญิงก็ถูกถอดพระยศออกแล้วเรียกว่าหม่อม แม้แต่สมเด็จพระราชินี และสมเด็จพระน้านาง อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ฝ่ายเจ้าพระยาอินทวงศาเสนาบดีฝ่ายกลาโหม ขณะบัญชาการทัพใกล้เมืองถลาง ก็ฆ่าตัวตายตามพระเจ้าตากสิน และ ไทยต้องช่วยองค์เชียงสือรบกับพวกราชวงศ์เล้หรือกบฎไตเซิน 2 ครั้ง ต้องช่วยอาวุธยุทธภัณฑ์อีกนับไม่ถ้วน ตามข้อตกลงลับที่ได้ช่วยกันล้มราชบัลลังก์ของพระเจ้าตากสิน รวมทั้งต้องเสียเมืองพุทไธมาศแก่ญวนเมื่อญวนตั้งราชวงศ์องเชียงสือสำเร็จมีอำนาจมากขึ้น

การสืบราชสมบัติของราชวงศ์จักรี
พระยาจักรีผู้สถาปนาราชวงศ์
ด้วยชีวิตของกษัตริย์ผู้กู้ชาติ


เมื่อรัชกาลที่ 1 ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงเทพแล้ว ก็พยายามทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าพระองค์เป็นเอกบุรุษที่สมบูรณ์ไปด้วยบุญญาบารมีและบริสุทธิ์กว่าผู้อื่นทั้งแผ่นดิน จดหมายเหตุของกรมหลวงนรินทรเทวี น้องสาวรัชกาลที่ 1 บันทึกว่า อะแซหวุ่นกี้รบชนะเมืองพิษณุโลกที่มีพระยาจักรี เป็นแม่ทัพฝ่ายไทย แต่ก็ถูกกองทัพของพระเจ้าตากสินโจมตีจนแตกพ่ายยับเยิน ฝ่ายไทยสามารถจับแม่ทัพใหญ่ ได้พม่าหลายหมื่น พม่าแตกเลิกทัพหนีไป อะแซหวุ่นกี้ถูกกษัตริย์พม่าถอดยศ และเนรเทศไปอยู่ที่เมืองจักกาย ทั้งที่เคยได้รับการยกย่องในฐานะวีรบุรุษที่รบชนะกองทัพจีนมาแล้ว

รัชกาล ที่ 1 จึงรู้สึกอับอายที่ต้องถอยทัพหนีพม่า และริษยาพระเจ้าตากสิน ที่สามารถปราบกองทัพพม่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสมัยกรุงธนบุรี และปราบอะแซหวุ่นกี้ที่เอาชนะทั้งกองทัพจีนและพระยาจักรีมาแล้ว จึงบังคับอาลักษณ์แก้ไขประวัติศาสตร์ทุก ฉบับ ว่าอะแซหวุ่นกี้มิได้รบกับพระเจ้าตากสิน แต่ต้องถอยทัพไป เพราะกษัตริย์พม่ามีหมายเรียกตัวกลับ และได้รับรางวัลจากกษัตริย์พม่าในฐานะที่ปราบหัวเมืองเหนือของไทยได้สำเร็จ พงศาวดารฉบับพระนพรัตน์บันทึกเรื่องโกหกอย่างน่าขบขัน ว่าพระยาจักรีได้แต่งอุบายให้เอาพิณพาทย์ขึ้นตีบนกำแพงเมือง เพื่อลวงพม่าเหมือนขงเบ้ง ตีขิมลวงสุมาอี้ในเรื่องสามก๊ก แล้วรัชกาลที่ 1 ก็ชิงโอกาสตีฝ่าวงล้อมทัพพม่าที่ล้อมเมืองพิษณุโลกหนีออกมาได้ และเรื่องโกหกที่ อะแซหวุ่นกี้ขอดูตัวเจ้าพระยาจักรี เพราะจะไม่เคยมีแม่ทัพชาติไหนที่จะขอดูตัวแม่ทัพอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อสรรเสริญ ว่า เก่งกาจสามารถเป็นเยี่ยม เนื่องจากเป็นการทำลายขวัญสู้รบของทหารฝ่ายตน และจะมีความผิดเป็นขบถตามกฎมณเฑียรบาลที่ว่าผู้ใดไปคบหาฝ่ายอริราชศัตรูหรือ ราชทูตของคู่สงครามเพื่อแอบเจรจาจะมีโทษถึงตาย

รัชกาลที่ 1 ยังเล่าเรื่องโกหกให้เจ้าเวียงจันทร์กับพระยานครศรีธรรมราชฟังในวัดพระแก้ว ให้คนได้ยินกันหลายคนว่าเคยมีซินแส หรือหมอดูจีนหัวร่อ ทำนายว่า พระยาจักรีกับพระยาตากสินจะได้เป็นกษัตริย์ทั้งคู่ เพื่อทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า พระองค์มีพระปรีชาสามารถเป็นเลิศ มีบุญญาอภินิหารกว่าใครในแผ่นดินรวมทั้งพระเจ้าตากสินด้วย และหาเหตุผลมาสนับสนุนการล้มราชบัลลังก์ของพระเจ้าตากสิน
กรม พระราชวังบวรฯ ( บุญมา ) น้องชายรัชกาลที่ 1 เคยถูกพระเจ้าตากสินโบยถึง 60 ที เพราะคลานเข้าถึงตัวพระเจ้าตากสินขณะที่พระองค์ทรงนั่งกรรมฐานอยู่ที่ตำหนัก แพ ส่วนพระยาจักรี ก็เคยถูกพระเจ้าตากสินโบยถึง 2 ครั้ง เพราะพระยาจักรี รบกับเจ้าพระฝางด้วยความย่อหย่อนจึงถูกโบย 30 ที และถูกโบยอีก 50 ที เพราะบกพร่องในการทำเมรุเผาพระชนนี(แม่)

พระยาจักรี ได้ถวายบุตรสาวเป็นสนมของพระเจ้าตากสิน ซึ่งสนมพระเจ้าตากสินผู้หนึ่งที่ถูกประหารชีวิตเพราะมีชู้ น่าจะเป็นบุตรสาวของรัชกาลที่ 1 ทำให้รัชกาลที่ 1 เคียดแค้นพระเจ้าตากสินมาก และหาเรื่องประณามพระเจ้าตากว่าเต็มไปด้วย โมหะ โลภะ ทั้งๆที่ พระเจ้าตากสินเป็นผู้นำในการรวบรวมผู้คน ในภาวะสงคราม จนปราบพวกพม่าและชิงกรุงศรีอยุธยากลับคืนมาได้ จึงทรงเป็นผู้นำ ที่รักชาติ กล้าหาญเด็ดเดี่ยว เป็นศูนย์รวมของชาวไทย กอบกู้บ้านเมืองได้สำเร็จในช่วงเวลาเพียงปีเดียว

พระเจ้าตากมีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ ไม่มีแม้แต่ปราสาทราชวังหลังเดียวในสมัยกรุงธนบุรี มีแต่เพียงท้องพระโรงพระราชวังเดิมที่คล้ายโบสถ์หลังหนึ่งเท่านั้น
สมัย พระเจ้าตากสินได้มีการฟื้นฟูพุทธศาสนาหลังภาวะสงครามครั้งใหญ่ ทรงส่งเสริมการปฏิบัติธรรมอย่างกว้างขวาง ทรงเจริญวิปัสสนากรรมฐาน พระสงฆ์จึงอยู่ในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด แต่รัชกาลที่ 1 ต้องการควบคุมพุทธศาสนา โดยกล่าวหาคณะสงฆ์ไทยว่าไม่รักษาศีล ไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย เพื่อหาเรื่องเข้าไปควบคุมศาสนจักร ให้รับใช้ราชวงศ์ใหม่ ถึงกับให้ตำรวจวังไปเอาสมเด็จพระวันรัต (ทองอยู่) วัดบางหว้าใหญ่ พระอาจารย์วิปัสสนาของพระเจ้าตากสินให้สึกออกแล้วลงพระราชอาญาเฆี่ยน 100 ที และให้ประหารชีวิต เพราะแค้นที่พระเคยทูลให้พระเจ้าตากสินลงโทษพระองค์ แต่ฟ้าฉิมทรงทูลขอให้ไว้ชีวิตอาจารย์ของตนไว้ รัชกาลที่1 ให้กรมสังฆการีปกครองสงฆ์และแต่งตั้งสมณะศักดิ์ และตัดสินปัญหาที่พระสงฆ์ต้องอธิกรณ์(ถูกลงโทษ) มีการตั้งกรมหลวงรักษ์รณเรศ โอรสของรัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็นพวกลักเพศ ชอบมั่วสุมกับเด็กหนุ่มๆ ให้บังคับบัญชากรมสังฆการี

มีความขัดแย้งรุนแรงระหว่างระหว่างกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ( บุญมา ) หรือ วังหน้าซึ่งเป็นน้องกับรัชกาลที่ 1 หรือวังหลวง คราวหนึ่งวังหน้าจะสร้างปราสาทมียอดทั้งที่รู้ว่าเป็นของหวงห้ามสำหรับ กษัตริย์ได้มีผู้ร้ายเป็นคนของวังหลวงแอบเข้าไปจะฆ่าวังหน้าขณะทรงบาตร จึงต้องเลิกการสร้างปราสาทนั้น วัง หน้าขอให้วังหลวงเพิ่มรายได้แก่ตน แต่วังหลวงไม่ยินยอม จึงโกรธไม่เข้าเฝ้ารัชกาลที่ 1 พวกวังหน้าเห็นขุนนางวังหลวงขนปืนใหญ่ขึ้นป้อม จึงตั้งปืนใหญ่หันไปทางวังหลวงบ้าง พี่สาวรัชกาลที่ 1 ต้องเกลี้ยกล่อมวังหน้าให้เข้าเฝ้า เหตุการณ์จึงสงบลง แต่พวกวังหน้ามักดูหมิ่นพวกวังหลวงว่าสู้พวกตนไม่ได้
ถึงปี 2344 วังหน้าป่วยหนักด้วยโรคนิ่ว ให้คนหามเสลี่ยงเดินรอบวังหน้า แล้วสาปแช่งว่า ใครไม่ใช่ลูกของตน ถ้ามาครอบครองราชสมบัติที่ตนสร้าง ขออย่าให้มีความสุข เพราะ รู้ว่าราชสมบัติจะเป็นของลูกรัชกาลที่ 1 พอมาถึงวัดมหาธาตุ ให้เอาเทียนมาจุดที่ดาบ จะแทงตนเอง พระโอรสต้องเข้าแย่งชิงพระแสงไว้ได้ วังหน้าทรงกันแสงและฝากฝังให้ลูกๆหาทางยึดราชสมบัติกลับคืนมาให้ได้ พอ วังหน้าสวรรคต พวกวังหน้าตั้งกองฝึกอาวุธเตรียมการกบฏ โดยมีพระองค์เจ้าลำดวนและอินทปัตพระโอรสใหญ่เป็นหัวหน้า แต่รัชกาลที่ 1 ทรงทราบจึงให้จับประหารทั้งหมด

รัชกาลที่ 1 ทรงพระประชวรอยู่ 3 ปี สวรรคตปีพ.ศ. 2352 มีพระราชโอสรสและพระราชธิดารวม 42 พระองค์เมื่อเสด็จสวรรคตได้เพียง 3 วันยังไม่ทันราชาภิเษกรัชกาลที่ 2 ก็เกิดคดีเจ้าฟ้าเหม็นเป็นกบฏ หรือสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระมารดาคือสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงฉิมใหญ่ พระราชธิดาองค์ใหญ่ของรัชกาลที่ 1 ทรงเป็นหลานตาองค์โตของรัชกาลที่ 1 พอประสูติได้12 วัน พระมารดาสิ้นพระชนม์ ต่อมาอีก 3 ปี คือ 6 เมษายน 2325 พระราชบิดา คือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงถูกเจ้าคุณตา สั่งประหาร พร้อมกับพระญาติอีกหลายพระองค์จนเกือบสิ้นพระราชวงศ์ เจ้าฟ้าเหม็นทรงพ้นชะตากรรมนี้มาได้ก็เพราะยังเล็ก และทรงเป็นหลานคนโต ของเจ้าพระยาจักรี
เมื่อเจริญวัยขึ้น จึงโปรดพระราชทานวังถนนหน้าพระลาน ติดกับท่าช้างวังหลวง เหตุ เกิดจากมีบัตรสนเท่ห์กล่าวโทษพระองค์คบคิดกับขุนนางจำนวนหนึ่งคิดแย่งชิงราช สมบัติ เป็นเรื่องแปลกพิสดาร ว่ามีพยานเห็น อีกา คาบกระดาษหนังสือมาทิ้งลงริมพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท (ในวัดพระแก้ว) รัชกาลที่ 2 ให้จับกุมเจ้าฟ้าเหม็นมาสอบสวน ส่วน เจ้าจอมมารดาสำลี จำเลยอีกคนหนึ่งเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีพระนามว่าพระองค์ เจ้าหญิงสำลีวรรณ เป็นเจ้าจอมในกรมหลวงเสนานุรักษ์ (พระอนุชาของรัชกาลที่ 2 ต่อมาคือวังหน้าในรัชกาลที่ 2 ) พระโอรสของพระเจ้าตากสินที่ถูกกล่าวหาอีกพระองค์หนึ่งคือนายหนูดำ หรือพระองค์เจ้าชายอรนิภา

รัชกาลที่ 2 โปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ ( หรือพระองค์เจ้าชายทับต่อมา คือกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ) ชำระความ ได้ว่า มีขุนนางผู้ใหญ่เข้าร่วมด้วยคือ เจ้าพระยาพลเทพ (บุนนาค บ้านแม่ลา) พระยาเพ็ชรปาณี (กล่อม) พระยาราม (ทอง) พระอินทรเดช (กระต่าย)
นอกนั้นเป็นชั้นผู้น้อย รวมผู้ต้องหาในคดีนี้ 40 คน กับพระราชวงศ์อีก 3 พระองค์ เจ้าพระยาพลเทพ เมื่อครั้งยังเป็นนายบุนนาค อยู่บ้านแม่ลา แขวงกรุงเก่า เป็นต้นคิดโค่นราชบัลลังก์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เพื่อถวายราชสมบัติแก่พระยาจักรี จึงได้เป็นเจ้าพระยาไชยวิชิต รักษากรุงเก่า และต่อมาได้เป็นเจ้าพระยาพลเทพ สังกัดกรมนา และเป็นแม่ทัพไปปราบกบฏที่เมืองยิริง หัวเมืองฝ่ายใต้ พอปีรุ่งขึ้นรัชกาลที่ 1 ก็เสด็จสวรรคต จงรักภักดีต่อรัชกาลที่ 1มาตลอด แต่อาจเป็นการฆ่าปิดปากผู้ร่วมก่อการกบฏโค่นล้มพระเจ้าตาก เจ้าชายทับ ชี้มูลผู้ร่วมก่อการกบฏรวมกับข้าในกรมเจ้าฟ้าเหม็นอีก 30 คน ถูกสั่งประหารทั้งหมด ใช้เวลาสอบสวนทั้งสิ้น 4 วัน เป็นอันสิ้นสุดการฆ่าล้างโคตรเพื่อกำจัดเชื้อสายของพระเจ้าตากสิน ชนิดขุดรากถอนโคน ที่เรียกว่า ตัดหวายอย่าไว้หน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก

รัชกาลที่ 2 ทรงแต่งตั้งเจ้าฟ้าบุญรอดเป็น พระมเหสี ต่อมาโปรดให้เจ้าฟ้ากุณฑล น้องสาวคนละแม่ของตน อายุ 18-19 ปี ขึ้นเป็นมเหสีข้างซ้าย อายุอ่อนกว่าเจ้าฟ้าบุญรอดถึง 30 ปี เจ้าฟ้าบุญรอดทนไม่ได้ จึงหนีออกจากวังหลวงไปอยู่ที่พระราชวังเดิมธนบุรีไม่ยอมเข้าเฝ้ารัชกาลที่ 2 อีกเลย
กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
ผู้ถูกกล่าวหา
ว่าฆ่าพระราชบิดา


กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เป็นโอรสเจ้าจอมมารดาเรียม และประสูตินอกเศวตฉัตร ตอนปลายรัชกาลที่ 2 ทรงหมกมุ่นกับการกวีและกามารมณ์ ปล่อยให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ คุมทั้งกรมท่าและกรมพระคลังมหาสมบัติ ทำงานแทนร่วม 20 ปี ความจริงรัชกาลที่ 2 ไม่ได้ประชวรมากนัก แต่เพราะเสวยพระโอสถที่จัดถวายโดยเจ้าจอมมารดาเรียม พระอาการจึงทรุดหนักและสวรรคตโดยปัจจุบันทันด่วน โดยกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์สั่งให้ทหารล้อมวัง ห้ามเข้าออกรัชกาลที่ 2 จึงหมดโอกาสมอบบัลลังก์ให้เจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งมีพระชนม์ 20 ปี ขณะอุปสมบทตามราชประเพณี ฉายาว่า " วชิรญาโณ "ผนวช ได้ 15 วัน รัชกาลที่ 2 สวรรคต จึงต้องผนวชต่อเพื่อไม่ให้ขัดขวางการครองราชย์ของรัชกาลที่ 3 ซึ่งคุมทั้งการปกครองและการเศรษฐกิจ มีพระชนม์มากกว่าเจ้าฟ้ามงกุฏ 17 ปี
แต่ พระองค์เจ้าไกรสรกรมหลวงรักษ์รณเรศ กำกับกรมวัง โอรสรัชกาลที่ 1 เริ่มสะสมไพร่พลมากขึ้น จนรัชกาลที่ 3 ทนไม่ได้ จึงด่ากรมหลวงรณเรศ แล้วจึงให้จับยัดเข้าถุงแดงใช้ไม้ทุบจนตาย

เจ้าฟ้ามงกุฎ
อดีตสมภารผู้มากภรรยา

รัชกาลที่ 4 ทวดของรัชกาลที่ 9 มีประวัติโลดโผนมาก เคยบวชมานานและมีสาวกมาก เป็นผู้ริเริ่มการเทศน์แบบปาฐกถาเร้า อารมณ์ หาเสียงด้วยวิธีที่แหวกแนว มีสาวกคอยช่วยโฆษณาชวนเชื่อ เช่น กระพือข่าวว่า ขณะที่บวชมีพระบรมธาตุพระปฐมเจดีย์แสดงปาฏิหาริย์ตามเสด็จถึงกรุงเทพฯ มีจระเข้ใหญ่ลอยขึ้นชมบารมี พบเสือร้ายตัวใหญ่เท่าโค นอนชื่นชมบารมี มีปลาตะเพียนใหญ่กระโดดขึ้นตลิ่ง ไปสุโขทัยมีฝนตกใหญ่ 2 วันซ้อนในฤดูแล้ง มีแต่ปาฏิหาริย์ต่างๆมากมาย ภิกษุวชิรญาณหาวิธีทำให้ประชาชนศรัทธาหลอกให้คนเข้าใจว่าตนเป็นพระวิเศษและ บวชถึง 6 ครั้ง ทั้งๆที่พระองค์อยากเป็นกษัตริย์มากกว่าเป็นพระ แต่ทรงรู้ดีว่าถ้าสึกเมื่อใด ก็หัวขาดเมื่อนั้น จึงต้องทนสะสมกำลัง พอบวชอยู่ที่วัดมหาธาตุได้ไม่ถึงปี ก็วิจารณ์พระสงฆ์ไทยว่าไม่น่าเลื่อมใส ตอบปัญหาไม่ได้ อธิบายไม่ชัดเจน พระองค์ต้องไปศึกษาพระธรรมวินัยกับพระมอญ หลังจากนั้น 5 ปี ก็กล่าวหาว่าสงฆ์หลายร้อยรูปในวัดมหาธาตุที่สถิตย์ของพระสังฆราช อุปัชฌาย์ของพระองค์เอง ว่าเต็มไปด้วยภิกษุลามกอลัชชี พระองค์จึงหนีไปตั้งธรรมยุตินิกายที่วัดสมอราย
การ ที่ภิกษุวชิรญาณคุยโม้โอ้อวดถึงเพียงนี้ นับเป็นเรื่องที่แปลกมาก เพราะพระองค์บวชไม่ถึง 12 เดือน ยังเป็นพระบวชใหม่ แปลบาลีก็ไม่ได้ กลับอ้างว่าพระมอญรู้วินัยดีกว่าพระไทย และตนยังมีสติปัญญาแก่กล้าถึงขนาดถามปัญหาธรรม ไล่ต้อนจนพระอุปัชฌาย์ คือสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)แห่งวัดมหาธาตุ ต้องจนแต้มศิษย์ที่บวชไม่ถึงปี จึงเป็นเพียงการยกตนข่มครูเพื่อการโฆษณาสร้างบารมีและความนิยมในหมู่สาวก เพื่อเตรียมเป็นกษัตริย์ในวันหน้า การตั้งนิกายธรรมยุติก็ไม่มีเหตุผลเพียงพอเพราะมีการปฏิบัติต่างกันเพียง เล็กน้อย เช่น วิธีการครองผ้า วิธีสวดมนต์ และวิธีลงอุโบสถสังฆกรรม แถมตั้งข้อรังเกียจไม่ให้คณะมหานิกายซึ่งเป็นสงฆ์ส่วนใหญ่ของประเทศร่วม สังฆกรรมกับตน โดยไม่ยอมรับว่าการอุปสมบทของฝ่ายมหานิกายบริสุทธิ์พอ ทั้งๆที่ไม่มีหลักฐานว่ามหานิกายต่ำกว่าธรรมยุติ แต่เพื่อสร้างฐานอำนาจของตนเท่านั้น




ในที่สุดภิกษุวชิรญาณก็เล่นการเมืองเต็มที่ ด้วยการคบหากับขุนนางตระกูลบุนนาค (
เจ้าพระยามหาประยูรวงศ์ - ดิศ บุนนาค ) ขณะที่ยังอยู่ในสมณเพศ เมื่อจวนสิ้นรัชกาลที่ 3 พวกบุนนาคอยากให้ภิกษุวชิรญาณเป็นกษัตริย์ จึงปฏิสังขรณ์วัดบุปผารามเป็นวัดธรรมยุติ เมื่อรัชกาลที่ 3 มีอาการทรุด พวกบุนนาคจึงเชิญภิกษุวชิรญาณเจ้าฟ้ามงกุฎขึ้นเป็นกษัตริย์ ซึ่งทรงตกลงทันทีด้วยความยินดี โดยไม่ได้อาลัยอาวรณ์ผ้ากาสาวพัสตร์และตำแหน่งประมุขแห่งธรรมยุตินิกายแม้ แต่น้อย ขณะพระชนมายุ 47 พรรษา
พอ เป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ก็หลงใหลปลาบปลื้มหมกมุ่นอยู่กับกามารมณ์ พวกขุนนางที่รู้ว่ากษัตริย์พอใจในเรื่องพรรค์นี้ ได้กวาดต้อนเอาผู้หญิงมาบำรุงบำเรอพระองค์เต็มที่ บางคนถึงกับฉุดคร่าเด็กสาวมากราบหรือถวายตัวกษัตริย์อดีตสมภารนักการเมือง เช่น เจ้าเมืองตราด ฉุดลูกสาวชาวบ้าน 3 คนไป “ ถวายตัวให้กษัตริย์ ” เมื่อพ่อแม่เด็กยื่นถวายฎีกา รัชกาลที่ 4 กลับว่าเจ้าเมืองตราดไม่ผิด ผู้ที่ผิดคือพ่อแม่เด็กที่เป็นคนบ้านนอกที่ไม่รู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร แถมยกย่องว่าเจ้าเมืองตราดเอาผู้หญิงมาถวายให้พระเจ้าอยู่หัว เป็นเรื่องดีไม่ควรจะเอาโทษ

รัชกาลที่ 4 ทรงสะสมสนมในวังมากมาย ทำให้ข้าราชการฝ่ายในมีจำนวนมาก จนแน่นวัง พระองค์เองก็หลงๆลืมๆจำชื่อพระสนมไม่ได้หมด แม้พระองค์จะแก่ชราเต็มทีแต่ในเวลาสิบกว่าปี ทรงมีลูกถึง 82 คน ซึ่งมากที่สุดกว่าทุกรัชกาล นางสนมทั้งหมดเพิ่งจะพ้นจากวัยเด็ก แต่ต้องไปอยู่ในมือของกษัตริย์ผู้ชรา เช่น เจ้าจอมทับทิม อายุเพียง 15 ปี ถูกพ่อถวายเป็นนางบำเรอรัชกาลที่ 4 อายุ 60 ปี ฟันฟางหักหมดปากตั้งแต่ขณะที่เป็นพระสงฆ์ จึงหนีไปกับคู่รัก แต่หนีไม่พ้น ถูกรัชกาลที่ 4 จับฆ่าทั้งคู่ พระองค์เจ้าหญิงเยาวลักษณ์ธิดาองค์โตของพระองค์ ไปรักใคร่กับสามเณรวัดราชประดิษฐ์ ทำให้ฝ่ายชายต้องถูกประหารชีวิต และฝ่ายหญิงถูกเผาทั้งเป็น

ส่วนเจ้าจอมที่มีอายุมากก็ถูกมองเป็นของเก่าแก่ ถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพัง เช่น เจ้าจอมมารดาน้อย (หลานปู่ของพระเจ้าตากสิน)ที่อยู่กินกับรัชกาลที่ 4 ตั้งแต่ขณะที่มิได้บวชเป็นพระ เมื่อเห็นรัชกาลที่ 4 หมกมุ่นอยู่กับพระสนมสาวๆ จึงลงเรือเก๋งสั่งให้นายท้ายเรือ พายเรือไปเทียบกับเรือพระที่นั่ง ให้ข้าหลวงหัวเราะเย้ยหยัน ทำให้รัชกาลที่ 4 โกรธให้จับเอาตัวไปขังไว้ในวังหลวง ต้องติดคุกสนมจนตาย ศพเผาที่วัดตรีทศเทพ ทั้งๆที่เจ้าจอมมารดาน้อยเป็นผู้อุปัฏฐากส่งสำรับเช้าเพลด้วยความซื่อสัตย์ ขณะที่รัชกาลที่ 4 ยังบวชอยู่ แม้ว่าตัวเองและลูกๆถูกกลั่นแกล้งโดยพวกเจ้าที่เป็นศัตรูของรัชกาลที่ 4 ก็ยอมทน แต่พระองค์กลับไม่คิดถึงคุณงามความดีเลย
สม เด็จพระพุฒาจารย์(โต) แห่งวัดระฆังยอดสงฆ์ฝ่ายมหานิกายผู้สมถะเคยเดินถือไต้ดวงใหญ่ เข้าวังหลวงในเวลาเที่ยงวัน ปากก็บ่นว่า “มืดนัก ในนี้มืดนัก มืดนัก”

รัชกาลที่ 4 กับพระปิ่นเกล้าพระอนุชา ก็ไม่ค่อยจะถูกกันนัก เพราะทรงระแวงที่พระปิ่นเกล้ามีผู้นิยมมาก และไม่ค่อยยำเกรงรัชกาลที่ 4 โดยมักจะล้อ ว่า “ พี่ทิต พี่เถร หรือ แก่วัด ” รัชกาลที่ 4 ต้องยกพระปิ่นเกล้าเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่สอง เพราะมีผู้ยำเกรงพระปิ่นเกล้ากันมากว่าเป็นผู้มีวิชา และยังมีทหารในมือมาก
รัชกาล ที่ 4 ไม่พอใจที่มีคนว่าพระองค์“ชรา คร่ำเคร่ง ผอมโซ ทำงานไม่เก่ง ไม่แข็งแรง โง่เขลา” จึงออกกฎหมาย ห้ามประชาชนวิพากษ์วิจารณ์พระกายของกษัตริย์ว่า ในขณะที่มีคนพูดยกย่องพระปิ่นเกล้า ว่าเป็นหนุ่มแข็งแรง เก่งการทหารมาก มีวิทยาอาคมดี และเวลาไปไหนก็ “ได้ลูกสาวเจ้าบ้านผ่านเมืองมาทุกที” แต่พระองค์ไม่ได้บ้างเลย จึงริษยา และบ่นว่าตนไปไหนมันก็ว่า ชรา ไม่มีใครให้ลูกสาวเลย

ต่อมาพระปิ่นเกล้าสวรรคตด้วยยาพิษโดยรัชกาลที่ 4 จ้างหมอให้ทำ ตามบันทึกที่เขียนโดยนางแอนนาเลียวโนเวนส์ (Anna Leonowens) เลขานุการของรัชกาลที่ 4 ว่า เป็นที่รู้เห็นกันทั่วไป พระเจ้ากรุงสยามเป็นกษัตริย์ที่โหดร้ายชั่วช้ามาก และมีความอาฆาต พยาบาทอย่างรุนแรง มีพระนิสัยอิจฉาริษยาอย่างมาก และหลังจากที่พระปิ่นเกล้าสวรรคต ทรงแก้แค้น โดยบังคับให้พระนางสุนาถวิสมิตรา มเหสีของพระปิ่นเกล้า ให้มาเป็นเจ้าจอมหรือภรรยาน้อยของตน แต่พระนางไม่ยอม จึงถูกจับกุมขังไว้ในวังหลวง แต่โชคดีที่หนีไปเมืองพม่าได้ รัชกาลที่ 4 ประชวรด้วยโรคไข้ป่า จากการเสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคา และได้พระราชทานพระประคำทองคำให้กับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ นำไปถวายเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ก่อนสวรรคตในวันที่ 1 ตุลาคม 2411

เมื่อ ร.4 สวรรคต ถึงยุค
ขุนนางตั้งกษัตริย์กันเอง


สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้ใช้สิทธิ์พิเศษ แต่งตั้งเจ้านาย 2 พระองค์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พร้อมๆ กัน คือทั้งเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์รัชกาลที่ 5 และ พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ โอรสของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้าโดยให้คงพระอิสริยยศต่างๆ เท่ากับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีฐานะเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่สอง แต่อำนาจการสั่งราชการทั้งปวงตกอยู่แก่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เพียงผู้เดียว ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นระยะเวลานาน 5 ปี โดยมิได้รับการขัดขวางใดๆ




เมื่อรัชกาลที่ 5
มีพระชนมพรรษา ใกล้ 20 พรรษา ในขณะที่ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินใกล้ที่จะหมดวาระ พระองค์จึงพยายามรวมศูนย์ ดึงเอาอำนาจในการเก็บภาษีอากร มาไว้ที่หอรัษฎากรพิพัฒน์ซึ่งพระองค์ทรงควบคุม ทรงสร้างทางรถไฟ เพื่อส่งกองทัพไปควบคุมขุนนางตามหัวเมืองทำให้มีภาษีอากรหลั่งไหลเข้าท้อง พระคลังมากกว่าเดิม

การเลิกทาสในปี 2417 และยกเลิกการเกณฑ์แรงงานไพร่ในปี 2421 เพื่อลดการซ่องสุมไพร่พลของขุนนางใหญ่ใน กรุงและหัวเมือง โดยเฉพาะขุนนางตระกูลบุนนาค ประกอบกับไทยเริ่มผลิตข้าวส่งออก จึงต้องการแรงงานอิสระเพื่อการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ทรงรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง เปลี่ยนเเปลงรูปแบบรัฐ ไปสู่รัฐสมัยใหม่ หรือรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ทั้งพระราชวงศ์และขุนนางไม่พอใจพระองค์เป็นอย่างมาก
จนกระทั่งวังหน้าได้ยินข่าวลือว่าวังหลวงจะทำร้ายตน จึงหนีไปอยู่ในความคุ้มครองของอังกฤษ รัชกาลที่ 5 ต้องการรวบอำนาจจึงวางแผนที่จะจับวังหน้า โดยแสร้งก่อไฟไหม้วังหลวงแล้วให้วังหน้าคุมทหารมาช่วยดับไฟจะได้กล่าวหาว่า วังหน้าเป็นกบถ แล้วจับตัวไว้และให้สละตำแหน่ง ถ้าไม่ยอมจะสำเร็จโทษ พอจุดไฟไหม้ในวังหลวง บังเอิญวังหน้าไม่ยอมไปช่วยดับไฟ เพราะเป็นโรคไขข้ออักเสบ ทรงถือโอกาสกล่าวหาวังหน้ามีแผนการจะยึดวังหลวงและให้เอาปืนใหญ่หันไปทางวัง หน้า โดยล้อมวังหน้าไว้ทุกด้าน ทางแม่น้ำก็มีเรือปืนเฝ้าไว้ แต่วังหน้าลงเรือหนีไปขอให้ข้าหลวงอังกฤษที่สิงคโปร์ไกล่เกลี่ย ฝรั่งเศสและอังกฤษส่งเรือรบของตนเข้ามาที่กรุงเทพ อ้างว่าเพื่อรักษาผลประโยชน์ของพวกตน มีการพูดกันว่า ควรแบ่งไทยเป็นสามส่วน ให้รัชกาลที่ห้า , วังหน้าและสมเด็จเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ปกครองกันคนละส่วน แต่ผู้สำเร็จราชการอังกฤษที่สิงคโปร์ไม่เห็นด้วย เพราะฝรั่งเศสจะได้ภาคตะวันออกของไทย ส่วนอังกฤษได้เพียงฝั่งตะวันตก ซึ่งทำเลค้าขายไม่ดี จึงตัดสินใจเข้าข้างวังหลวงบีบบังคับให้วังหน้าต้องออกจากกงสุลอังกฤษ กลับวังด้วยความคับแค้นใจการรวมศูนย์อำนาจ ทำให้กษัตริย์ได้ภาษีอากรมากกว่าเดิมมากมาย แต่ถูกนำไปใช้อย่างฟุ่มเฟือย พวกเจ้ามีชีวิตที่เหลวไหล มีการสร้างปราสาทราชวัง เพื่อเป็นเกียรติแก่กษัตริย์มากที่สุด พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทแบบวิกตอเรียขนาดใหญ่ พระที่นั่งอนันตสมาคมซึ่ง เป็นหินอ่อนอิตาลีทั้งหลัง มีการนำเอาภาษีอากรของประชาชนมาบำรุงบำเรอความสุขของพวกเจ้า พระมเหสีใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย สะสมเครื่องเพชร จับจ่ายซื้อหาอัญมณีชั้นยอดมากกว่าพระราชินีและกษัตริย์ทุกพระองค์ในย่านเอ เซีย

รัชกาลที่ 5 มีพระมเหสี 9 พระองค์ คือ 1.สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ (หรือพระนางเรือล่มที่สวรรคตพร้อมพระธิดาเล็กและพระโอรสในพระครรภ์)พระมเหสีองค์แรก 2. สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา บรมราชเทวี หรือสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี (สมเด็จย่าของในหลวงรัชกาลที่ 8 และ 9) เป็นน้องสาวคนกลาง 3. สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี บรมราชินีนาถ หรือสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ (พระราชชนนีในรัชกาลที่ 6 และ 7) เป็นน้องสาวคนเล็ก ทั้งสามคนมีพ่อคือรัชกาลที่ 4 และมีแม่คือเจ้าจอมมารดาเปี่ยม 4. สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี (ต้นสกุล บริพัตร) 5.พระองค์เจ้าทักษิณชา นราธิราชบุตรี 6.พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน์ 7. พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตน์นารีนาค 8.พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ 9.พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ( รับการสถาปนาก่อนเสด็จกลับเชียงใหม่ หลังจากที่ล้านนารวมเข้ากับสยามประเทศ ) หลังปี 2475 ได้มีผู้พยายามนำเอาเครื่องเพชรเหล่านี้มาเก็บไว้เป็นของแผ่นดิน แต่ถูกพวกเจ้าคัดค้าน และพวกทายาทก็ได้รับการจัดแบ่งทรัพย์สมบัติเหล่านี้ไปจนหมดในสมัยรัชกาลที่ 9

ขณะที่กษัตริย์ และเหล่าราชนิกุลเสพย์สุขอยู่ในวัง และทะเลาะเบาะแว้งเรื่องไร้สาระ ประชาชนส่วนใหญ่กลับมีสภาพยากจน พระสุริยานุวัติ เล่าในหนังสือทรัพย์ศาสตร์ ชี้ให้เห็นถึงชีวิตของชาวไร่ชาวนา ซึ่งเป็นคนกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของประเทศในเวลานั้นว่า ยากจนขัดสนต้องซื้อของราคาแพง ถ้ากู้ก็ต้องเสียดอกเบี้ยแพง จำเป็นต้องรีบขายข้าวในราคาต่ำ แต่กษัตริย์กลับมิได้เหลียวแล พระเจ้าแผ่นดินไม่ต้องทำอะไร เพราะไม่มีความกังวลในศึกสงคราม มีแต่แสวงหาความสุข เอาเงินของแผ่นดินไปใช้ส่วนพระองค์ ทำให้ขาดงบประมาณที่ใช้พัฒนาบ้านเมือง ทั้งการศึกษา อนามัย การส่งเสริมเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พานิชยกรรม ราชสำนักได้รับงบประมาณถึง 1/7 หรือ 14% ของงบประมาณ ขณะที่ประชาชนหลายล้านที่ต้องเสียภาษี กลับได้รับงบประมาณเพียง 1/6หรือ 17% พอๆกับรายจ่ายสำหรับกษัตริย์เพียงคนเดียว
ชาวนา ภาคกลางต้องเสียภาษี ดอกเบี้ยและค่าเช่า รวมถึง 3/5 หรือ 60% ของผลผลิตทั้งหมด ส่วนชาวนาในภาคอื่นนั้น ที่ดินไม่อุดมสมบูรณ์ ชาวอิสานต้องเร่ร่อนไปยังที่ต่างๆเพื่อหาอาหาร ในปี 2433 และ 2452 ชาวนาที่ขัดสนรวมตัวกันยื่นฎีกา ขอกู้เงินหลวงเพื่อนำไปซื้ออาหาร แต่รัชกาลที่ 5 ปฏิเสธ ทั้งๆที่พระองค์ยอมปล่อยเงินกู้ให้พ่อค้าจีน เพราะได้ดอกเบี้ยงาม เศรษฐกิจแย่ลงข้าวราคาตก ราษฎรคับแค้น อับจน ไม่มีทางออก

วชิราวุธ กษัตริย์ผู้หลงไหล
อยู่กับวรรณกรรมและการละคร


รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ขึ้นเป็นสยามมกุฎราชกุมาร พระราชมารดาให้เป็นพระมเหสีเอก คือสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาพระบรมราชเทวี แต่อยู่ได้เพียง 8 ปี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสวรรคต ในปี 2437 พระชันษา 16 ปีเศษ
พระ ราชโอรสองค์ถัดมาของพระมเหสีเอก พระนางเจ้าสว่างวัฒนา (หรือแม่กลาง) น่าจะได้รับตำแหน่งต่อซึ่งมีอยู่ 2 พระองค์ คือ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย (2425-2442) และเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช (2434-2472) แต่รัชกาลที่ 5 มีพระราชดำรัสว่าลูกแม่กลางกับลูกแม่เล็ก (คือเสาวภาผ่องศรี) ให้เหมือนแม่เดียวกัน เรียงตามอายุในการสืบสันตติวงศ์ จึงสถาปนาสยามมกุฎราชกุมารพระองค์ใหม่ คือเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ และยกให้พระราชมารดาขึ้นเป็นพระมเหสีเอก คือสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรียกขึ้นเป็นสมเด็จพระศรีพัชรินทร พระพันปีหลวง มีเจ้าฟ้าขึ้นเป็นกษัตริย์ 2 พระองค์ต่อกัน คือรัชกาลที่ 6 และที่ 7

23 ตุลาคม 2453 รัชกาลที่ 5 สวรรคต จ้าฟ้าวชิราวุธได้ครองราชย์ เศรษฐกิจยิ่งแย่ลง พระองค์กลับใช้จ่ายฟุ่มเฟือยมากขึ้นในเรื่องโขนละคร ไม่ยอมแบ่งเงินไปพัฒนาประเทศ ประชาชนได้รับงบประมาณเพียงเล็กน้อยไม่ผิดกับสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ใช้จ่ายเงินมากกว่างบสร้างเขื่อนไม่รู้กี่เท่าตัว จนมีหนี้ส่วนพระองค์หลายล้านบาท ส่วนหนึ่งเกิดจากการซื้อเพชรพลอย แจกข้าราชบริพารคนโปรด ทรงสั่งกระทรวงพระคลังมหาสมบัติจ่ายเงินแผ่นดินใช้หนี้ของพระองค์เพิ่มอีก 3 ล้านบาท มหาดเล็กคนโปรด คือ พระยารามราฆพคนพี่ได้บ้านไทยคู่ฟ้า คือทำเนียบรัฐบาลเป็นของขวัญ ส่วนเจ้าคุณอนิรุทธิ์เทวาได้บ้านพิษณุโลก อีกคนหนึ่งได้บ้านมนังคศิลา พระราชสำนักของพระองค์เป็นที่เกลียดชังอย่างรุนแรง

ประชาธิปก กษัตริย์
ผู้ไม่อาจรั้งประชาธิปไตย


รัชกาลที่ 6 ไม่มีพระราชโอรส ราชบัลลังก์จึงสืบทอดไปสู่พระอนุชาที่ร่วมพระชนนีเดียวกัน เริ่มจากเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ แต่ทิวงคตปี 2463 ถัดมา คือเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ แต่ก็ทิวงคตปี 2467 ส่วนเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก ก็สิ้นพระชนม์ไปก่อนในปี 2466



จึงเหลือ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ พระองค์เดียวขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 7 โดยมีความทันสมัยกว่าพี่ชายและพ่อ (คือรัชกาลที่หกและรัชกาลที่ห้า) คือเห็นว่า “...ฐานะของพระเจ้าอยู่หัวกำลังตกอยู่ในสภาวะลำบาก ความเคลื่อนไหวทางความคิดในประเทศ ระบบอำนาจของคนๆเดียวเหลือเวลาน้อยเต็มที....”
แต่พระองค์ก็มิได้ทรงผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ จนสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมืองเลวร้ายลง จนเกิดกรณีการเปลี่ยนแปลงในปี 2475

อานันทมหิดลกษัตริย์หนุ่ม
ผู้เป็นเหยื่อของความทะเยอทะยาน


รัชกาล ที่ 7 ทรงสละราชสมบัติ โดยมีพระราชหัตถเลขาลงวันที่ 2 มีนาคม 2477 การสืบสันตติวงศ์มาตกอยู่กับเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช แต่สิ้นพระชนม์ไปก่อน จึงเลื่อนมาสู่พระโอรส คือพระองค์เจ้าอานันทมหิดล สภา ผู้แทนราษฎร ลงมติอัญเชิญขึ้นครองราชย์ในวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2477 มีพระชนม์เพียง 9 พรรษาทรงได้รับอิทธิพลจากการสละราชบัลลังก์ของรัชกาลที่ 7 จึงมีพระราชดำริที่จะสละราชสมบัติและเลิกล้มระบบกษัตริย์ เพราะเห็นว่าเป็นการเอาเปรียบประชาชน และผู้ปกครองประเทศควรมาจากการเลือกตั้ง โดยพระองค์จะลงเล่นการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ทำให้ราชวงศ์ไม่สบายพระทัย และทรงเห็นด้วยกับความคิดในการปรับปรุงประเทศของ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเคยเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และยังมีข่าวลือความขัดแย้งเรื่องการจะแต่งงานใหม่ของราชวงศ์ชั้นสูงที่เป็น หม้ายเมื่อยังสาวรวมถึงข่าวลือเรื่องชู้สาว



แล้วสิ่งที่ไม่มีใครคาดฝันก็ได้เกิดขึ้น เมื่อเวลา 9.30 น. ของวันที่ 9 มิถุนายน 2489....มีเสียงปืนดังขึ้น 1 นัด
จากห้องบรรทม
ชั้นบนของพระที่นั่งบรมพิมาน

แพทย์สรุปตรงกันว่า....
เกิดการลอบปลงพระชนม์
และยังมีข้อมูลที่น่าสังเกต ดังนี้



1. ผู้ที่ฆ่า คงมิใช่บุคคลอื่นที่อยู่นอกพระที่นั่งบรมพิมาน เพราะว่าได้มีการจัดทหาร ตำรวจวัง ล้อมรอบพระที่นั่งอย่างเข้มงวด ถ้าไม่ใช่คนในพระที่นั่งบรมพิมานจะปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 ไม่ได้เลย เพราะไม่อาจเล็ดลอดยามจำนวนมากขึ้นไปบนพระที่นั่งและไม่สามารถหนีไปได้พ้น เมื่อยิงในหลวงแล้ว นายแพทย์สุด แสงวิเชียร ตรวจสอบบาดแผลพบว่า ตรงที่ถูกยิงมีรอยกดของกระบอกปืนเป็นวงกลม แสดงว่าผู้ยิงต้องเอาปืนกระชับยิงลงที่หน้าผาก ไม่ปรากฏว่ามุ้งมีรอยทะลุ แสดงว่าคนร้ายต้องเลิกมุ้งออก แล้วจึงเอาปืนจ่อยิงในหลวง โดยผู้ยิงต้องเป็นคนรูปร่างสูง แขนยาว เพราะจากขอบเตียงถึงบาดแผลห่างกันถึง 66 ซม. ถ้ารูปร่างเล็กแขนสั้นจะทำไม่ได้ (พวกเจ้ากล่าวหาว่า เรือเอกวัชรชัย ชัยสิทธิเวช รูปร่างเล็กเป็นคนยิง) ถ้าผู้ร้ายเป็นบุคคลอื่น ซึ่งไม่สนิทสนมกับรัชกาลที่ 8 มาก จะทำไม่ได้ เพราะพระองค์ตื่นขึ้นมาและเข้านอนถึงสองครั้งย่อมหลับไม่สนิท ทรงรู้ตัวก่อนที่คนร้ายจะทำการได้

2. คำให้การ มีพิรุธมาก คือ
-ทุกคนที่อยู่ในพระที่นั่งได้ยินเสียงปืนดังสนั่น ทั้งชั้นล่างและชั้นบน มีแต่พระอนุชาและพระชนนีเท่านั้นที่ไม่ได้ยินเสียงปืน
-พระพี่เลี้ยงเนื่อง จินตะดุลย์ นักเรียนพยาบาลรุ่นเดียวกับพระชนนี ให้การว่า ตนอยู่ในห้องพระอนุชา 20 นาที ก่อนมีเสียงปืน และไม่พบพระอนุชาในห้องนั้นเลย
-พระ อนุชา บอกให้พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ฟังว่า ขณะที่ผู้ร้ายยิงปืนนั้น ตนเองอยู่ในห้องของตน ขัดแย้งกับคำให้การของพี่เลี้ยงเนื่อง จินตะดุลย์ ซึ่งอยู่ในห้องของพระองค์ในขณะนั้น
- นายเวศน์ สุนทรวัฒน์ มหาดเล็กหน้าห้องพระอนุชา ให้การว่า แม้ห้องนอนของพระอนุชา มีประตูติดกับห้องเครื่องเล่น แต่ประตูนี้ปิดตายตลอดเวลา ถ้าพระอนุชา ต้องการจะเข้าห้องเครื่องเล่น จะต้องเข้าทางประตูด้านหน้าของห้องเครื่องเล่น มิใช่เข้าทางประตูด้านหลังซึ่งติดต่อกับห้องของพระอนุชา

การที่พระอนุชาให้การว่าตนเข้าๆ ออกๆระหว่างห้องเครื่องเล่นกับห้องนอน น่าจะเป็นเรื่องโกหก
โดย ปกติเมื่อ กินข้าวเช้าอิ่ม ท่านจะเดินเข้าไปห้องบรรทมของในหลวงรัชกาลที่ 8 ก่อนเสียงปืนไม่นานนัก โดยที่นายชิตและบุศย์มิได้ห้ามปราม เพราะปกติพี่น้องคู่นี้นั้น ถ้าใครตื่นก่อน มักจะเข้าไปยั่วอีกคนให้ตื่น ฉะนั้นนายชิตและบุศย์ จึงไม่สงสัยถ้าพระอนุชาเดินเข้าไปในห้องในหลวง
และไม่น่าเป็นอุบัติเหตุ ถ้าล้อเล่นก็ไม่น่าจะถึงกับเอาปืนจ่อกระชับที่หน้าผาก และน่าจะรู้ว่าปืนนั้นไกอ่อน
คำ ให้การของนายฉลาด เทียมงามสัจที่เฝ้าเครื่องเสวยอยู่มุขหน้า ว่าไม่เห็นผู้ร้ายวิ่งออกจากห้องบรรทมเป็นการโกหกชัดๆ เพราะเมื่อปลงพระชนม์แล้ว ผู้ร้ายจะต้องวิ่งหนีออกจากห้องพระบรรทม นายฉลาดยอมรับในศาลว่า ตั้งแต่ถูกเรียกตัวไปสอบสวนก็ได้เบี้ยเลี้ยงจากสันติบาลวันละ 3 บาท หลังจากที่ถูกปลดจากสำนักราชวัง ก็ยังได้รับการบรรจุเข้าทำงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความสนับสนุนของพนักงานสอบสวน
ส่วนนายชิตกับนายบุศย์ก็พูดมากไม่ได้ เพราะการฟ้องร้องคดีสวรรคตนี้เกิดขึ้นหลังจากที่พวกทหารก่อรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลเลือกตั้ง ให้พระพินิจชนคดี ซึ่ง เป็นพวกของฝ่ายเจ้าได้เป็นอธิบดีกรมตำรวจ และดำเนินการสอบสวน นายชิตเองถูกฉีดยาให้เคลิบเคลิ้ม ถูกขู่เข็ญสารพัด ทั้งคู่รู้ดีว่า พวกเจ้าและพระพินิจฯ จะต้องเล่นงานพวกนายปรีดี พนมยงค์ให้ได้ โดยใช้กรณีสวรรคตเป็นเครื่องมือ ฉะนั้นถึงตนพูดความจริง ก็ไม่มีประโยชน์ ซ้ำจะเป็นอันตรายถึงครอบครัว เพราะทั้งคู่รู้ดีว่า มีการใช้อำนาจเผด็จการอย่างป่าเถื่อน เช่น ยิงทิ้ง จับกุมคุมขังและทรมานผู้บริสุทธิ์ จึงยอมปิดปาก หวังที่จะได้รับความเมตตาของศาล และอย่างน้อยน่าจะได้รับคำความกรุณาจากในหลวง ถ้าศาลตัดสินประหารชีวิต น่าจะได้รับพระราชทานอภัยโทษ ไม่ต้องถูกประหารชีวิตและครอบครัวจะได้รับการเลี้ยงดู แต่หลังจากที่ทั้งคู่ถูกตัดสินประหารชีวิต แม้จะถวายฎีกา ก็ไม่ได้รับการพิจารณา จอมพล ป.ได้ขอพระราชทานอภัยโทษถึง 3 ครั้ง แต่รัชกาลที่ 9 ไม่ทรงโปรด แต่พวกเจ้าก็ส่งเงินอุดหนุนจุนเจือ ครอบครัวผู้ถูกประหารชีวิตเสมอมา เพื่อป้องกันมิให้โวยวาย
4.เมื่อ หลักฐานพยานแวดล้อมผูกมัดตัวผู้ต้องสงสัย ศาลควรต้องสอบสวนอย่างจริงจังโดยไม่มีการยกเว้น แต่มีอำนาจมืดจากการรัฐประหารที่ปกป้องพวกเดียวกัน และโยนบาปไปให้พวกของนายปรีดี เช่น
-มี การสร้างพยานเท็จว่านายปรีดีและพวก ปรึกษากันว่าจะฆ่ารัชกาลที่ 8 ที่บ้านพระยาศรยุทธเสนี โดยมีนายตี๋ ศรีสุวรรณ รู้ความลับนี้ ในภายหลัง นายตี๋ ยอมรับว่าตนให้การเท็จ
ยัง มีนายวงศ์ เชาวนะกวี ให้การว่าได้ยินนายปรีดีพูดกับตนว่า ต่อไปนี้นายปรีดีจะไม่ป้องกันราชบัลลังก์ ทั้งที่นายวงศ์มิใช่ผู้ที่สนิทชิดเชื้อกับนายปรีดี
-มี การทำลายหลักฐานต่างๆ เช่น การสั่งให้พระพี่เลี้ยงเนื่องทำความสะอาดพระศพ ให้หมอนิตย์เย็บบาดแผล มีการผลัดเสื้อผ้าพระศพ หมอนถูกนำไปฝัง มีการย้ายพระศพและยกเอาไปไว้บนเก้าอี้โซฟา การแตะต้องพระบรมศพนั้น มิใช่ว่าจะกระทำได้ง่ายๆ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้านายผู้ใหญ่ก่อนเท่านั้น

เมื่อรัฐบาลพลเรือนจะชันสูตรพระศพกลับถูกคัดค้านจากพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์และพระชนนี แม้แต่ศาลฎีกา ก็พยายามช่วยเหลือผู้ต้องสงสัยตัวจริง และโยนความผิดให้ผู้อื่น เช่น
-มีเพียงสองคนเท่านั้น ที่ไม่ได้รับการตรวจพิสูจน์เขม่าปืนที่มือ คือ พระอนุชาและพระชนนี เมื่อนายตำรวจคนหนึ่งเสนอให้ทำการพิสูจน์ด้วย กลับถูกสั่งปลดออกจากราชการ
-ศาลไม่ซักค้านพยาน ต่อหน้าจำเลย แต่กลับสืบผู้ต้องสงสัยบางราย ที่สวิสเซอร์แลนด์ คือพระอนุชาและพระชนนี ในวันที่ 12 และ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 โดย ไม่ยอมให้จำเลยและทนายไปซักค้าน แม้ผู้ต้องสงสัย ให้การสับสน ทนายจำเลยก็ซักค้านไม่ได้
มี ผู้ที่น่าสงสัยที่สุดที่ได้รับประโยชน์จากการสวรรคตของรัชกาลที่ 8 แต่อัยการกลับซักถามเพียงไม่กี่คำ และเลี่ยงที่จะไต่ถามในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ คดีสวรรคตเป็นคดีสำคัญ แต่มีผู้พิพากษา 5 คนเท่านั้น ที่เป็นผู้ตัดสินคดี โดยที่คณะศาลฎีกาไม่ยอมเอาคดีนำขึ้นสู่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ก็เพราะไม่อยากให้มีผู้ที่จับได้ไล่ทัน และทำการคัดค้าน
- เพื่อให้ความผิดพ้นจากตัวผู้ต้องสงสัยบางราย ศาลฎีกาถึงกับประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์อย่าง นายเฉลียว ปทุมรส ซึ่งศาลฎีกาไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่า เกี่ยวข้องกับการสวรรคตอย่างไร ศาลวินิจฉัยไม่ได้ว่าใครเป็นฆาตรกรตัวจริง แต่กลับพิพากษาให้ประหารชีวิตนายเฉลียวเพียงเพราะนายเฉลียวใกล้ชิดกับนาย ปรีดี

การกำจัดรัชกาลที่ 8 นั้น นับว่าได้ผลสองต่อ คือ นอกจากจัดการกับรัชกาลที่ 8 แล้ว ยังได้กำจัดนายปรีดี ซึ่งเป็นศัตรูของพวกเจ้า อีกทั้งนายปรีดีรู้มากไปหน่อย สมควรที่จะถูกกำจัด นายปรีดีต้องลี้ภัยการเมืองตั้งแต่ปี 2491 และถึงแก่กรรมในต่างประเทศ
ขณะ เกิดเหตุปลงพระชนม์ คุณเฉลียว ปทุมรสอยู่ไกลจุดเกิดเหตุนับสิบกิโลเมตร และได้ออกจากราชการไปแล้ว ส่วนคุณชิต-คุณบุศย์นั่งอยู่หน้าประตูทางเข้าห้องพระบรรทม ถ้ามีผู้เข้าไปปลงพระชนม์ก็จะต้องเห็นอย่างแน่นอน คุณฟัก ณ สงขลา ทนายความของสามจำเลย เคยสอบถามคุณชิต-คุณบุศย์ว่า ใครเข้าไปปลงพระชนม์ในหลวง คุณชิต-คุณบุศย์ ไม่ยอมพูด แต่ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ รัฐมนตรีมหาดไทยและอธิบดีกรมตำรวจเป็นประธานควบคุมการประหารชีวิตผู้ บริสุทธิ์ทั้งสามได้มีโอกาสพูดคุยตามลำพังได้ทำบันทึกคำสนทนากับผู้ต้องโทษ ประหารชีวิตทั้งสามคนในเช้าวันนั้น แล้วเสนอจอมพล ป. นายกรัฐมนตรี เมื่ออ่านแล้วได้สั่งให้เก็บไว้ในแฟ้มลับสุดยอด

ต่อมาจอมพล ป. พิบูลสงคราม เตรียมออกกฎหมายให้อำนาจรื้อฟื้นคดีสวรรคตที่ ศาลฎีกาตัดสินไปแล้ว เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกประหารชีวิตทั้งสามคนและนายปรีดี ทางวังจึงได้ผลักดันจอมพลสฤษดิ์ทำการโค่นล้มจอมพลป.และพล.ต.อ.เผ่าเพื่อมิ ให้มีการฟื้นคดีสวรรคตขึ้นมาอีก กำเนิดของราชวงศ์จักรีก็มาจากการสมคบกัน ก่อการกบฏโค่นราชบัลลังก์ของพระเจ้าตากสินยอดวีรกษัตริย์ผู้กอบกู้เอกราชของ ชาติ ในขณะที่มีข้อบ่งชี้ที่ค่อนข้างชัดเจนว่าใครคือฆาตกรปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 แต่ราชวงศ์จักรีก็พยายามแต่งเรื่องโกหกเพื่ออวดอ้างว่าพวกตนคือธรรมราชาที่เป็นเหมือนพ่อของประชาชน

แม้แต่ศิลาจารึกหลักที่ 1ที่ค้นพบสมัยรัชกาลที่สี่ ก็เป็นของที่ทำกันขึ้นมาเองเพราะตัวอักษรเป็นแบบสมัยใหม่ คือดึงสระเข้าบรรทัด และใช้วรรณยุกต์เหมือนสมัยรัตนโกสินทร์ซึ่งต่างจากศิลาจารึกสมัยสุโขทัยหลัก อื่น ๆ ที่ชาวสุโขทัยโบราณมีการออกเสียงต่างออกไปและเรื่องที่จารึกมิได้เป็นเอกสาร ประวัติศาสตร์ ที่บันทึกเหตุการณ์ในอดีต หากเป็นเรื่องแต่งที่เอาไว้สั่งสอนคน และอวดอ้างถึงความอุดมสมบูรณ์ มีเสรีภาพในการทำอาชีพและหลวงท่านไม่เบียดเบียน "เพื่อนจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขายฯ" และ "เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ฯ" มีกฎหมายที่เป็นยุติธรรม "(ใคร) ล้มตาย...เหย้าเรือน..ป่าหมาก ป่าพลู..ไว้แก่ลูกมันสิ้น" และพ่อเมืองย่อมฟังเสียงประชาชน"ผิแลผิดแผกแสกว้างกัน.จึงแล่งความแก่ขาด้วย ซื่อ ๆ" และ "ปากประตูมีกระดิ่งอันณื่งฯ"
"พ่อ ขุนรามคำแหง...ปลูกไม้ตาลนี้ ได้สิบสี่เข้าจึงให้ช่างฟันขดานหิน ตั้งกลางไม้ตาลนี้...พ่อขุนรามคำแหง...ขึ้นนั่งเหนือขดานหินให้ฝูงท่วยลูก เจ้าลูกขุน ฝูงท่วยถือบ้านถือเมือง...ขดานหินนี้ชื่อมนังศิลาบาตรสถาบกไว้นี่ จึ่งทั้งหลายเห็น"

ซึ่งเรื่องทั้งหมดเป็นเรื่องที่ไม่มีจริง เพราะเป็นสมัยของไพร่และทาส แต่รัชกาลที่ 4 ต้องการโฆษณาชวนเชื่อว่าราชวงศ์จักรีสืบเชื้อสายมาจากพ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุง สุโขทัย ที่สงบสันติ เป็นกษัตริย์ผู้ทรงธรรมมิใช่มีแต่การแย่งชิงราชสมบัติรบราฆ่าฟันกันเลือด ท่วมราชบัลลังก์แบบสมัยอยุธยา แต่การก่อตั้งราชวงศ์จักรีจาการสมคบกันก่อกบฏ รวมทั้งกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ก็พอจะชี้ให้เห็นว่าข้อเท็จจริงนั้นเป็นเช่นใด ราชวงศ์จักรีนั้นมีแต่ความสูงส่งน่าเทิดทูนจริงหรือไม่

Read Comments
  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ควย วิเคราะห์ได้เหี้ยมากๆ

แสดงความคิดเห็น