You can replace this text by going to "Layout" and then "Edit HTML" section. A welcome message will look lovely here.
RSS

วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ราษฎรล้วนต้องการสันติภาพ

หลังจากรัชสมัยพระนเรศวรผู้คนก็เริ่มเบื่อหน่ายละกลัวภัยสงคราม เพราะเมืองใหญ่ๆส่วนมากจะเคยถูกปล้นสะดมอย่างราบคาบอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ผู้คนเริ่มกระด้างกระเดื่องไม่ยอมร่วมมือกับกษัตริย์ในการสนองความต้องการ ทางอำนาจ เช่น ติดสินบนนายที่เกณฑ์ทหาร หนีไปบวชหรือหนีไปไกลๆ ดังนั้นพวกเจ้าจึงไม่สามารถเตรียมทัพได้ใหญ่โตเหมือนในอดีต หลายเมืองลงทุนก่อสร้างกำแพงเมืองด้วยอิฐ ขยายคูรอบเมืองให้กว้างขึ้น ติดตั้งปืนใหญ่ให้มากขึ้น ความพยายามตียึดเมืองต่างๆต้องล้มเหลวและกองทัพต้องสลายตัว

เมื่อสงครามสงบสังคมก็รุ่งเรือง อยุธยากลับมาเป็นราชธานีเป็นศูนย์อำนาจของที่ราบลุ่มเจ้าพระยา เป็นเมืองท่าเชื่อมเส้นทางการค้าระหว่างด้านตะวันออกและตะวันตก ทางตะวันออกมีโชกุนโตกุกาว่าที่ญี่ปุ่นเปิดทำการค้าด้วยแบบมีเงื่อนไข ทางตะวันตกมีจักรวรรดิซาฟาวิด ( Safavid ) ที่ครอบครองดินแดนอาหรับเปอร์เซียและจักรวรรดิโมกุล ( Mughal ) ที่ครอบครองชมพูทวีปหรือประเทศอินเดีย เป็นทั้งตลาดใหญ่และเป็นแหล่งสินค้ามีค่าหลายชนิด เส้นทางขนส่งสินค้าข้ามด้ามขวานทองเป็นที่นิยมของพ่อค้าแถบเอเชียมากขึ้น หลังจากที่พวกโปรตุเกสและดัตช์เข้ามาควบคุมเส้นทางสายใต้ที่ช่องแคบมะละกา อยุธยาจึงเจริญเติบโตจนอาจเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นเมืองที่มีความเป็นสากลมาก มีทั้งชุมชนจีน ญวน จาม มอญ โปรตุเกส อาหรับ อินเดีย เปอร์เซีย ญี่ปุ่นและชุมชนมาเลย์ต่างๆจากหมู่เกาะ มาตั้งถิ่นฐานอยู่รายรอบ พวกดัตช์เข้ามาเมื่อพ.ศ. 2147 เพื่อแย่งส่วนแบ่งการค้ากับญี่ปุ่นและตั้งชุมชนเพิ่มขึ้น ฝรั่งเศสและอังกฤษก็ตามเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ราชสำนักอยุธยาก็อาศัยผู้คนเหล่านี้โดยเลือกรับเอาชาวมเลย์ อินเดีย ญี่ปุ่นและโปรตุเกสเข้ามาเป็นทหารรักษาวัง จ้างจีนและเปอร์เซียเป็นข้าราชการดูแลเรื่องการค้า จ้างชาวดัตช์ต่อเรือ จ้างวิศวกรฝรั่งเศสและอิตาลีออกแบบป้อมปราการและการชลประทาน จ้างอังกฤษและอินเดียเป็นผู้ว่าราชการหัวเมือง จ้างชาวจีนและเปอร์เซียเป็นแพทย์ มีชาวญี่ปุ่นคือยามาดะ นางามาสะได้เป็นออกญาหรือพระยาเสนาภิมุขเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยพระ เจ้าทรงธรรม ชาวเปอร์เซียคือเฉกอะหมัดได้เป็นเจ้าพระยาบวรราชนายกดูแลกรมท่าในสมัยพระ เจ้าทรงธรรมและพระเจ้าประสาททอง และชาวกรีกคือคอนสแตนตินฟอลคอนได้เป็นเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ในตำแหน่งสมุหนายก ในสมัยพระนารายณ์มหาราช ซึ่งได้เปิดรับความรู้ใหม่ๆ ด้วยการส่งราชทูตไปแลกเปลี่ยนกับประเทศเนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศสและเปอร์เซีย ทำให้อยุธยามีความเป็นเมืองสากลโดยยอมให้มีการเผยแพร่ศานาคริสต์จนนำไปสู่ วิกฤติการณ์ต่อต้านพวกฝรั่งในปี พ.ศ. 2231 จนฟอลคอนถูกประหารชีวิต ฝรั่งเศสถูกไล่ออกไปและอังกฤษต้องหนีออกจากสยาม

กษัตริย์อยุธยาตอนปลายได้กำไรมหาศาลจากการผูกขาดการค้าระหว่างประเทศ และมีรายได้จากภาษีที่เพิ่มขึ้นเพราะเศรษฐกิจในประเทศขยายตัว ค่าใช้จ่ายด้านการสงครามก็ลดลง ทรงใช้ทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นลงทุนสร้างพระราชวังใหม่ๆที่อลังการอย่างที่ไม่เคย มีมาก่อน ทั้งอารามหลังใหม่และที่ปฏิสังขรณ์ใหม่รวมทั้งงานเทศกาลต่างๆที่เลื่องลือ มีการฟื้นฟูพิธีกรรมเขมรเพื่อทำให้กษัตริย์ดูลี้ลับและยิ่งใหญ่ สังคมแบ่งออกเป็นสองชนชั้น คือ กลุ่มขุนนางที่รับใช้กษัตริย์ประมาณสองพันคนกับครอบครัวของเขามีฐานะสูงต่ำ ตามศักดินาแบ่งการบริหารเป็นเวียง วัง คลัง นา กับอีกชนชั้นหนึ่งคือพวกไพร่ที่ถูกเกณฑ์ให้มารับใช้พวกคนชั้นนำ การขยายตัวทางเศรษฐกิจการค้าในยามที่สงครามเบาบางลง ทำให้ระบบเกณฑ์แรงงานอ่อนประสิทธิภาพลง คนจำนวนมากติดสินบนนายให้ลบชื่อพวกเขาออกจากบัญชีแรงงานเกณฑ์ บางคนก็ไปขึ้นอยู่กับนายที่ไม่เคร่งครัดมากนัก บางคนยอมขายตัวเป็นทาสเพื่อหาเงินมาทำการค้า บางคนหนีไปบวชเพื่อหนีเกณฑ์ หลายคนหนีไปอยู่ป่าลึก ในสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวงเริ่มตั้งแต่พระเพทราชา ที่มาจากบ้านพลูหลวง สุพรรณบุรี ซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายของอยุธยา เกณฑ์คนมาเป็นทหารได้ไม่กี่พันคน กษัตริย์ต้องออกกฎหมายเพื่อปรับปรุงการลงบัญชี ลงโทษนายที่รับสินบน ห้ามไพร่ขายตัวลงเป็นทาส เปิดโปงพระปลอมและสืบหาผู้ที่แอบไปอยู่ภายใต้การปกป้องของขุนนาง

ส่วนพวกขุนนางที่ไม่ค่อยมีสงครามออกรบ ก็หันมาสร้างฐานะด้วยการทำงานกับพระคลังซึ่งดูแลด้านการค้า แต่กษัตริย์มักจ้างคนต่างชาติที่มีความรู้ความชำนาญและควบคุมได้ง่ายกว่า ขุนนางไทยที่รับราชการในพระคลังจึงมีจำนวนไม่มากแต่เด่นมากและร่ำรวยได้ อย่างรวดเร็ว หนทางก้าวหน้าอีกทางหนึ่งคือการไต่เต้าจากการเมืองในราชสำนักโดยเฉพาะในช่วง ของการสืบราชสมบัติที่การแก่งแย่งมักเริ่มด้วยการรบพุ่งกันที่ใจกลางเมือง หลวงแล้วจบลงด้วยการกำจัดขุนนางและสมาชิกราชวงศ์ที่เป็นชายของฝ่ายแพ้ผู้ ซึ่งอาจจะแย่งชิงราชบัลลังก์อีกในกาลต่อมา ขุนนางที่ได้ช่วยให้กษัตริย์ครองราชย์ได้สำเร็จก็ได้รางวัลเป็นตำแหน่งและ ทรัพย์สิน ขุนนางมักจะสืบทอดตำแหน่งภายในตระกูลเดียวกัน และถวายลูกชายไปเป็นมหาดเล็กส่วนลูกสาวก็เข้าไปเป็นนางรับใช้ในวังโดยพยายาม เลือกข้างที่จะได้ครองราชย์ แต่กษัตริย์ก็จะพยายามจำกัดอำนาจของขุนนางโดยเวียนตำแหน่งสำคัญไปตามตระกูล ต่างๆ ไม่ยอมให้ให้ตระกูลใดสืบทอดตำแหน่งสำคัญได้นาน มีการเก็บภาษีเมื่อขุนนางตาย ควบคุมขุนนางอย่างเคร่งครัดมิให้สะสมทรัพย์ โดยกษัตริย์มักหาเหตุลงโทษขุนนางเรื่องการรับสินบน ผู้ตกเป็นจำเลยจะถูกประหารชีวิตในที่สาธารณะเพื่อประจานให้ตระกูลเสียหาย หลังจากนั้นก็จะจัดสรรเมียและทาสให้กับขุนนางอื่นๆและจะเปิดเรือนให้ผู้คน เข้าไปฉกชิงสิ่งของได้ พวกขุนนางผู้ใหญ่จึงไม่ค่อยสะสมสมบัติที่เปิดเผยและยึดได้ง่าย จึงมักนิยมสะสมเครื่องเพชรเพราะสะดวกในการเก็บและซุกซ่อน

ในสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง หลังเกิดวิกฤติการณ์โค่นล้มพระนารายณ์มหาราชและขับไล่พวกยุโรปในพ.ศ. 2231 พ่อค้าอังกฤษและฝรั่งเศสละทิ้งอยุธยา อยุธยาหันไปค้ากับจีนและมลายู สยามเป็นแหล่งข้าวที่จีนพอใจมาก ชาวจีนอพยพมาตั้งถิ่นฐานในสยามจนกลายเป็นชุมชนใหญ่ถึงสองหมื่นคน ชาวจีนเข้ามามีบทบาทในการค้าขายทุกอย่าง เกิดตลาดค้าขายคึกคักรอบเมืองหลวง ที่ดินมีราคา มีสินค้านำเข้าหลากหลายชนิด เกิดมีพวกไพร่ร่ำรวยและติดสินบนขุนนางเพื่อให้ได้ยศฐาบรรดาศักดิ์ ทำให้พวกขุนนางร่ำรวยและมีอำนาจมากขึ้น การทำสงครามสืบราชสมบัติมีน้อยลงและจำกัดอยู่ในกลุ่มพระราชวงศ์ พวกขุนนางจึงไม่เสียหายมาก พวกตระกูลใหญ่จึงมีโอกาสได้สะสมไพร่พลและทรัพย์สิน

และแล้วพม่าก็บุกโจมตีอยุธยาโดยพระเจ้าอลองพญาปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์อลอง พญาเริ่มยกทัพเข้ามาตั้งแต่ปี 2303 แต่สวรรคตกลางคันจึงถอยทัพกลับ ต่อมาพระเจ้ามังระที่สืบราชสมบัติต่อจากพระเจ้ามังลอกพระเชษฐาจึงได้บุกโจม ตีเอาชัยชนะต่ออยุธยาได้สำเร็จ ในปี พ.ศ. 2310 หลังจากจบศึกสงครามครั้งก่อนมาร่วม 150 ปี จากการที่ไม่มีความขัดแย้งที่รุนแรงต่อกันเพราะมีการแบ่งอำนาจและเขตอิทธิพล กันลงตัว แต่สาเหตุสำคัญของการบุกโจมตีครั้งนี้มาจากความทะเยอทะยานของกษัตริย์พม่า พระราชวงศ์ใหม่ที่ต้องการแผ่ขยายอิทธิพลไปทุกทิศทางและในครั้งนี้ถึงกับต้อง การกำจัดอยุธยาออกไปจากสารบบของการเป็นเมืองคู่แข่ง ในช่วงปลอดสงคราม 150 ปีหลังจากการเสียกรุงครั้งแรก ทำให้อยุธยามั่งคั่งร่ำรวย กลายเป็นสังคมเมืองที่ห่างเหินเรื่องการศึกสงคราม เมื่อกองทัพพม่ารุกเข้ามา ชาวอยุธยาก็หลีกเลี่ยงที่จะถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารโดยติดสินบนมูลนาย บางคนหนีไปอยู่ป่า เจ้าเมืองที่อยุธยาขอให้ช่วยก็มีไม่กี่แห่งที่ส่งทหารมา เมืองที่พม่าเดินทัพผ่าน ต่างก็ยอมจำนนต่อพม่าเพื่อหลีกเลี่ยงหายนะ บางแห่งก็ถูกกวาดต้อนเป็นเชลยร่วมไปกับทัพพม่า บางพวกก็เข้าร่วมกับพม่าเพื่อจะได้ฉกฉวยทรัพย์สิน ขุนนางอยุธยาก็พยายามต่อรองขอร้องพม่าให้เห็นแก่ความทุกข์ยากเดือดร้อนของ ราษฎร เปรียบเทียบเหมือนช้างสารชนกัน หญ้าแพรกคือประชาชนก็มีแต่แหลกราญ พระเจ้าเอกทัศน์รู้ดีว่าไม่สามารถเกณฑ์ทหารได้เพียงพอจึงสร้างกำแพงให้สูง ขึ้น และขยายคูเมืองให้กว้าง พร้อมทั้งซื้อปืนประเภทต่างๆไว้เป็นจำนวนมาก หวังรอฤดูน้ำหลาก แต่พม่ายกทัพมาถึงสามทัพโดยตั้งค่ายอยู่บนเนินกว่าสองปี ผู้คนจึงต้องหนีภัยความอดอยากออกมานอกเมือง พม่าทำลายกำแพงเมืองเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2310 โดยมุ่งทำลายทุกสิ่งเพื่อกำจัดอยุธยาให้สิ้นซากไม่ให้เป็นคู่แข่งอีกต่อไป อะไรที่เคลื่อนย้ายได้ก็เอาไปอังวะให้หมด พม่าจุดไฟเผาเมืองจนวอดวาย พระเจ้ามังระ กษัตริย์พม่า มีพระบรมราชโองการให้จับพระเจ้าแผ่นดิน พระบรมวงศานุวงศ์ และรวบรวมสมบัติทั้งหมดของอยุธยาส่งกลับไปพม่า รวมทั้งกลุ่มขุนนาง ช่างฝีมือ พระพุทธรูป ตำรา อาวุธ โดยกวาดเอาพระราชวงศ์ไปถึงสองพันคน อะไรที่เอาไปไม่ได้ก็ให้ทำลายให้สิ้น พังกำแพงเมืองและระเบิดคลังสรรพาวุธเสียราบเรียบ วังและวัดถูกทำลายจนเหลือเพียงเถ้าถ่าน การสู้รบดำเนินต่อไปกว่า 40 ปี บริเวณรอบๆอยุธยาแทบจะปราศจากผู้คนอย่างสิ้นเชิง การโจมตีเริ่มมาจากทางล้านนาตั้งแต่ด้านเชียงใหม่ลงมา ระหว่างทางก็จับเชลย เผาเอาทองและหาเสบียงกรัง

การโจมตีของพม่าในปี 2315 - 2319 สร้างความหายนะแก่ล้านนามากจนเชียงใหม่ถูกทิ้งเป็นเมืองร้าง พม่ายังได้กลับมาโจมตีอีกในปี 2328 – 2329 โดยยกทัพมากกว่าหนึ่งแสนคนแบ่งเป็นเก้าทัพ จากทางเหนือที่ล้านนาคือเชียงใหม่ ลงมาถึงจังหวัดระนอง เมื่อเดินทัพผ่านที่ใดก็จะสร้างความหายนะเป็นบริเวณกว้าง พิษณุโลกและหัวเมืองเหนืออื่นๆต้องถูกทิ้งร้าง ในที่สุดพม่าก็ถูกขับไล่ออกไป แต่เชียงใหม่ถูกทำลายจนเหลือสภาพเป็นเพียงหมู่บ้าน และบริเวณภาคเหนือก็ไม่ได้มีผู้คนกลับมาอาศัยอยู่เหมือนเดิมจนถึงทศวรรษ 2410 นครศรีธรรมราชซึ่งเป็นเมืองสำคัญทางภาคใต้ก็ถูกทำลายจนแทบไม่มีทางฟื้นคืน อีกเลย มีคนน้อยมาก การค้าและทรัพยากรต่างๆก็ไม่ค่อยมี แม้กระทั่งเมืองสำคัญในที่ราบลุ่มเจ้าพระยา เช่น เมืองราชบุรีที่ถูกเผาเมื่อปี 2310 ก็ยังถูกทิ้งเป็นเมืองร้างไม่ต่ำกว่า 30 ปี...........

Read Comments
  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น