You can replace this text by going to "Layout" and then "Edit HTML" section. A welcome message will look lovely here.
RSS

วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วีรชนที่ไม่ต้องพระประสงค์ ตอนที่ 1-2

ฟังเสียงพร้อมเพลงประกอบ : http://www.4shared.com/mp3/ngPgFMAm/The_Royal_Legend_028_.html
หรือที่ :
 
http://www.mediafire.com/?74ht4m93947tc5d    

...............

...............

กบฎวังหลวง และ
คดีสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรี

กบฏวังหลวง เกิดขึ้นในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 โดยนายปรีดี พนมยงค์นำกองกำลังส่วนหนึ่งจากประเทศจีนร่วมกับคณะนายทหารเรือ และอดีตเสรีไทยกลุ่มหนึ่ง ไม่ต่ำ กว่า 50 นายเรียกตัวเองว่า ขบวนการประชาธิปไตย 26 กุมภาพันธ์ นำกำลังยึดพระบรมมหาราชวัง หรือวัดพระแก้ว และลำเลียงอาวุธสมัยเสรีไทยมาไว้ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นกองบัญชาการ เมื่อเวลา 16.00 น.

เวลา 21.00 น.นายปรีดีกับพวกได้บุกเข้ายึดสถานีวิทยุพญาไทของกรมโฆษณาการ โดยพ.ต.โผน อินทรทัต (อดีตเสรีไทยสายสหรัฐอเมริกา)และออกประกาศประกาศถอดถอน รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายทหารชั้นผู้ใหญ่หลายนาย และได้ประกาศแต่งตั้ง นายดิเรก ชัยนาม ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน พร้อมรัฐมนตรี โดยที่นายดิเรกมิได้รู้เห็นด้วย
นายปรีดีที่หลบหนีออกจากประเทศไปตั้งแต่การรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ได้แอบเดินทางกลับมาโดยปลอมตัวเป็นทหารเรือและติดหนวดปลอมปะปนเข้ามาพร้อมกับกลุ่มกบฏ แต่มีผู้พบเห็นและจำได้ ฝ่ายรัฐบาลรู้ตัวก่อนแล้ว เพราะจอมพล ป. พูดทิ้งท้ายก่อนหน้าทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยว่า เลือดไทยเท่านั้นที่จะล้างเมืองไทยให้สะอาดได้และออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ล่วงหน้า 3 วันก่อนเกิดเหตุ

นายปรีดี ให้ยึดบริเวณวัดพระเชตุพนตรงข้ามกับ ร. พัน. 1 เพื่อตรึงกำลัง ร. พัน. 1 ไว้ เมื่อเข้ายึดสถานที่สำคัญๆ เพื่อตรึงกำลังไว้แล้ว กลุ่มเสรีไทยที่เคยร่วมมือกับนายปรีดีต้านญี่ปุ่น ก็จะเคลื่อนกำลังเข้าสมทบ โดย นายชาญ บุนนาค ผู้จัดการป่าไม้สัมปทานหัวหิน จะนำกำลังเสรีไทยเข้าสู่พระนคร นายชวน เข็มเพชร นำเสรีไทยภาคตะวันออกเข้ามาทางอรัญประเทศ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายจำลอง ดาวเรือง นายถวิล อุดล และนายเตียง ศิริขันธ์ จะนำพวกเสรีไทยยึดภาคอิสาน และเข้ามาสมทบในพระนคร ดร.ทองเปลว ชลภูมิ จะนำเสรีไทยจากเมืองกาญจนบุรี เข้าสมทบ พล.ร.ต. สังวร สุวรรณชีพ พล. ร.ต. ทหาร ขำหิรัญ จะนำกำลังทหารเรือบางส่วนจากสัตหีบ ชลบุรี ระยอง มารวมกำลังที่ชลบุรี มุ่งสู่กรุงเทพฯ

ตอน แรก ฝ่ายกบฏดูจะเป็นฝ่ายได้เปรียบ สามารถยึดสถานที่สำคัญ และจุดยุทธศาสตร์ไว้ได้หลายจุด แต่ทว่าตกค่ำคืนวันนั้น ทหารฝ่ายรัฐบาลก็ตั้งตัวติด และสามารถยึดจุดยุทธศาสตร์กลับคืนมาได้ กองกำลังทหารเรือฝ่ายสนับสนุนกบฏจากฐานทัพเรือสัตหีบก็ติดอยู่ที่ท่าน้ำบางปะกง เพราะน้ำลดขอดเกินกว่าปกติ แพขนานยนต์ไม่สามารถลำเลียงอาวุธ และกำลังคนข้ามฟากไปได้ เมื่อน้ำขึ้นก็เป็นเวลาล่วงเข้ากลางคืน กองกำลังทั้งหมดมาถึงพระนครในเวลา 2 ยาม ถึงตอนนั้นฝ่ายกบฏก็เพลี่ยงพล้ำต่อรัฐบาลแล้ว
จุดที่มีการปะทะกันระหว่างทหารบกฝ่ายรัฐบาล และทหารเรือฝ่ายกบฏ เช่น ถนนวิทยุ ถนนพระราม 4 สาทร มีการยิงปืนโต้ตอบกัน
พล.ต.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการปราบปราม ได้ยิงปืนจากรถถัง ทำลายประตูวิเศษไชยศรีของ พระบรมมหาราชวังพังทลายลง ตอนเย็นของวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2492 ทั้ง2 ฝ่ายหยุดยิง รัฐบาลคุมสถานการณ์ได้ และปราบกบฏสำเร็จ นายปรีดีต้องหลบหนีออกนอกประเทศอีกครั้ง

ฝ่ายกบฏยอมแพ้และแยกย้ายกันหลบหนี แต่รัฐบาลยังส่งตำรวจติดตาม และสังหารอย่างต่อเนื่อง จากนั้นไม่กี่วัน ได้มีการสังหารบุคคลสำคัญทางการเมืองหลายคน เช่น พันตรีโผน อินทรทัต ถูก ตำรวจจับกุมและยิงเสียชีวิตระหว่างถูกควบคุมตัวไปสอบสวน ที่วังปารุสกวัน ตำรวจรายงานว่า พบศพที่อำเภอดุสิต เมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2492 และนำศพส่งโรงพยาบาล เป็นชายไทยไม่ทราบชื่อ ที่ท้ายทอยและหน้าผากมีรอยถูกยิง (พี่ชาย คือทองทศ อินทรทัต ได้นำชื่อโผนมาตั้งเป็นชื่อนักมวยในค่าย ต่อมาได้เป็นแชมป์เปียนโลกคนแรก คือ โผน กิ่งเพชร)

ขณะ นั้นหม่อมหลวงกันยกา [นามสกุลเดิม สุทัศน์ ธิดาของ พล.ท. พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (ม.ร.ว. สิทธิ์ สุทัศน์) อดีตแม่ทัพภาคที่ 1] ภรรยาของ พ.ต.โผน กำลังตั้งครรภ์บุตรชายคนสุดท้อง (พล.อ.ไตรรงค์ อินทรทัต หรือ เสธไอซ์) ได้ประมาณ 2 เดือนเศษ โดยไม่มีการเปิดเผยหรือให้คำอธิบายที่ชัดเจนจากทางการแต่อย่างใด

ถัดมาอีกวันหนึ่งในเวลาเช้าตรู่อีกเช่นกัน ขณะที่มีการเข้าตรวจค้นจับกุม พ.ต.อ.บรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข ผู้บังคับการตำรวจสันติบาล ภายในบ้านพัก ก็เกิดเสียงปืนดังหลายนัด ผู้เข้าจับกุมให้การว่า พ.ต.อ.บรรจงศักดิ์ ขัดขืนและกลายเป็นศพ เหมือนหลายๆคดี ที่ตำรวจมักกล่าวว่าผู้ต้องหาต่อสู้เจ้าหน้าที่พนักงาน สุดท้ายเรื่องก็เงียบหายไป

1 มีนาคม 2492 หนังสือพิมพ์ทุกฉบับลงพาดหัวแถลงการณ์ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ว่าได้มีกลุ่มบุคคลก่อการ หวังจะยึดอำนาจการปกครองกลับคืนหลังจากการรัฐประหาร 2490 กลุ่ม บุคคลดังกล่าวได้ทำการยึดพระบรมมหาราชวังที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตพระ ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเป็นการกระทำที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง โดยเปิดเผยชื่อหัวหน้าขบวนการ คือนายปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกรัฐมนตรี



ทางการออกประกาศให้สินบนนำจับ นายปรีดี หัวหน้าขบวนการรางวัลนำจับ 50,000 บาท
พลเรือตรีสังวรณ์ สุวรรณชีพ รองหัวหน้า รางวัลนำจับ 30,000 บาท


สำหรับ
อดีตรัฐมนตรีทั้ง 4 ประกอบไปด้วย :

นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ อดีต ส.ส.อุบลราชธานี พรรคสหชีพ อดีตรัฐมนตรี 6 สมัย ต่อมาเป็นรัฐมนตรีอุตสาหกรรม ในรัฐบาลปรีดี มีคู่สมรสคือเจ้าศิริบังอร ณ จำปาศักดิ์ ประเทศลาว เป็นหัวหน้าขบวนการเสรีไทยเขตอุบลราชธานี ได้รับเลือกเป็นสส.อุบลราชธานีทุกสมัยที่ลงสมัคร ปฏิบัติหน้าที่อย่างกล้าหาญโดยเฉพาะแนวคิดการพัฒนา แม่น้ำโขง ชี และมูล

ผลงานเด่นคือ การเสนอร่างพรบ. คุ้มครองค่าใช้จ่ายประชาชนในภาวะคับขัน ที่เรียกว่า พระราชบัญญัติปักป้ายข้าวเหนียว เพื่อ ป้องกันพ่อค้าเอาเปรียบผู้บริโภค ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ไม่เห็นด้วย อ้างว่าไม่มีมาตรการควบคุมราคา ในที่สุดรัฐบาลแพ้โหวตในสภาฯ ที่รับหลักการด้วยคะแนน 65 ต่อ 63 เสียง ทำให้รัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ นายปรีดีจึงได้เป็นนายกรัฐมนตรีแทน


นายถวิล อุดล
ส.ส.ร้อยเอ็ด 2 สมัย พรรคสหชีพ อดีตรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลนายทวี บุณยเกตุ เป็นหัวหน้าเสรีไทย จังหวัดร้อยเอ็ด เคยเดินทางติดต่อขอความร่วมมือจากประเทศจีน มีแนวคิดที่สำคัญ คือภาษีที่เก็บต้องเป็นประโยชน์กลับคืนสู่ประชาชนทั้งหมด






นายจำลอง ดาวเรือง ส.ส. มหาสารคาม 3 สมัย ปี 2480 - 2490 ต้องการให้มีการกระจายอำนาจลงสู่ชนบท มีแนวคิดเสรีนิยมต่อต้านเผด็จการทหาร โดยรวมกลุ่มกับนายปรีดี พนมยงค์ นายเลียง ไชยกาล พระสารคามคณาภิบาล นายทองม้วน อัตถากร นายทองดี ณ กาฬสินธุ์ ร่วมกันตั้งพรรคสหชีพ ยึดถือเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี ออกหนังสือพิมพ์ราย 10 วัน ชื่อสยามอุโฆษในปี 2480 นายเตียง ศิริขันธ์เป็นบรรณาธิการ เป็นรัฐมนตรีติดต่อกัน 4 สมัย ตั้งแต่ปี 2480 - 2490 จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร ในปี 2490 เป็นผลให้บทบาททางการเมืองของนายจำลอง ดาวเรือง ยุติลง โดยถูกจับกุมในข้อหากบฎ


ดร.ทองเปลว ชลภูมิ ส.ส.พระนคร เลขาธิการพรรคแนวร่วมรัฐธรรมนูญ มีร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นหัวหน้าพรรค










นักการ เมืองฝ่ายของนายปรีดีถูกจับกุมตัวพร้อมกัน ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ในสถานที่ที่ต่างกันออกไป เช่น นายถวิลถูกจับที่สโมสรราชนาวี ดร.ทองเปลว ชลภูมิ ถูกจับ 1 มีนาคมโดย ร.ต.อ.ต่อศักดิ์ ยมนาค ( พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ ยมนาค ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล บิดาดร.ต่อตระกูล ยมนาค ) กับตำรวจสันติบาลไปรอรับถึงเชิงบันไดเครื่องบิน ที่สนามบินดอนเมือง โดยตำรวจส่งโทรเลขเป็นรหัส ไปลวงว่าการปฏิวัติสำเร็จแล้วให้รีบกลับ เพราะดร.ทองเปลวได้หลบหนีไปอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งบุคคลทั้ง 4 นี้ ล้วนแต่เป็นนักการเมืองสายของนายปรีดี และ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ทั้งสิ้น และไม่มีชื่อในประกาศจับ มีการเปิดเผยภายหลังว่า บุคคลเหล่านี้ไม่ได้เป็นฝ่ายก่อการแต่ถูกวางตัวให้เป็นผู้ร่างกฎหมาย และประกาศฉบับต่างๆ หากการปฏิวัติสำเร็จ

บรรดาญาติของผู้ต้องหาไม่ได้ระแวงว่าจะเกิดเหตุร้าย เนื่องจากบุคคลทั้ง 4 ได้เข้าๆออกๆ เรือนจำเป็นประจำในข้อหาทางการเมือง ค่ำวันที่ 3 มีนาคม 2492 ตำรวจได้เคลื่อนย้ายผู้ต้องหาทั้งหมด ไปไว้ที่สถานีตำรวจนครบาลบางเขน โดยอ้างเหตุความปลอดภัย ด้วยรถของตำรวจหมายเลขทะเบียน กท. 10371


โดยมี พ.ต.อ.หลวงพิชิตธุรการ เป็น ผู้ควบคุม โดยรับ ดร.ทองเปลว ที่สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน นายจำลองที่สถานีตำรวจนครบาลยานนาวา นายถวิลที่สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง และนายทองอินทร์ที่สถานีตำรวจนครบาลสามเสน เมื่อวิ่งมาถึงหลักกิโลเมตรที่ 12 ถนนพหลโยธิน เวลาประมาณ 3.00 น.(ตีสาม) วันที่ 4 มีนาคม 2492 ใกล้มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ บางเขน

ผู้ต้องหาทั้งหมดถูกยิงเสียชีวิตด้วยกระสุน ร่างละไม่ต่ำกว่า 10 นัด ในสภาพที่ทุกคนยังสวมกุญแจมืออยู่ โดยได้ส่งศพไปชันสูตรที่โรงพยาบาลกลาง ตำรวจแถลงว่า กลุ่มโจรมลายูพร้อมอาวุธครบมือได้ดักซุ่มยิงเพื่อชิงตัวผู้ต้องหา และได้มีการปะทะกับตำรวจ

แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ตำรวจทั้งหมดราว 20 นายไม่มีใครได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเลย
ญาติ ของผู้ต้องหา กว่าจะทราบเรื่องการเสียชีวิต ก็เมื่อได้ไปเยี่ยมที่สถานีตำรวจเดิมที่คุมขังแล้วไม่พบตัว ต้องไปตามหาตามที่ต่าง ๆ เช่น วังปารุสกวันขณะนั้นเป็นกองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้รับการบอกกล่าวให้ไปดูที่โรงพยาบาลกลาง จึงได้ทราบเรื่อง

ศพของทั้งหมดอยู่ตั้งบำเพ็ญกุศล ที่วัดมกุฏกษัตริยาราม ในงานศพยังมีตำรวจสายสืบเฝ้าดูความเคลื่อนไหวของผู้ที่เข้าร่วมงานศพ สังคมทั่วไปเชื่อว่า เป็นการกระทำของตำรวจภายใต้การบัญชาการของ พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการปราบกบฏและเป็นรองอธิบดีกรมตำรวจในเวลานั้น

คดี สังหาร 4 อดีตรัฐมนตรีได้ถูกรื้อฟื้น และตัดสินหลังการรัฐประหาร ในปี พ.ศ. 2500 โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ศาลดำเนินคดีในปี 2502 มีผู้ต้องหา 5 ราย แต่เชื่อว่าไม่ได้เป็นผู้ต้องหาตัวจริง อีกทั้งยังมีการช่วยเหลือและไม่จริงใจในการดำเนินคดี เพราะมีผู้ต้องหาหลายคนเคยอยู่ในสังกัดของจอมพล ป. ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ก็ต้องการให้คนพวกนี้มาช่วยค้ำจุนอำนาจของตน จากนั้นไม่นาน ก็ได้มีการฆาตกรรมนักการเมืองและบุคคลฝ่ายที่รัฐบาลเชื่อว่าเป็นผู้ที่อยู่ตรงข้าม คือ เพียงแค่สงสัยว่าเป็นพวกนายปรีดี หรือมีความคิดเอียงซ้ายก็ชะตาขาดแล้ว เช่น นายเตียง ศิริขันธ์ นายหะยีสุหรง อับดุลกาเดร์ นายอารีย์ ลีวีระ




นายหะยีสุหรง อับดุลกาเดร์ หรือ หะยีสุหรง โต๊ะมีนา
(บิดาของนายเด่น โต๊ะมีนา) ประธานกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานี ความขัดแย้งเรื่องศาสนาเริ่มปะทุขึ้นอีกตั้งแต่ 16 ธันวาคม 2481




เมื่อพันเอกหลวงพิบูลสงครามนายกรัฐมนตรี ประกาศใช้รัฐนิยมในปี 2482 ให้ชาวไทยร่วมกันสร้างชาติเป็นมหาอำนาจ ให้ใช้ภาษาเดียวกัน ขนบธรรมเนียมประเพณีเดียวกัน แม้แต่ศาสนาก็ควรจะเป็นศาสนาเดียวกัน ปี 2486 จอมพล ป. ยกเลิกการใช้กฎหมายอิสลามใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก่อนหน้านั้น ได้สั่งห้ามแต่งกายตามหลักศาสนาอิสลามและประเพณีนิยม

ปี 2488 รัฐบาลได้ประกาศพระราชกฤษฎีกา การศาสนูปถัมถ์ฝ่ายอิสลาม มีจุฬาราชมนตรี ฮัจยีสุหลงได้เรียกร้องรัฐบาล ให้อำนาจคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ให้ตั้งศาลศาสนาให้มีการเลือกตั้งผู้นำใน 4 จังหวัดภาคใต้ที่นับถือศาสนาอิสลามให้มีการสอนภาษามลายูในโรงเรียนรัฐบาล ภาษีรายได้ใน 4 จังหวัดให้ใช้เฉพาะใน 4 จังหวัดเท่านั้น ข้าราชการใน 4 จังหวัด ขอให้เป็นมุสลิมไม่น้อยกว่า 80% ให้ใช้ภาษามลายูเป็นภาษาราชการด้วย ให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีอำนาจดำเนินการกิจการศาสนาอิสลาม

16 มกราคม 2491 นาย หะยีสุหลงกับพวก ถูกผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี จับกุมในข้อหากบฎแบ่งแยกดินแดน ปีต่อมาศาลนครศรีธรรมราช ตัดสินจำคุกหะยีสุหลง 3 ปี ฐานหมิ่นประมาทรัฐบาลไทย ถูกส่งตัวอยู่เรือนจำบางขวาง นนทบุรี ปี 2495 หะยีสุหลงได้รับอภัยโทษ ให้พ้นโทษก่อนกำหนด

13 สิงหาคม 2497 หะยีสุหลงกับเพื่อนอีก 2 คน และนายอาห์มัด โต๊ะมีนา ลูกชายคนโต เดินทางไปพบตำรวจสันติบาลที่จังหวัดสงขลาตามคำสั่ง ลูกชายช่วยเป็นล่ามเท่านั้น แต่ได้หายสาบสูญไปทั้งหมด รัฐบาลแถลงว่า ตำรวจสันติบาลได้ปล่อยตัวแล้วตามบันทึกปล่อยตัวที่เซ็นไว้

ต่อ มาจึงได้ทราบจาก คณะกรรมการสะสางคดีที่แต่งตั้งโดย จอมพลสฤษดิ์ นายกรัฐมนตรีว่า นาย หะยีสุหลง กับพวก 2 คน และลูกชาย ได้ถูกตำรวจฆ่าตายในวันนั้น โดยรัดคอตาย แล้วผ่าศพผูกเสาซีเมนต์ ไปทิ้งทะเลสาบสงขลา” อดีตรองผู้การสันติบาลได้เขียน บันทึกเปิดเผยว่า ได้มีคำสั่งฆ่านาย ฮัจยีสุหลง จริง ( หนังสือ "บุรุษเหล็กแห่งเอเซีย" โดย พ.ต.อ.พุฒ บูรณสมภพ )

นายอารีย์ ลีวีระ นัก หนังสือพิมพ์ที่กล้าหาญ ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพและอุดมการณ์ เกิดเดือนมิถุนายน 2456 ที่ตำบลวังใหม่ ปทุมวัน พระนคร มีพี่น้อง 8 คน ใช้นามสกุล ลีวีระ เพียงคนเดียว เหตุผลว่า คนหนังสือพิมพ์ต้องใช้ชีวิตต่อสู้และเสี่ยงภัยที่มองไม่เห็น จบชั้นมัธยมปลายเมืองซัวเถาประเทศจีน และมหาวิทยาลัยเอ้หมิงปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิต จึงกลับไทย ปี 2475 อายุ19 ปี

เข้าสู่วงการหนังสือพิมพ์ หลังจากเป็นครูสอนหนังสือ เมื่อปี 2477 เป็นผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์จีนที่ตลาดน้อย เปิดหน้าภาษาไทยในหนังสือพิมพ์จีน ต่อมาก่อตั้งหนังสือพิมพ์ เสียงจงสีเป้า เมื่อปี 2481 และออกหนังสือพิมพ์สยามสมัยรายสัปดาห์ เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 นายอารีย์ได้เข้าร่วมขบวนการเสรีไทย และออกหนังสือพิมพ์ภาษาจีนไทยฮั้วเซี่ยงป่อ ส่งเสริมสัมพันธภาพไทย-จีน ทำให้กองทัพญี่ปุ่นส่งกองทหารเข้าบุกจับถึงโรงพิมพ์ ต้องปีนกำแพงด้านหลังหนีตาย ใช้ชีวิตหลบซ่อนจนสงครามโลกสงบ

ปี 2489 นายอารีย์ ลีวีระ รวบรวมทุนซื้อกิจการโรงพิมพ์ไทยพาณิชยการ ของพระยาปรีชานุสาสน์ ออกหนังสือพิมพ์ไทย วาง ตลาดเช้าตรู่เป็นฉบับแรกของไทย ให้นักข่าวใช้ชวเลขจดข่าว ตั้งผู้สื่อข่าวต่างจังหวัด เกิดมีนักข่าวภูมิภาคที่มีฝีมือเป็นนักการเมืองหลายคน คืนวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2496 ศาลได้สั่งปล่อยนายอารีย์ ผู้อำนวยการโรงพิมพ์ไทยพาณิชย์การ มีหนังสือพิมพ์สยามนิกรและพิมพ์ไทยในสังกัด วัน ที่ 23 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน นายอารีย์วัย 40 ปีได้เข้าสู่พิธีสมรสกับนางสาวกานดา พงษ์ธนานนท์ และไปหัวหินเพื่อดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์

เช้าวันที่ 9 มีนาคม 2496 เวลา 08.50 น. มีรถจี๊ปสีเขียวเข้าไปในเรือนพักของ หนุ่มสาวคู่นี้ แล้วมีเสียงปืนดังขึ้น 2-3 นัดแล้วรถดังกล่าวออกไปเมื่อตำรวจหัวหินวิทยุสกัดรถคันนี้ได้ พบมีตำรวจยศสิบโท และพลตำรวจอีก 4 นาย เป็นตำรวจกองกำกับการจังหวัดกาญจนบุรี ให้การว่า พ.ต.ท.ศิริชัย กระจ่างวงศ์ ให้มาดักจับคนร้าย

นายตำรวจดังกล่าวเป็นนายตำรวจอัศวินแหวนเพชรของ พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ นั่น เอง สาเหตุที่นายอารีย์ถูกสังหาร คงเนื่องจากไม่ยอมก้มหัวให้แก่ผู้มีอำนาจในขณะนั้น หนังสือพิมพ์ของเขามักเสนอข่าวที่ตรงกันข้ามกับนโยบายรัฐบาลเสมอ เคยถูกขอร้องและใช้วิธีขอซื้อหุ้น แต่นายอารีย์ไม่ยอมจนถูกจับกุมคุมขังในข้อหาคอมมิวนิสต์


เตียง ศิริขันธ์ ขุนพลภูพาน

นายเตียง ศิริขันธ์ เกิดที่บ้านตลาด อำเภอเมืองสกลนคร เมื่อ 5 ธันวาคม 2452 เป็นบุตรขุนนิเทศพาณิชย์ (บุดดี)กับนางอ้อน จบโรงเรียนฝึกหัดครูวัดบวรนิเวศ สมรสกับนางนิวาศน์ พิชิตรณการ จบการศึกษาสูงสุดระดับประกาศนียบัตรครูมัธยม (ป.ม.) จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2473 ขณะอายุ 22 ปี เป็นนิสิตจุฬาฯรุ่นเดียวกันกับอาจารย์เปลื้อง ณ นคร เป็นครูโรงเรียนหอวัง แล้วย้ายกลับอีสานมาเป็นผู้ช่วยครูใหญ่ที่โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล มีลูกศิษย์เป็นนักการเมืองคุณภาพ เช่น นายแคล้ว นรปติ (สว.ขอนแก่น) และพ.อ สมคิด ศรีสังคม ( สว. อุดรธานี )


นายเตียงลาออกจากครูเมื่ออายุ 25 ปี ลงสมัครเป็นผู้แทนราษฎรทางตรงครั้งแรกของประเทศไทย ด้วย ความคับแค้นใจในความไม่เป็นธรรมโดยเฉพาะการถูกกล่าวหาเป็นคอมมิวนิสต์ ต้องขึ้นศาลในวัยเบญจเพศ เพราะมีการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ และมีคนแอบชักธงรูปฆ้อนเคียวขึ้นสู่ยอดเสาของโรงเรียน แม้ แต่ตนที่เป็นถึงผู้ช่วยครูใหญ่ยังถูกยัดข้อหา จึงหวังเป็นผู้แทนไปร่วมออกกฎหมายและผลักดันนโยบายสร้างความเท่าเทียมกันใน สังคม โดยเฉพาะอีสาน


ครูเตียง
ได้เป็นส.ส.สกลนคร ครั้งแรกเมื่อปี 2480 ด้วยวัย 27 ปี และได้ร่วมทำงานกับส.ส.อีสานที่มีอุดมการณ์หลายคน เช่น นายถวิล อุดล นายจำลอง ดาวเรือง นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ในนามของ
สี่รัฐมนตรีอีสานหรือ ขุนพลอีสาน เป็นส.ส.ภูมิภาคที่โดดเด่น ที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยให้คนทุกข์ยาก เคียงบ่าเคียงไหล่นายปรีดี ผู้ก่อตั้งคณะราษฎร




นายเตียงและพวกได้ร่วมกันก่อตั้งพรรคการเมืองชื่อ พรรคสหชีพ มีนโยบายเพื่อเกษตรกรและคนจน ขจัดความเหลื่อมล้ำในสังคม กระจายอำนาจและรายได้สู่ประชาชนระดับล่างให้มากที่สุด โดยเฉพาะภาคอีสาน มีแนวทางใกล้เคียงและทำงานร่วมกับ พรรคแนวรัฐธรรมนูญ ที่มีนายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส เป็นแกนนำ

โดยนายเตียงให้ความเคารพนับถือนายปรีดีเป็นอาจารย์ แสดงบทบาทในสภา นำเสนอแนวคิดกระจายความเจริญ และการพัฒนาไปสู่ส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะผู้อยู่ห่างไกลในชนบ อภิปราย โจมตีนโยบายของผู้นำทหาร ที่จัดสรรงบประมาณให้กองทัพมากเกินไป แทนที่จะกระจายไปสู่การศึกษาและงานพัฒนาในชนบท สร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มผู้นำทหารตลอดเวลา



เมื่อปิดสมัยประชุม นายเตียงเดินทางกลับสกลนคร
ร่วมกับชาวบ้านทำถนน ทำฝาย บ่อน้ำ จนชาวสกลนครยุคนั้นพูดกันติดปากว่า ถนนนายเตียง ฝายนายเตียง




หลังจากทหารญี่ปุ่นบุกยึดประเทศไทย ในปี 2484 นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้จัดตั้งขบวนการเสรีไทยขึ้นเพื่อต่อต้านญี่ปุ่นอย่าง ลับๆ ซึ่งนายเตียง ศิริขันธ์ ทราบแผนการแต่แรก เขาและกลุ่มเพื่อน ส.ส.อีสาน ในฐานะเป็นผู้นำประชาชนระดับล่างในภาคอีสานได้รับผิดชอบการจัดตั้งขบวนการ เสรีไทยในภาคอีสานขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นขบวนการเสรีไทยที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศมีกองกำลังติดอาวุธ ลักษณะกองโจร โดยเฉพาะในแถบเทือกเขาภูพาน จังหวัดสกลนครเป็นจุดแรก

เนื่องจากแถบเทือกเขาภูพาน มีภูมิประเทศเหมาะสม เป็นป่า มีเงื้อมผาและซอกถ้ำไว้หลบซ่อนและเก็บเสบียงอาวุธ เคลื่อนไหวต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น โดยมีเตียง ศิริขันธ์ เป็นแม่ทัพ (กองทัพพลเรือน ท.พ.ร.) มีกองกำลังพลเรือนกว่าหมื่นคน ส่วนใหญ่เป็นครูประชาบาลและชาวนา รวมทั้งข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่เคารพศรัทธานายเตียง ที่ยินดีมาร่วมภารกิจกู้ชาติ โดยที่มิได้ค่าจ้างตอบแทน หรือเหรียญกล้าหาญ เป็นชาวนาจนๆพากันมาร่วมฝึกเป็นทหารเสรีไทยลับๆอยู่ปลายนา ชายป่า ภายใต้การนำของนายเตียง ศิริขันธ์ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายจำลอง ดาวเรือง นายถวิล อุดล นายแพทย์อ้วน นาครทรรพ นายครอง จันดาวงศ์ และทหารฝ่ายสัมพันธมิตร

มีค่ายเสรีไทยกระจายไปตามพื้นที่ต่างๆในเขตป่าและบริเวณเทือกเขาภูพานจังหวัดสกลนคร นายเตียง ยังจัดให้มีค่ายเสรีไทยอื่นๆ ตามจังหวัดต่างๆ ทั่วภาคอีสาน เช่น นครพนม มหาสารคาม หนองคาย อุดรธานี อุบลราชธานี และเป็นผู้นำในการสร้างสนามบินเสรีไทยลับๆ ในเขตสกลนครและกาฬสินธุ์ เพื่อขนอาวุธสัมพันธมิตร ไว้สำหรับการฝึกและเตรียมรบกับญี่ปุ่น

นายเตียง ศิริขันธ์ มีชื่อลับ พลูโต ได้กล่าวต้อนรับมิตรสหายที่เดินทางเข้าร่วมขบวนการเสรีไทย ที่ค่ายลับแห่งหนึ่งแถบดงพระเจ้า อำเภอสว่างแดนดินว่า

"ยินดีต้อนรับพวกเธอทุกคนเข้าสู่ขบวนการ เราทุกคนคงทราบกันดีแล้วว่าขณะนี้โลกของเรากำลังทำสงครามกันเป็นสองฝ่าย คือฝ่ายอักษะกับฝ่ายพันธมิตร ฝ่ายอักษะนั้นมีเยอรมันนี อิตาลี และญี่ปุ่น ฝ่ายสัมพันธมิตร มีอังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา รัสเซีย และจีน ขณะนี้ฝ่ายอักษะกำลังจะแพ้สงคราม อิตาลียอมแพ้ฝ่ายสัมพันธมิตรไปเรียบร้อยแล้ว...

ไทยเราเป็นประเทศหนึ่งที่ร่วมกับญี่ปุ่นประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกา เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ไทยเราก็ไม่พ้นถูกยึดครอง ท่าน รู้ธ(นายปรีดี) หัวหน้าใหญ่ของขบวนการของเราท่านเล็งเห็นการณ์ไกล จึงได้จัดตั้งขบวนการเสรีไทยขึ้นเพื่อร่วมมือกับอังกฤษและอเมริกา เพื่อขับไล่ญี่ปุ่นเพื่อไม่ให้ญี่ปุ่นใช้เมืองไทยเป็นฐานทัพสู้กับฝ่าย พันธมิตร

ฉันได้รับบัญชาจากท่านรู้ธ หัวหน้าของขบวนการเสรีไทยที่รักชาติ ให้มารวบรวมพลพรรคเสรีไทยที่รักชาติ ทำการฝึกอาวุธเตรียมไว้สำหรับการขับไล่ญี่ปุ่นไปให้พ้นประเทศไทย ...บัดนี้พวกเธอทั้งหลายคงรู้แล้วสิว่า เรามาที่นี่เพื่ออะไร ขบวนการของเราต้องการผู้รักชาติมาร่วมกันทำงาน เพื่อกอบกู้ชาติบ้านเมืองให้พ้นภัย"

นายเตียง ศิริขันธ์ ได้ฝึกนักรบเสรีไทยแบบกองโจร เพื่อพร้อมรบในวันดีเดย์ หรือวันยกพลขึ้นบกของฝ่ายสัมพันธมิตร นายเตียงเดินทางไปรับอาวุธของฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างลับๆ เพื่อเตรียมพร้อมรบ ที่ประจวบคีรีขันธ์ ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรส่งอาวุธและเวชภัณฑ์ ให้กับเสรีไทยอีสาน ตามป่าบนเทือกเขาภูพานหลายครั้ง

แต่การรบยังมิได้เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ เพราะญี่ปุ่นได้ยอมแพ้สงคราม ก่อนที่จะถึงวันดีเดย์ เมื่อ สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดที่ฮิโรชิมา (Hiroshima) เมื่อ 6 สิงหาคม และนางาซากิ (Nagasaki) เมื่อ 9 สิงหาคม ในปี 2488 ระเบิดสูงจากพื้นราว 500 เมตร กระจายกัมมันตภาพรังสีความรังสี 4,000 องศาเซลเซียส ทำให้มีผู้เสียชีวิต กว่า 200,000 คน และ 73,884 คนทั้งสองเมืองตามลำดับ

พลพรรคเสรีไทยจากภูพาน ได้เดินทางปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นที่นครพนม และได้ร่วมเดินทางไปเข้าร่วมงานพิธีสวนสนามที่กรุงเทพฯจากท้องสนามหลวง ผ่านอนุสารีย์ประชาธิปไตย เพื่อแสดงแสนยานุภาพของพลพรรคเสรีไทย ที่ร่วมรบกับทางฝ่ายสัมพันธมิตร

ทำให้มีหลักฐานที่อ้างได้ทำให้ประเทศไทยไม่เป็นประเทศผู้แพ้สงคราม ที่จะต้องจ่ายค่าเสียหายมหาศาลในฐานะผู้แพ้สงคราม รวมไปถึงอาจถูกแบ่งเป็นไทยเหนือ-ไทยใต้ อย่างเกาหลี แม้ทางรัฐบาลทหารของจอมพล ป. จะประกาศสงครามกับประเทศสัมพันธมิตร หรืออยู่ฝ่ายเดียวกับญี่ปุ่นก็ตาม


นายปรีดี ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ได้ประกาศสันติภาพ และถือว่าการประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและอังกฤษในวันที่ 25 มกราคม 2485 เป็นการกระทำอันผิดไปจากเจตจำนงของประชาชนชาวไทย และฝ่าฝืนขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฏหมายบ้านเมือง ถือว่าเป็นโมฆะไม่ผูกพันต่อประชาชนชาวไทย
นาย เตียง ศิริขันธ์ และผู้นำอีสานล้วนมีส่วนสำคัญยิ่งในภารกิจกู้ชาติ ตั้งแต่คราวแรกๆ ที่เป็นผู้นำสำคัญในการต่อต้านญี่ปุ่น ที่เรียกว่า องค์การต่อต้านญี่ปุ่น ก่อนที่จะมีการตั้งขบวนการเสรีไทย แม้ปฏิบัติการของพลพรรคเสรีไทยแห่งเทือกเขาภูพาน จะไม่ได้อะไรตอบแทน แต่สิ่งที่ที่ยิ่งใหญ่ คือ ความภาคภูมิใจที่ได้ตอบแทนคุณของแผ่นดินไทย


ภายหลังประกาศสันติภาพซึ่งนายปรีดีฯได้กระทำในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อวันที่16 สิงหาคม 2488 และต้อง
ใช้เวลาอีกสี่เดือนกว่า ที่รัฐบาลอังกฤษจะลงนามในข้อตกลงยกเลิกสถานะสงครามระหว่างกัน



ที่ทำให้รัฐบาลไทย ต้องแบกภาระ ค่าใช้จ่ายสำหรับ ทหารอังกฤษ และเครือจักรภพจำนวน 17,000 นายที่เข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นจำนวน 120,000 นายในประเทศไทย ซึ่งได้ทำให้ไทยไม่สามารถเข้าเป็นสมาชิกองค์กรสหประชาชาติ ขาดโอกาสได้รับความเชื่อเหลือในการบูรณะฟื้นฟูประเทศ ไม่สามารถใช้เงิน 23 ล้านปอนด์ที่ฝากไว้ในอังกฤษ



นายเตียงยังทำหน้าที่ส.ส.พร้อมแกนนำของพรรคสหชีพ กลุ่มอดีตรัฐมนตรีอิสาน ทั้งในและนอกสภาฯ ได้เป็นรัฐมนตรีอยู่ 3 สมัย 3 รัฐบาล คือรัฐบาลนายทวี บุณยเกตุ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมชและหลวงธำรงค์นาวาสวัสดิ์






แม้ขบวนการเสรีไทยจะจบลงเมื่อญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม แต่การล่าเมืองขึ้น ยังไม่ได้หมดไปจากดินแดนอินโดจีน และอาจมากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะในลาว และเวียดนาม ภายหลังที่ฝรั่งเศส กลับเข้ารุกราน และแสดงตนเป็นเจ้าอาณานิคมอีก ทั้งๆที่เคยหนีหายไปตอนที่ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบก

ดังนั้นอาวุธของเสรีไทย จึงได้ถูกลำเลียงไปสนับสนุนพี่น้องลาว ภายใต้การนำของเจ้าสุภานุวงศ์ และพี่น้องเวียดนาม ภายใต้การนำของโฮจิมินห์ เพื่อภารกิจการสนับสนุนการต่อสู้เพื่อเอกราชให้กับพี่น้องสองฝั่งโขง นายปรีดี ได้มอบหมายภารกิจสำคัญให้นายเตียงสนับสนุนและริเริ่มขบวนการเสรีลาว บริเวณเทือกเขาภูพาน รับคนลาวมาฝึกอาวุธในค่ายเสรีไทย เทือกเขาภูพานภายใต้การดูแลของครูครอง จันดาวงศ์ ส.ส.สกลนคร

รวมไปถึงบนดอนสวรรค์หนองหาร มีทหารขบวนการเวียดมินห์ของโฮจิมินห์มาร่วมฝึก เพื่อไปรบกับฝรั่งเศสด้วย อดีตเสรีไทยอีสานบางส่วน ยังข้ามโขงไปช่วยลาวและเวียดนามในการรบ



ราวกันยายน 2490 มีการตั้ง ขบวนการ สันนิบาตเอเชียอาคเนย์ ( South East Asian League ) ที่กรุงเทพ โดยมีจุดประสงค์ที่แท้จริง เพื่อต่อต้านการกลับมาและร่วมต่อสู้เพื่อเอกราชต่อฝรั่งเศส ให้อินโดจีน มีนายเตียง ศิริขันธ์ เป็นประธาน เจ้าสุภานุวงศ์เป็นเลขาธิการ นายถวิล อุดลเป็นประชาสัมพันธ์ นายเลอฮาย เป็นเหรัญญิก อาจารย์ปรีดีเป็นต้นคิด รับการสนับสนุนจากโฮจิมินห์ และเจ้าเพ็ดชะราช สร้างความไม่พอใจให้ฝรั่งเศสและอเมริกาเป็นอย่างยิ่ง

นายเตียง ได้ให้การช่วยเหลือขบวนการกอบกู้เอกราชของพี่น้องลาว ลาวอิสระ และพี่น้องเวียดนาม เวียดมินห์ ปีละ 5 ล้านบาท มีส่วนสำคัญในการกอบกู้เอกราช ให้พี่น้องอินโดจีน แม้ท่านจะไม่มีโอกาสได้อยู่เห็นวันแห่งชัยชนะของลุงโฮและเจ้าสุภานุวงศ์ ในวันที่สองประเทศเป็นเอกราชในปัจจุบัน ก็ตาม

8 พฤศจิกายน 2490 รัฐบาลสหรัฐฯ และหน่วยข่าวกรองกลาง หรือซีไอเอ ได้สนับสนุนนายทหารกองทัพบกทั้งในและนอกประจำการ เช่น พ.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ พ.อ. สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.อ. ถนอม กิตติขจร พ.ท. ประภาส จารุเสถียร และ ร.อ. สมบูรณ์ (ชาติชาย) ชุณหะวัณ ภายใต้การนำของจอมพล ป.พิบูลสงคราม และพลโทผิน ชุนหะวัน ทำรัฐประหาร ยึด อำนาจรัฐบาลพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ที่มีนายปรีดีเป็นรัฐมนตรีการคลัง คณะรัฐประหารเป็นกลุ่มอำนาจเก่าที่สูญเสียอำนาจภายหลังการภายแพ้สงครามของ ญี่ปุ่น เพื่อกวาดล้างกลุ่มของนายปรีดี รวมไปถึงสมาชิกเสรีไทย

มีการจัดทหารไปจับกุมบุคคลสำคัญของรัฐบาล 3 สาย สายแรกคือทำเนียบท่าช้าง สถานที่พำนักของนายปรีดี อยู่ ริมถนนพระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม ( ปัจจุบันเป็นศูนย์ฝึกอบรมของสำนักงานทรัพย์สินสาวนพระมหากษัตริย์ ) โดยพันโท ก้าน จำนงภูมิเวทให้ทหารยิงปืนประจำรถถังใส่ทำเนียบท่าช้างให้รถวิ่งเข้าทำลาย ประตู ทว่านายปรีดีได้หนีลงเรือไปก่อนแล้ว สายที่สองไปที่บ้านของพลเรือตรีหลวงธำรงที่ถนนราชวิถี ข้างสวนจิตรลดาแต่ไม่พบตัว สายที่สามคือบ้านของพลเรือตรีสังวร สุวรรณชีพ อธิบดีกรมตำรวจ ทว่าได้หลบหนีไปอยู่ในอารักขาของทหารเรือที่บางนา



ฝ่ายทหารออกแถลงการณ์โจมมีรัฐบาลหลวงธำรงค์ ว่า
ไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจและมีการทุจริตคอรัปชั่น จอมพล ป.ผู้นำคณะรัฐประหารได้เปิดเจรจากับนายควง และม.ร.ว.เสนีย์ โดยให้นายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรี
มีคำสั่งยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ 9 พฤษภาคม 2489 ที่ประกาศใช้ในสมัยรัฐบาลปรีดี แล้วบังคับใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว ที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่มหรือฉบับตุ่มแดงซึ่งพลโท หลวงกาจ กาจสงคราม ( เทียน เก่งระดมยิง ) อดีตเสรีไทยที่หันมาโจมตีนายปรีดี เป็นผู้ร่างขึ้นแทน


นาย เตียงได้หลบหนีการจับกุมไปอยู่ภูพาน ฐานที่มั่นเก่าของเสรีไทยเตรียมกำลังเสรีไทยเก่าลงจากเขาภูพานเพื่อตอบโต้ และยึดอำนาจจากกลุ่มเผด็จการทหารให้กับนายปรีดีและคณะ แต่ได้รับการขอร้องจากนายปรีดี เพราะไม่อยากให้คนไทยต้องฆ่ากันเอง

นาย เตียงเคารพนายปรีดี จึงไม่จับอาวุธขึ้นสู้ หลบอยู่บนเทือกเขาภูพานโดยได้รับการช่วยเหลือจากชาวบ้านในสกลนคร ต่อมารัฐบาลได้กล่าวหานายเตียง ว่าเป็นกบฏแบ่งแยกดินแดนอีสาน โดย อ้างการก่อตั้งองค์การสันติบาตอาเชียอาคเนย์ ทั้งๆที่แนวคิดของนายปรีดีต้องการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มประเทศอินโด จีนเพื่อต่อรองกับประเทศตะวันตก นายปรีดีเดินทางไปลี้ภัยที่จีน และฝรั่งเศส

4 มีนาคม 2492 เพื่อนรัฐมนตรีนักต่อสู้จากอีสาน ถูกตำรวจลูกน้องของ พล.ต.อ เผ่า สังหารโหดที่ถนนพหลโยธิน นายเตียง ศิริขันธ์ ลงจากภูพานมอบตัวต่อสู้คดี เพราะทางการใช้วิธีบีบบังคับเพื่อนและผู้เกี่ยวข้องกับท่านก็ถูกจับ ต่อมานายเตียงได้ถูกอุ้มหายสาบสูญไป และถูกฆ่ารัดคอที่เขตพระโขนง โดยศพถูกนำไปเผาและฝัง เมื่อ กลางเดือนธันวาคม 2495 ที่ป่า ต.แก่งเสี้ยน อ.เมือง กาญจนบุรี ขณะมีอายุ 43 ปี พร้อมกับข้อกล่าวหา เป็นกบฎแบ่งแยกดินแดน และ เป็นคอมมิวนิสต์

นี่คือชะตากรรมที่เจ็บปวดของสามัญชน ที่ทำงานเพื่อประเทศชาติและประชาชนได้รับ ของผู้ที่มีคุณูปการแก่สังคมไทยอย่างใหญ่หลวง ทั้งทางด้านการปกครองระบอบประชาธิปไตย การกอบกู้ประเทศชาติในฐานะหัวหน้าขบวนการเสรีไทย เป็นผู้วางแนวคิดการกระจายอำนาจไปสู่ประชาชนระดับล่าง ที่ต้องการให้ทุกๆคนบนพื้นอันเป็นสยามประเทศนี้ เป็นราษฎรเสมอหน้ากันหมด ปราศจากความเหลื่อมล้ำต่ำสูง แต่สุดท้ายก็ถูกป้ายสีให้กลายเป็นผู้ร้ายของสังคม

แม้นายเตียง ศิริขันธ์ และพลพรรคเสรีไทย จะมีคุณูปการต่อประเทศชาติ ต่อสังคมพี่น้องลุ่มแม่น้ำโขง และต่อสกลนคร แต่กลับมิได้มีสิ่งใดๆ ไว้เป็นอนุสรณ์เป็นที่รำลึกถึง แม้กระทั่งประวัติศาสตร์เสรีไทยแห่งเทือกเขาภูพานอันยิ่งใหญ่ ยังเป็นเรื่องที่ต้องปกปิด หลบๆซ่อนๆอย่างกับเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจ น่าเสียใจที่ลูกหลานชาวสกลนคร-อีสานทุกวันนี้ไม่รู้ว่าเตียง ศิริขันธ์ คือใคร ชีวิตนายเตียงลำบากเพื่อคนไทยมามาก ต่อสู้กับเผด็จการต้องพเนจรอยู่ตามป่าเขา อยู่อย่างหลบๆซ่อนๆ เพื่อคนไทยจะไม่ต้องเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติในการต่อต้านญี่ปุ่น

เอาใจใส่ และดูแลพี่น้องร่วมสายโลหิตแห่งอินโดจีน ในยามที่พวกเขาทุกข์ยากเมื่อ ถูกมหาอำนาจกดขี่ ต้องอดอยากบางคราวไม่มีข้าวจะกิน เดินฝ่าสายฝนและสายลมหนาวอันยะเยือก กลางภูพานเพียงลำพัง เพราะโดนข้อกล่าวหา เพื่อกำจัดนักการเมืองที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และคนยากไร้ในแผ่นดิน ต้องซมซานหนีไปตามซอกภูพาน

บั้นปลายสุดท้ายแทนที่คนเหนื่อยยากเพื่อคนไทย และสันติภาพแห่งมนุษยชาติ อย่างนายเตียง ศิริขันธ์ จะได้มีความสุขกับชีวิตและครอบครัวบ้าง กลับถูกอุ้มฆ่ารัดคอ นำไปเผา-ฝัง อย่างโหดเหี้ยมที่สุด และแทนที่วีรกรรมของวีรชนแห่งอีสาน-เทือกเขาภูพาน จะได้รับเกียรติ กลับถูกปิดเงียบและบิดเบือนไปอย่างน่าเสียใจที่สุด



ครูครอง จันดาวงศ์
วีรบุรุษสว่างแดนดิน

เกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2451 ในครอบครัวชาวนามีฐานะ คุ้มวัดศรีษะเกษ ตำบลชาติเชิงชุม อำเภอธาตุเชิงชุม สกลนคร บิดาชื่อนายกี ได้บรรดาศักดิ์เป็นหมื่นศรีภักดี มารดาชื่อ เชียงวัน
ปี 2480 เป็นครูใหญ่ที่โรงเรียนวัดบ้านทรายมูล ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน ร่วมกับกลุ่มครูในจังหวัดสกลนครในปี 2481

ช่วยคุณเตียง ศิริขันธ์ หาเสียงเลือกตั้งได้ชัยชนะ ร่วมกันตั้งโรงเรียนราษฎรมัธยม ตั้งโรงเรียนมัธยมศิริขันธ์ 1 และโรงเรียน มัธยมศิริขันธ์ 2 คุณครองรับเป็นผู้จัดการโรงเรียนศิริขันธ์ 2 โดยไม่คิดค่าตอบแทนใด ๆ

เมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ญี่ปุ่นเข้ายึดครองประเทศไทย กลุ่มผู้รักชาติได้จัดตั้งเป็นขบวนการเสรีไทยเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น คุณเตียง ศิริขันธ์ ได้เป็นหัวหน้าใหญ่เสรีไทยสายอิสาน
คุณครองได้ร่วมขบวนการอย่างแข็งขัน ลาออกจากราชการครู มาทำการค้าขายใช้การค้าบังหน้า ประสานงานให้ขบวนการเสรีไทย ขยายพลพรรค จัดตั้งกองกำลังเสรีไทย ตั้งค่ายฝึกและสร้างสนามบินลับที่สกลนคร จัดหน่วยลำเลียงอาวุธ ช่วยหาข่าวส่งข่าวให้กองบัญชาการเสรีไทยที่ภูพาน จนสงครามโลกยุติลง และขบวนการเสรีไทยยุบตัวลง

คุณครองก็หันมาประกอบอาชีพอิสระเพื่อให้ฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น แต่เกิดการรัฐประหารเดือนพฤศจิกายน 2490 นำโดยพลโทผิน ชุณหะวัณ (บิดา พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ) และรัฐบาลใหม่ มุ่งที่จะจับกุมคุณเตียง ศิริขันธ์ ฐานที่เป็นศัตรูกับรัฐบาล คุณเตียงได้หลบหนีไปอยู่บนภูพาน จนล้มป่วย ในปี 2491 คุณครองไปดูอาการและพาหมอไปรักษา คุณครองพร้อมพวกอีก 15 คน ถูกจับกุมในเดือนมีนาคม 2491 เพื่อบีบให้คุณเตียงมอบตัว คุณเตียงจึงยอมมอบตัว และทั้งหมดก็ถูกดำเนินคดีในข้อหากบฏแบ่งแยกดินแดนอิสาน

คดี ถูกฟ้องร้องที่ศาลอาญากรุงเทพฯ โดยอ้างว่าจำเลยเป็นผู้มีอิทธิพล ทำให้ผู้ต้องหาทุกคนลำบากมาก ต้องเดินทางขึ้นลงเพื่อไปขึ้นศาลอาญา จนถึงปี 2494 ศาลก็ยกฟ้อง หลัง จากพ้นข้อหาไม่นานคุณครองได้ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาจังหวัดเขตสว่างแดนดิน และได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น ในปี 2495 สมัยเดียวกันคุณทองพันธ์ สุทธิมาศ ก็ชนะการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดเขตอำเภอวานรนิวาสเช่นกัน


คุณครองได้ต่อสู้เพื่อสิทธิประโยชน์ของชาวนาชาวไร่ และการเคลื่อนไหวสันติภาพ
คัดค้านจักรพรรดินิยมอเมริกา ที่ก่อสงครามในเกาหลี คัดค้านรัฐบาลไทยที่ส่งทหารไทยไปสู้รบร่วมกับสหรัฐในเกาหลี เป็นตัวแทนชาวนาชาวไร่จากสกลนคร เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการสันติภาพ ในเดือนสิงหาคม 2495 ที่กรุงเทพ
เดือนพฤศจิกายน 2495 รัฐบาลกวาดล้างจับกุมคณะสันติภาพทั้งหมด คุณครองจึงถูกจับเป็นครั้งที่สอง ในข้อหากบฏสันติภาพ และต่อมารัฐบาลก็ได้ออกกฏหมาย ว่าด้วยการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ และ ฟ้องคณะกบฏสันติภาพในข้อหาคอมมิวนิสต์ ศาลตัดสินจำคุกจำเลย 38 คนคนละ 13 ปี 8 เดือน ทั้งหมดได้รับการนิรโทษกรรมในปี 2500 ในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษของรัฐบาล
รัฐบาลจอมพล ป. ถูกโค่นโดยจอมพลสฤษดิ์ ในเดือนกันยายน 2500 มีการยุบสภา และเลือกตั้งใหม่ในเดือนธันวาคม2500 คุณครอง จันดาวงศ์ ชนะการเลือกตั้งเป็นสส.สกลนคร พรรคแนวร่วมเศรษฐกร

สภาชุดนี้อยู่ได้เพียง 10 เดือน จอมพลสฤษดิ์ ก็ก่อการรัฐประหารครั้งที่สอง ในวันที่ 20 ตุลาคม 2501 คราวนี้จอมพลสฤษดิ์ขึ้นครองอำนาจเอง สถาปนาระบอบเผด็จการเต็มรูปแบบ ยกเลิกระบอบรัฐสภาและการเลือกตั้ง ใช้ธรรมนูญปกครอง เพียง20 มาตรา จากนั้นได้กวาดล้างปราบปรามนักหนังสือพิมพ์และนักการเมืองฝ่ายค้าน คุณครองต้องกลับมาประกอบอาชีพเกษตรกรและค้าขายที่สกลนคร และทำงานร่วมกับประชาชนโดยมีจุดมุ่งหมายจัดตั้งให้ชาวนาชาวไร่รวมตัวกัน เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ปลายปี 2503 รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการปราบปรามอย่างหนัก จนครูครองและเพื่อนครูถูกล่าหนีหัวซุกหัวซุน ไปลี้ภัยอยู่ที่ภูพานชั่วคราว ก่อนจะแอบกลับมาบ้านในวันที่ 4 พฤษภาคม 2504 เพื่อเตรียมสัมภาระไปอยู่บนภู ระหว่างรอเพื่อน ครูครองก็ถูกจับกุมอีกครั้ง ในข้อหากบฏต่อความมั่นคง มีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พร้อมกับผู้ถูกจับกุมคนอื่นๆรวม 108 คน ถูกนำตัวมาสอบสวนที่กรุงเทพฯกว่า 20 วัน และถูกตัดสินประหารชีวิต ด้วยมาตรา 17 โดยไม่มีการไต่สวนพิจารณาคดีแต่อย่างใด คุณครองถูกประหารชีวิต พร้อมกับคุณทองพันธุ์ สุทธิมาศ ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2504

ที่ อ.สว่างแดนดิน ตำรวจนำตัว นายครอง จันดาวงศ์ กับพรรคพวกที่ถูกจับกุมในข้อหาเดียวกัน ไปยังสนามบิน อำเภอสว่างแดนดิน ซึ่งใช้เป็นแดนประหาร เขาไม่มีกิริยาสะทกสะท้าน กลับเดินเข้าสู่แดนประหารอย่างองอาจ ยิ้มเยาะและไม่แยแสต่อคำสั่งเผด็จการ แม้กระทั่งหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นกระบอกเสียงของรัฐบาลฉบับหนึ่ง ก็ยังยอมรับว่า "เมื่อเจ้าหน้าที่นำตัวนายครองและนายทองพันธ์เข้าสู่ที่ประหารนั้น ปรากฏว่าเดินไปอย่างทรนง ไม่หวาดหวั่นแต่อย่างใด โดยเฉพาะนายครองนั้น ยังคงยิ้มอยู่เช่นเดิม"

ในการประหารนายครองที่สนามบินนั้นทางการสฤษดิ์ได้ปกปิดข่าวอย่างมิดชิด แม้แต่ภรรยา ครอบครัวของครูครองก็ไม่รู้ข่าว ว่าเสาหลักของครอบครัวกำลังจะถูกประหาร และยังห้ามประชาชนเข้ามาในบริเวณสนามบิน รัฐบาลได้ระดมกำลังทหารกว่า 200 คน กับตำรวจอีกไม่น้อย ยืนล้อมรอบสนามบินราวกับจะเตรียมรับศึกใหญ่

คุณครองได้กล่าวต่อหน้าจอมเผด็จการสฤษดิ์ อย่างอาจหาญชาญชัยว่า "ผมรู้ดีว่าท่านต้องยิงเป้าผมแน่ แต่อย่าคิดว่าผมกลัวนะ ยิงเดี๋ยวนี้เลยก็ได้ ที่ผมกลัวน่ะ ไม่ใช่กลัวจะถูกยิงเป้า แต่กลัวว่าท่านจะหนีไปได้ เมื่อประชาชนลุกขึ้นมา ผมภาวนาขออย่าให้ท่านหนีไปได้ ขอให้ประชาชนเอาเลือดของท่านล้างตีนให้ได้"

11.30 น. ณ ลานประหาร หลังจากกินข้าวและดื่มน้ำมื้อสุดท้ายด้วยอาการสงบ ครูครอง จันดาวงศ์ และทองพันธ์ สุทธิมาศ ก็ถูกนำตัวเข้าหลักประหาร ใช้ผ้าปิดตาเรียบร้อย มีการอ่านคำตัดสินตามมาตรา 17 ของรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ครูครองได้เปล่งคำขวัญ เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ จบประโยคเสียงปืนกลยิงรัว 90 นัด เวลา 12.13 น. ครูครอง จันดาวงศ์ ก็เสียชีวิตด้วยอายุ 54 ปี ในขณะที่เวทีประหารดำเนินไป คุณแตงอ่อนคู่ชีวิตครูครองกำลังทำนาอยู่ เธอไม่ได้รู้ตัวล่วงหน้ามาก่อน เมื่อมีคนไปแจ้งให้ทราบจึงรีบวิ่งมายังหลักประหาร พบเพียงร่างที่แหลกเละด้วยคมกระสุนปืน เลือดไหลนองพื้นดิน ท่ามกลางผู้คนที่ยืนมุงดูอยู่ห่างๆ ท่าทางหวาดผวาระคนตื่นกลัว ไม่มีใครกล้าเข้าไปช่วยจัดการกับร่างไร้วิญญาณที่ทอดร่างอยู่ ณ ลานกว้างนั้น เพราะกลัวจะถูกดึงเข้าไปพัวพันนำภัยมาถึงตัว แม้กระทั่งพ่อค้าโลงศพหลายรายยังปฏิเสธที่จะขายโลงให้

ปลายปี 2504 จิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งขณะนั้นอยู่ในคุก ได้อาศัยความรู้สึกประทับใจในการต่อสู้ของคุณครอง จันดาวงศ์ แต่งเพลงวีรชนปฏิวัติ เพื่อรำลึกถึงบทบาทของคุณครองโดยตรง
ครูครอง เป็น ครู นักการเมือง และนักต่อสู้ของประชาชน ผู้ยืนหยัดคัดค้านเผด็จการ คัดค้านการขายชาติให้จักรพรรดินิยม แม้กระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต โดยที่มือยังอยู่ในกุญแจและขายังอยู่ในตรวน ก็มิได้หวั่นไหว

ประเทศ ไทยได้มีวีรชนนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยหลายคนที่ต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและผลประโยชน์ของชาติและประชาชนอย่างเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ แต่พวกเขาก็ถูกพวกเผด็จการขุนศึกที่สนับสนุนโดยรัฐบาลสหรัฐในยุคสงครามเย็น พร้อมทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่รวมกันเป็นพันธมิตรที่เหนียวแน่น ในการกำจัด และประหัตประหารนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชนมาโดยตลอด 

 ฟังเสียงพร้อมเพลงประกอบ : http://www.4shared.com/mp3/Gez7INfD/The_Royal_Legend_029_.html  
หรือที่  :  
http://www.mediafire.com/?109fpjmxr8ipbsm      

..................

รายงานการจับกุม
นายครอง จันดาวงศ์


จอมพลสฤษดิ์เสนอรายงานของกรมตำรวจต่อคณะรัฐมนตรีว่า ได้จับกุม นายครอง จันดาวงศ์ ที่อำเภอสว่างแดนดิน สกลนคร เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2504 พร้อมด้วย นายทองพันธุ์ สุทธิมาศ และ สมัครพรรคพวกอีกรวม 108 คน ให้การรับสารภาพ 48 คน มีผู้มามอบตัว และสารภาพเพิ่มอีก 6 คน เจ้าหน้าที่สอบสวนทั้งสิ้น 95 คน ผลการสอบสวน กรมตำรวจสรุปว่า

1.ภายหลังที่ ร.อ.กองแล ยึด อำนาจในราชอาณาจักรลาว เมื่อเดือนสิงหาคม 2503 เป็นต้นมา นายครอง จันดาวงศ์ ได้ชักชวนให้คนเลื่อมใสในลัทธิคอมมิวนิสต์ ก่อตั้งสมาคมลับ ให้ชื่อว่าสามัคคีธรรม จัดแยกคนที่เข้ามาเป็นสมัครพรรคพวก ออกทำหน้าที่หาพรรคพวกต่อไป เรียกเก็บเงินจากผู้ที่เข้าเป็นสมาชิก อบรมชี้แจงให้สมัครพรรคพวกเข้าใจว่า ลัทธิคอมมิวนิสต์จะ สามารถนำความสุขสมบูรณ์มาให้แก่ประชาชน ประเทศคอมมิวนิสต์จะให้ความช่วยเหลือ ตั้งโรงงานให้คนมีงานทำ และบำรุงความเจริญด้วยประการต่างๆ

2.นายครอง จันดาวงศ์ กับ นายทองพันธ์ สุทธิมาศ ได้เรียกประชุมพรรคพวก มีการประชุมกันถึง 21 ครั้งในที่ต่างๆ กัน และใช้ดงผาลาด ในเขตจังหวัดสกลนครกับหนองคายติดต่อกัน เป็นที่ประชุม และฝึกสอนการใช้อาวุธยุทธภัณฑ์ ในการประชุมอบรมพรรคพวกนี้ นายครอง จันดาวงศ์ ได้แสดงแผนการร้าย ทั้งแก่ประเทศชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์


เกี่ยวกับประเทศ นายครอง จันดาวงศ์ ได้แสดงแผนการล้มล้างรัฐบาล โดยกำหนดเอาเดือนมิถุนายน 2504 นี้ เป็นเวลากระทำการ เพราะคาดหมายว่าขบวนการประเทศลาวจะ สามารถยึดลาวได้ทั้งประเทศ และจะส่งกำลังอาวุธมาให้ จึงจะเริ่มต้นด้วย ยึดสถานีตำรวจสว่างแดนดิน และในเขตอำเภออื่นๆ ซึ่งพลเรือนที่เป็นชาวญวนจะให้ความร่วมมือด้วย และจะมีกำลังต่างชาติเข้ามาช่วยให้การยึดอำนาจในประเทศไทย หรืออย่างน้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งภาค เป็นผลสำเร็จ แล้วก็จะเอาดินแดนที่ยึดได้ ไปรวมกับประเทศลาว ภายใต้การปกครองของระบอบคอมมิวนิสต์

เกี่ยวกับชาติ นายครอง จันดาวงศ์ ได้ตั้งเป็นภาษิตว่า "ลาวเป็นลาว" และอบรมพรรคพวกของตนว่า ดินแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือนี้ แต่ก่อนเคยเป็นประเทศลาวอิสระ แต่ไทยเข้ามายึดครองและกดขี่ข่มเหงชาวลาว นายครอง จันดาวงศ์ จึงเรียกร้องให้ชาวลาวกอบกู้อิสรภาพของตน ซึ่งเป็นวิธีการของคอมมิวนิสต์ ที่ชอบเผยแพร่ลัทธินี้ด้วยวิธีที่เรียกว่า ปลดแอก
เกี่ยวกับศาสนา นายครอง จันดาวงศ์ ได้ประณามพระภิกษุ สามเณรในพระพุทธศาสนาว่า เป็นบุคคลที่ไม่ทำประโยชน์อะไร และแสดงแผนการว่า เมื่อได้ปกครองโดยลัทธิคอมมิวนิสต์แล้ว ก็จะเอาพระภิกษุสามเณรมาบังคับใช้แรงงาน

เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ นายครอง จันดาวงศ์ ได้ใช้วิธีอบรมพรรคพวก ด้วยการลบหลู่พระบรมเดชานุภาพอย่างแรงร้าย ปั้นเรื่องที่ไม่มีมูลความจริงขึ้นมากล่าวร้ายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และแสดงแผนการว่า เมื่อลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ามาครอบครองประเทศไทยได้ทั้งหมดแล้ว ก็จะเอาพระมหากษัตริย์มาบังคับใช้แรงงานเช่นเดียวกัน
3.ส่วน นายทองพันธ์ สุทธิมาศ นั้น ได้เป็นกำลังช่วยเหลือ นายครอง จันดาวงศ์ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองหัวหน้า อนึ่ง เพื่อให้บรรลุความสำเร็จตามแผนการที่กล่าวข้างต้นนายครอง จันดาวงศ์ และ นายทองพันธุ์ สุทธิมาศ ได้ดำเนินการบ่อนทำลาย โดยจัดแบ่งพรรคพวกออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งทำการเผยแพร่ อีกส่วนหนึ่งทำหน้าที่ปฏิบัติ คือทำโจรกรรม ลักทรัพย์ โดย เฉพาะอย่างยิ่งสัตว์พาหนะ ชิงทรัพย์ และปล้นสะดม แสดงให้คนเข้าใจว่า บัดนี้ทางบ้านเมืองไม่สามารถจะให้ความคุ้มครองแก่ราษฎรได้ แต่ผู้ใดมาเข้าเป็นพรรคพวกของ นายครอง จันดาวงศ์ และนายทองพันธุ์ สุทธิมาศ ผู้นั้นก็จะรอดโจรภัยต่างๆ ด้วยเหตุนี้ จึงมีการโจรกรรมมากยิ่งขึ้น ในจังหวัดต่างๆ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีคนเป็นอันมากได้เข้าเป็นสมัครพรรคพวกของบุคคลทั้งสองนี้ ด้วยความกลัวโจรภัย

การกระทำของ นายครอง จันดาวงศ์ กับ นายทองพันธุ์ สุทธิมาศ ดังกล่าว เป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร และราชบัลลังก์ คุกคามความสงบของประเทศชาติอย่างร้ายแรง เป็นการกบฏทรยศต่อประเทศชาติ เข้าข่ายมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร



ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเห็นสมควรใช้อำนาจตามมาตรา 17 นั้น สั่งการประหารชีวิต นายครอง จันดาวงศ์ กับ นายทองพันธุ์ สุทธิมาศ โดยมิต้องนำตัวขึ้นฟ้องร้องยังโรงศาล เพื่อรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของราชอาณาจักรและราชบัลลังก์ ทั้งเพื่อให้เป็นตัวอย่าง ป้องกันการกระทำผิดชนิดนี้ต่อไปภายหน้า และขอมติคณะรัฐมนตรีตามความในมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร เพื่อสั่งการตามที่กล่าวแล้วนี้ต่อไป..จอม พลสฤษดิ์ได้นำเรื่องการสั่งประหารชีวิตนายครอง จันดาวงศ์และนายทองพันธุ์ สุทธิมาศ เสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพียงครั้งเดียว ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2504
...............


วันรุ่งขึ้นหลังการประหารชีวิตนายครอง จันดาวงศ์และนายทองพันธ์ สุทธิมาศ จอมพลสฤษดิ์ได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลในหลวง ถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิเคราะห์สาเหตุที่ภาคอีสานเกิดขบวนการกบฏและแบ่งแยกดินแดนบ่อยกว่าภาคอื่น..
สำนักนายกรัฐมนตรี
1 มิถุนายน 2504
ขอพระราชทานกราบบังคมทูลพระกรุณา ทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท

ข้า พระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส กราบบังคมทูลกรุณา เพื่อทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แห่งพระราชอาณาจักร โดยมีบุคคลตระเตรียม และดำเนินการบ่อนทำลายความมั่งคง ของราชอาณาจักร และราชบัลลังก์ ก่อกวนความสงบ มีแผนการอันเลวร้าย ถึงขนาดที่จะเอาภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปรวมกับลาว ภายใต้การปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ เจ้าหน้าที่ได้ติดตามเหตุการณ์อย่างใกล้ชิดตลอดมา และจับกุมผู้ก่อการร้ายได้เป็นจำนวนมาก
ได้ทำการสอบสวนจนเป็นที่แน่ชัด ปราศจากข้อสงสัย เห็นสมควร และจำเป็นที่จะต้องดำเนินการอย่างเฉียบขาด เพื่อป้องกันภัยของประเทศชาติ และเพื่อเป็นตัวอย่าง ยับยั้งการกระทำผิดคิดร้ายในทำนองนี้ต่อไปภายหน้า ข้าพระพุทธเจ้า ด้วยความสนับสนุนของมติคณะรัฐมนตรีเป็นเอกฉันท์ ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญปกครองราชอาณาจักร สั่งประหารชีวิต นายครอง จันดาวงศ์ หัวหน้าผู้ก่อการร้าย กับ นายทองพันธ์ สุทธิมาศ รองหัวหน้า และเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ เสร็จสิ้นไปแล้ว ที่อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2504 ส่วนผู้ต้องหาอื่นๆ ก็จะได้จัดการฟ้องร้องให้พิจารณาในศาลทหารตามวิธีการในระยะเวลาที่ประกาศใน กฎอัยการศึกต่อไป

ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานกราบทูลว่า การวินิจฉัยตัดสินใจสั่งประหารชีวิตบุคคลทั้งสองที่กล่าวนั้น มิได้กระทำอย่างรีบด่วน แต่ ได้กระทำภายหลังที่ได้พิจารณาแล้วโดยรอบคอบและเที่ยงธรรม ฟังคำพยานและคำสารภาพที่ให้การโดยสมัครใจแล้วถึง 95 ปาก ดังแจ้งอยู่ในคำแถลงของรัฐบาลแก่ประชาชน ซึ่งได้ประกาศในคืนวันที่ 31 พฤษภาคม และสำเนาคำสั่งให้ประหารชีวิต ซึ่งข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานกราบบังคมทูลเกล้าฯ ถวายมาพร้อมกับรายงานกราบบังคมทูลนี้ด้วย

เป็นที่ทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทอยู่แล้ว เหตุการณ์กบฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนี้ ได้มีมาหลายครั้งหลายหน ทั้งในประวัติศาสตร์และในยุคสมัยใหม่ เช่น เรื่องกบฏเจ้าอนุเวียงจันทน์ เรื่องผีบุญต่างๆ ในกาลก่อน ในชั้นหลังนี้ ก็มีเรื่อง นายเตียง ศิริขันธ์ เรื่อง นายศิลา วงศ์สิน และโดยเฉพาะตัว นายครอง จันดาวงศ์ ที่ถูกประหารชีวิตครั้งนี้ ก็เคยต้องคำพิพากษาฐานกบฏ ศาลลงโทษอย่างหนักถึงจำคุก 13 ปี กับ 5 เดือน ที่เป็นเช่นนี้ ด้วยเหตุหลายประการ เช่น

1. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือแห่งราชอาณาจักร เป็นภาคที่มีพลเมืองหนาแน่น จังหวัดโดยมากมีพลเมืองตั้งครึ่งล้าน บางจังหวัดมากกว่า 1 ล้าน แต่ละอำเภอมีพลเมืองตั้ง 4 หรือ 5 หมื่น จำนวนคนเกิด ก็เพิ่มทวีรวดเร็วกว่าในภาคอื่น อันที่จริง ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็มีภาษาและขนบประเพณีเช่นเดียวกับภาคเหนือ แต่ดินแดนทางภาคเหนืออุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากร ประชาชนมีทางทำมาหาเลี้ยงชีพมาก ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น การทำมาหากินแร้นแค้นกว่า
2. ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่เคยประสบการรุกรานสู้รบอย่างรุนแรงใน ประวัติศาสตร์เหมือนภาคอื่นๆ ในสมัยที่ประชาชนในภาคเหนือ ภาคกลาง ตลอดถึงภาคใต้ ต้องร่วมเป็นร่วมตายกัน ทำการต่อสู้อย่างฉกาจฉกรรจ์ เพื่อต่อต้านการรุกรานของพม่าในอดีต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รอดพ้นยุทธภัยอันนี้ ตลอดมา

ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่ได้มีโอกาสที่จะร่วมเป็นร่วมตายกับพี่น้องชาวไทยทั้งหลาย เพื่อประเทศชาติ เหมือนภาคอื่นๆ นิสัยเข้มแข็ง ความเป็นนักสู้ ความรักประเทศชาติ และความรู้สึกกลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในชาติไทย จึงย่อหย่อนกว่าประชาชนในภาคอื่น มีความขวนขวายน้อย พอใจในชีวิตที่ผ่านไปเป็นวันๆ ในลักษณะของประชาชนที่เป็นเช่นนี้ ย่อมตกเป็นเหยื่อของการปลุกปั่นชักจูงไปในทางที่ผิดได้ง่าย

3. ดินแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นจุดล่อแหลมต่อภัยคอมมิวนิสต์มากที่สุด เนื่องจากว่าคอมมิวนิสต์ที่ลี้ภัย ในสมัยที่อินโดจีน ต้องสู้รบกับฝรั่งเศสนั้น พากันเข้ามาพำนักอาศัย นายโฮจิมินห์เองก็ได้มาพักพิงอยู่ในแถวถิ่นนี้ เป็นเวลานาน การเผยแพร่อบรมในลัทธิคอมมิวนิสต์ จึงได้เริ่มฝังรกรากอยู่ไม่น้อย ในบรรดาคนที่เป็นผู้ต้องหาครั้งนี้ บางคนที่ปรากฏว่ามีการศึกษาทั่วไปเพียงเล็กน้อย ยังสามารถพูดถึงเรื่องวิภาษวิธี (ทฤษฎีว่าด้วยความขัดแย้ง) ในลัทธิคอมมิวนิสต์ ด้วยเหตุนี้ ข้าพระพุทธเจ้าจึงหวาดเกรงอยู่เสมอมาว่า ถ้าราชอาณาจักรลาวตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของคอมมิวนิสต์อย่างแท้จริงแล้ว การที่คอมมิวนิสต์จะแทรกซึมเข้ามาในดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นจะเป็นเรื่องที่ป้องกันได้ยากที่สุด

4. เผอิญคนพวกหนึ่ง ซึ่งร่วมภาษา ร่วมขนบประเพณี และเกี่ยวพันทางสายโลหิตอย่างใกล้ชิด กับประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจำนวนเพียง 2 ล้าน ไม่ถึง 1 ใน 4 ของจำนวนพลเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้มีโอกาสเป็นราชอาณาจักร มีพระมหากษัตริย์ มีรัฐบาล มีการปกครองเป็นอิสระ เรียกว่าราชอาณาจักรลาวก็ย่อมเป็นช่องทางให้ผู้คิดร้ายจูงใจให้เห็นว่า คน เพียง 2 ล้านเท่านั้น ยังเป็นอาณาจักรอิสระได้ พลเมืองลักษณะอย่างเดียวกันถึง 9 ล้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำไมจึงไม่คิดเป็นราชอาณาจักรขึ้นบ้าง หรือรวมกันกับราชอาณาจักรลาว ด้วยเหตุนี้ความคิดเรื่องแบ่งแยกดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึง มิใช่ของใหม่ แต่เป็นความคิดที่มีอยู่เสมอมา ส่วนทางดินแดนภาคเหนือ คือ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน ไม่มีเรื่องชนิดนี้

พฤติการณ์ทั้งหลายที่กล่าวข้างต้นนี้ รัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวข้าพระพุทธเจ้าเอง ได้ให้ความสนใจในการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพิเศษ อันที่จริงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับการทำนุบำรุงมาแล้วไม่น้อยกว่าภาคอื่น ถ้าจะนับปริมาณถนนหนทางที่สร้างให้ก็มากกว่าภาคอื่น ในสมัยที่มีผู้แทนราษฎร พวกผู้แทนชาวตะวันออกเฉียงเหนือ หรือที่เรียกว่า ชาวอีสาน ก็มีอิทธิพลยิ่งกว่าผู้แทนภาคใดๆ และได้เงินทองที่อ้างว่าจะเอาบำรุงภาคอีสานก็เป็นจำนวนมาก

มาถึงรัฐบาลปัจจุบันนี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้ตระหนักในความสำคัญ และความล่อแหลมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงกับเดินทางไปตรวจทุกปี บางปีก็หลายครั้ง ข้าพระพุทธเจ้าได้จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาภาคอีสานขึ้น เป็นพิเศษ โดยข้าพระพุทธเจ้าเป็นประธานเอง การสร้างถนนหนทางได้เร่งรัดมากขึ้น งานชลประทานได้ทำมากขึ้น ถึงกับมีโครงการสร้างเขื่อน สร้างแหล่งกำเนิดไฟฟ้าด้วยแรงน้ำ ซึ่งบางแห่งก็หาเงินกู้ได้แล้วและกำลังดำเนินงานอยู่ภายใต้ความควบคุมเร่ง รัดของข้าพระพุทธเจ้าเอง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กระทำให้ข้าพระพุทธเจ้าแน่ใจยิ่งขึ้นว่า รัฐบาลจะต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ แก่ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่เสมอไป และความสนใจอันนี้จะต้องกระทำเป็น 2 ทาง คือ


(1) นโยบายภายนอกจะต้องทำความพยายามอย่างสุดความสามารถ ที่จะ
มิให้ราชอาณาจักรลาวตกอยู่ในความครอบงำของคอมมิวนิสต์
(2) นโยบายภายใน จะต้องดำเนินการอย่างเข้มงวดกวดขัน  ทั้งในการปราบปราม และในการบำรุงโดยเฉพาะเรื่องการคมนาคม นอกจากจะต้องขะมักเขม้นให้มีถนนหนทางมากขึ้นแล้ว เวลานี้กำลังสร้างสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ขอนแก่น เพื่อดำเนินงานสงครามจิตวิทยาให้มีสมรรถภาพยิ่งขึ้น ส่วนชาวญวนอพยพที่เป็นเชื้อคอมมิวนิสต์อยู่ในดินแดนภาคนี้ ก็จะได้ขนอพยพออกไปให้มากที่สุดที่จะทำได้
ข้า พระพุทธเจ้าหวังด้วยเกล้าฯ ว่า ด้วยเดชะพระบารมีและด้วยความซื่อสัตย์จงรักภักดีของข้าพระพุทธเจ้า ต่อประเทศชาติ ต่อพระศาสนา และในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท รัฐบาลนี้จะสามารถปราบปราม และแก้ไขสถานการณ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ดีขึ้นโดยลำดับ

โดยเฉพาะคนทั้งสองที่ข้าพระพุทธเจ้าสั่งประหารชีวิตไปแล้วนี้ เป็นคนที่สมควรจะได้รับโทษฐานหนักที่สุด ไม่มีเหตุผลอันใดที่จะให้อภัย หรือถือว่าเป็นการเมือง เพราะการกระทำของคนทั้งสองนี้ มิใช่การกระทำของนักการเมือง แต่เป็นการกบฏทรยศขายชาติ ขายประเทศ เป็นกรณีที่บ่อนทำลายราชบัลลังก์อย่างร้ายแรงที่สุด ที่ไม่เคยมีใครทำมาแต่ก่อน

เพราะนอกจากจะโฆษณาชวนให้คนเชื่อไปในทางที่ว่าพระมหากษัตริย์ไม่มีประโยชน์แล้ว ยังพยายามทำลายพระเกียรติคุณ โดยโฆษณาว่า พระมหากษัตริย์ทรง [...] ร้ายยิ่งกว่านั้น ซึ่งข้าพระพุทธเจ้าไม่น่าจะกราบบังคมทูลพระกรุณา แต่เห็นด้วยเกล้ากระหม่อมว่า ควรจะกราบบังคมทูลด้วยความจงรักภักดี เพื่อให้ทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า คนพวกนี้ได้จงจิตคิดร้ายต่อราชบัลลังก์เพียง ไร พยานกว่า 10 ปากให้การตรงกันว่า นายครอง จันดาวงศ์ ได้กล่าวในการอบรมพรรคพวกของตนหลายครั้งหลายหนว่า ทั้งใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ [...] คนที่ทุจริตประทุษร้ายราชบัลลังก์ถึงขนาดนี้ ไม่ควรจะให้มีชีวิตอยู่ในแผ่นดินไทยต่อไปเลย
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า จอมพล ส. ธนะรัชต์
นายกรัฐมนตรี

รวม วงษ์พันธ์

เกิดในครอบครัวชาวนา เมื่อ1 เมษายน 2465 ที่ ต.มะขามล้ม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี บิดาชื่ออยู่ มารดาชื่อไร เป็นเด็กฉลาดสอบเลื่อนชั้นจากมัธยม 1 ข้ามไปเรียนชั้นมัธยม 3 ต่อชั้นมัธยม 5-6 ที่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ต่อที่พาณิชยการพระนครอีก 2 ปี สมัครเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ทางบ้านไม่มีเงินพอจะส่งเสียได้ จึงไปทำงานเป็นครูใหญ่โรงเรียนฉี่กวง (สว่างวิทยา) ย่านผ่านฟ้า ในช่วงปี 2485 - 2486 ที่กระแสความคิดฝ่ายก้าวหน้ากำลังแพร่สะพัด ได้เข้าร่วมเคลื่อนไหวต่อต้านเผด็จการทหาร แต่งงานกับคุณประดิษฐ์ สุทธิจิต ในปี 2492 ไม่ถึงเดือน ก็ได้รับคำสั่งจากให้ไปศึกษาต่อที่จีน ครั้งแรกกำหนดเพียงปีเดียว แต่ได้เดินทางไปทำงานต่อในเขตสิบสองปันนา อีก 8 ปี ต่อมาจึงได้เดินทางกลับประเทศไทยในปี 2500 เป็นยุคที่ จอมพล สฤษดิ์ ได้ขึ้นมามีอำนาจแล้ว
รวม วงษ์พันธ์ ได้รับเลือกเป็น กรรมการกลาง พรรค รับผิดชอบเขตงานภาคกลาง จัด ตั้งกลุ่มชาวนาในจังหวัดสุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรีและกาญจนบุรี ได้เริ่มงานเคลื่อนไหวปฏิวัติทันทีที่กลับถึงไทย โดยเดินทางกลับสุพรรณบุรีบ้านเกิด เพื่อจัดตั้งชาวนาอย่างรวดเร็วในหลาย ท้องที่จนรัฐบาลเผด็จการสฤษดิ์ตกใจกลัว และเริ่มลงมือปราบปราบอย่างหนัก

ในปี 2504 ครูครอง จันดาวงศ์ ก็ถูกจับและถูกประหารชีวิตที่ จ.สกลนคร มีการกวาดล้างจับกุมครั้งใหญ่ ทั้ง นักศึกษา ปัญญาชน นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ คุณรวมก็ตกเป็นเป้าการตามล่า ก่อนที่เขาจะถูกจับและถูกประหารชีวิต ทางพรรคฯได้ส่งจดหมายแนะให้รีบถอนตัวออกจากเขตงานโดยเร็ว แต่คุณรวมตอบกลับไปว่า เขายินดีจะปฏิบัติตาม แต่ขอมอบหมายงานให้เรียบร้อยก่อน หาไม่ผู้มาสานงานต่อจะมีปัญหา
22 กุมภาพันธ์ 2505 รวม วงษ์พันธ์ ตั้งใจจะเดินทางเข้าสุพรรณบุรีเป็นรอบสุดท้าย เพื่อเตรียมการประชุมมอบหมายงาน การเดินทางของเขา เสียลับ เพราะมีคนทรยศคอยรายงานความเคลื่อนไหว ให้ตำรวจที่ยกกำลังเข้าล้อมจับที่สุพรรณบุรี แม้เขาจะไหวทันและหลบเอาตัวรอดออกมาได้ในคืนนั้น แต่ในตอนเที่ยงวันรุ่งขึ้นก็ถูกจับได้ แต่เขามิได้วิตก เมื่อหลานสาวไปเยี่ยม เขาก็ยังยิ้มอย่างอารมณ์ดี กล่าวแต่เพียงว่า ขอให้เรียนให้ดี ๆ

สอง เดือนที่คุมขัง ไม่อาจรีดความลับอะไรออกไปจากคุณรวมได้ก่อนถูกประหาร 2 วัน เผด็จการสฤษดิ์เสนอเงินรางวัลให้นับแสนบาท เพื่อให้ทรยศต่ออุดมการณ์ แต่ถูกปฏิเสธและถูกตอบโต้กลับ ว่า"ถึงแม้ผมจะถูกจับข้อหาคอมมิวนิสต์ แต่ผมก็ทำเพื่อประชาชนคนยากจน แต่ท่านกลับไปรับใช้จักรวรรดินิยมอเมริกาปล้นบ้านเมือง " จอมพลสฤษดิ์โกรธแค้นมาก จึงสั่งให้รีบประหารโดยเร็ว ณ เรือจำบางขวาง จังหวัดนนทบุรี และในวันที่ 24 เมษายน 2505

เขาจึงถูกประหารชีวิต ด้วยหวังกันว่าอย่างน้อยก็เป็นการขุดรากถอนโคนครั้งสำคัญ และยังเป็นการข่มขวัญแก่ผู้ที่ยังอยู่ข้างหลัง
เวลา 18.00 น. ของวันที่ 24 เมษายน 2505 รวม วงษ์พันธ์ ก็เดินเข้าสู่หลักประหารบริเวณคุกบางขวาง ด้วยท่าทีเด็ดเดี่ยวและไม่สะทกสะท้านต่อ ความตายที่กำลังทอดรออยู่เบื้องหน้า ก่อนที่เพชฌฆาตผูกตา มัดขา และมัดมือกับหลักประหาร รวม วงษ์พันธ์ ยังพูดคุยตั้งคำถามกับเพชฌฆาตอย่างหนักแน่นและใจเย็น

"เชื่อมั้ยว่า คนที่กำลังจะตายจะพูดแต่ความจริง"
เพชฌฆาตผงกหน้าตอบว่า "เชื่อ"
ถ้า งั้นคุณรับรู้ไว้เถิดว่าผมพูดความจริง คอมมิวนิสต์เป็นคนดี เขาทำเพื่อประเทศชาติเพื่อประชาชนที่ถูกกดขี่ ก่อนผมจะถูกยิงขอทำหน้าที่เป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่คุณจะปฏิบัติหน้าที่ของ คุณ ผมอโหสิกรรมให้คุณ ให้ผมพูดจบก่อนแล้วค่อยยิงผม ลาก่อนครับ แล้วตะโกนดังลั่นว่า “จักรพรรดินิยมอเมริกาจงพินาศ เผด็จการสฤษดิ์จงพินาศ ประชาชนไทยจงเจริญ พรรคคอมมิวนิสต์จงเจริญ "

(สำเนา) คำสั่งให้ประหารชีวิต
นายรวม วงษ์พันธ์

โดยมีหลักฐานแน่ชัดว่า ทั้งเอกสารและคำให้การของผู้ร่วมกระทำผิดหลายคนตรงกันว่า นายรวม วงษ์พันธ์ มีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ทำการเป็นกบฏต่อประเทศชาติ รับคำสั่งจากคนต่างด้าวภายนอกประเทศมาลบล้างระบบการปกครองประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เพื่อจะเปลี่ยนให้กลายเป็นคอมมิวนิสต์ นาย รวม วงษ์พันธ์ ได้วางแผนดำเนินงานไว้อย่างกว้างขวาง โดยได้แบ่งเขตการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ และส้องสุมกำลังผู้คนไว้เป็นภาคๆ เมื่อได้สมัครพรรคพวกพอแล้วก็จะทำการเป็นกบฏเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศ ไทยสืบไป การกระทำดังกล่าวนับว่าร้ายแรงที่สุด เพราะเป็นการทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรและราชบัลลังก์ ก่อกวนความสงบสุขของประชาชนและคุกคามต่อเอกราชอธิปไตยของชาติเป็นอย่างยิ่ง นายรวม ได้กระทำผิดในท้องที่ 5 จังหวัดคือ พระนคร สุพรรณบุรี ลพบุรี อ่างทอง กาญจนบุรี

การกระทำของนายรวม วงษ์พันธ์ ไม่สมควรเป็นการกระทำของผู้ที่เกิดมาเป็นคนไทย เพราะเป็นการกระทำที่พยายามที่จะนำเอาเอกราช และอธิปไตยของชาติตน ไปมอบให้เป็นทาสของชาติอื่น ซึ่งเป็นความผิดอันร้ายแรงยิ่ง สมควรจะต้องโทษประหารชีวิตเพื่อมิให้เป็นตัวอย่างที่เลวทรามแก่ผู้อื่นสืบไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรและโดยมติคณะรัฐมนตรีจึงให้ทำการประหารนาย รวม วงษ์พันธ์ เสียแต่บัดนี้ ณ. เรือนจำบางขวาง นนทบุรี
สั่ง ณ 24 เมษายน 2505
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี


จิตร ภูมิศักดิ์
(Jit Pumisak)

ปํญญาชนนักปฏิวัติ


เกิดเมื่อ 25 กันยายน 2473 อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี
เป็นบุตรของ นายศิริและนางแสงเงิน มีชื่อเดิมว่าสมจิตร ให้คล้องกับ ภิรมย์ พี่สาวคนเดียว ต่อมาเปลี่ยนเป็น จิตร คำเดียว ตามนโยบายตั้งชื่อระบุเพศชายหญิงอย่างชัดเจนของจอมพลป.
ปี 2479 จิตรติดตามบิดา ซึ่งเป็นนายตรวจสรรพสามิตไปรับราชการจังหวัดกาญจนบุรี ปี 2484 - 2489 บิดาได้ย้ายจังหวัดพระตะบอง ซึ่งไทยได้คืนจากเขมร จิตรเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่พระตะบอง ได้ศึกษาภาษาฝรั่งเศสและเขมรจนเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะภาษาเขมร ทั้งพูด เขียนและศิลาจารึก

หลังสงครามอินโดจีน ไทยต้องคืนพระตะบองให้เขมร นางแสงเงิน ซึ่งได้แยกทางจากสามีได้ย้ายไปอยู่ที่จังหวัดลพบุรี ได้เช่าบ้าน เปิดร้านขายเสื้อผ้า หาเงินส่งลูก 2 คนเรียนหนังสือที่กรุงเทพ จิตรและพี่สาวได้ย้ายเข้ามาเรียนต่อ ที่กรุงเทพ 2493 จิตรสอบไล่ได้ ม.ศ.5 จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา แล้วสอบเข้าเรียนต่อที่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี2493 ได้เรียนวิชาภาษาไทยกับศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน(เสฐียรโกเศศ)

แนวคิด และ การต่อสู้
พระยาอนุมานราชธน นักปราชญ์ของไทย ได้กล่าวถึงลูกศิษย์ที่ชื่อ จิตร ภูมิศักดิ์ ว่า "เด็กคนนี้ไบรท์มาก ผมรู้จักดี เคยสอนเขาที่คณะอักษรศาสตร์ สอบวิชาภาษาไทยได้เต็มร้อย ผมต้องหักออกเสียสามคะแนน กลัวเขาจะเหลิง...เขาเป็นคนชอบเถียง บางครั้งเถียงจนเราฉิว แต่ก็ชอบเพราะความคิดอ่านจะได้กว้างขวางออกไป ...ผมไม่เชื่อว่านายจิตรหัวรุนแรง แต่มีความรู้สึกว่าคนรุ่นเก่าจะไม่เข้าใจเขา

อาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักประวัติศาสตร์กล่าวว่า “จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นปัญญาชนที่หลากหลาย ล้ำลึก และเป็นอมตะ เป็นผู้ที่มีทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติ...ความคิดและปัญญาของเขา ยังไม่ตาย”


เวลานั้นจิตรเพิ่งอยู่ในวัย 20 ต้นๆ แต่เขียนงานทางภาษาศาสตร์ได้โดดเด่นจนปราชญ์ผู้ใหญ่อย่าง
กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร/พระองค์เจ้าธานีนิวัติ อยากรู้จักถึงขั้นขอพบตัว


-พิมายในด้านจารึก ที่ตีพิมพ์ในวารสาร วงวรรณคดี ในปี 2496 ได้รับยกย่องจาก ศจ. ดร. วิลเลียม เจ.เก็ดนีย์ (Professor Dr. William J. Gedney) ดุษฎีบัณฑิตอักษรศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยเยลสหรัฐอเมริกา ภาควิชาภาษาโบราณตะวันออก อดีตที่ปรึกษาของหอสมุดแห่งชาติ ว่า " เป็นบทความวิชาการที่ดีที่สุด เท่าที่นักวิชาการไทยเคยเขียนกันมา และจากบทความชิ้นนี้จะทำให้เป็นที่ยอมรับเชื่อถือในหมู่นักวิชาการต่างประเทศ "
จิตร เองก็คิดใฝ่ในทางนักปราชญ์ราชบัณฑิต ทำให้เขาค้นคว้าหาอ่านตำรับตำราอย่างจริงจัง และนำเขาไปพบกับงานของ นักเขียนฝ่ายประชาชนหลายคน เช่น


อินทรายุทธ หรือนายผี คือ อัศนี พลจันทร์

อินทรายุธ ( นายผี/
อัศนี พลจันทร์ คนแต่งเพลงเดือนเพ็ญ ) กับงานวิจารณ์ศิลปวรรณคดี









บรรจง บรรเจอดศิลป์
(อุดม สีสุวรรณ เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ) ชื่อ ดูวรรณคดีจากสังคม ดูสังคมจากวรรณคดี








สุภา ศิริมานนท์
ในนิตยสารอักษรสาส์น




ศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ หรือ เสนีย์ เสาวพงศ์
ผู้เขียน ปีศาจและความรักของวัลยา



เสนีย์ เสาวพงษ์
ในนิยายเรื่องความรักของวัลยา




จากความสามารถทางภาษาที่แตกฉานทั้ง ไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส ทำให้จิตรมีโอกาสได้ทำงานแปลเอกสารสังคมนิยมหลายชิ้นรวมทั้ง แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto ) ซึ่ง ซีไอเอ อเมริกาเป็นผู้ว่าจ้างเขา เพื่อจะนำไปให้เจ้าหน้าที่และนักการเมืองไทยศึกษา เพื่อประโยชน์ในการต่อต้านคอมมิวนิสต์


จาก แหล่งการเรียนรู้ทั้งหลายเหล่านี้ได้พัฒนาความคิดที่นำจิตรเบนจากเส้นทางนัก ปราชญ์มาสู่เส้นทางความคิดใหม่ซึ่งสะท้อนออกมาครั้งแรกในหนังสือ มหาวิทยาลัย 23 ตุลา ฉบับปี 2496


ปี 2496 จิตรเป็นนิสิตปีสาม ได้เป็นสาราณียกรของสโมสรนิสิตจุฬาฯ มีหน้าที่บรรณาธิการหนังสือมหาวิทยาลัย 23 ตุลาออกแจกจ่ายเมื่อวันที่ 23 ตุลาคมหรือวันปิยมหาราชของทุกปี ซึ่งจิตรลงทุนงดสอบกลางปีและเดินหาทุนการจัดพิมพ์เพิ่มด้วยตนเอง หวังให้หนังสือมีคุณภาพเป็นที่พอใจของเพื่อนนิสิต






หนังสือ 23 ตุลา มีข้อเขียนของจิตร อย่างน้อย 3 เรื่อง ได้แก่


-บทวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหาสังคมตามพุทธปรัชญาและวิจารณ์บุคคลที่หากินโดยใช้ศาสนาบังหน้า ในนาม ผีตองเหลือง วิจารณ์การทำบุญแบบไม่จำเป็นและพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของพระบางพวก วิจารณ์วิธีแก้ปัญหาแบบปฏิรูปพุทธศาสนา


-ขวัญเมือง เป็นนิยายสั้นทางการเมือง สะท้อนภาพผู้หญิงที่ถือ
เอาภาระหน้าที่ทางการเมืองและทางประวัติศาสตร์เป็นหน้าที่สูงสุด


- กลอนชื่อ เธอคือหญิง รับจ้างแท้ใช่แม่คน เป็นการวิจารณ์หญิงที่ท้องเพราะอยากสนุกทางเพศ แล้วเอาลูกไปทิ้งโดยไม่รับผิดชอบ



-เรื่อง แปรวิถี ของศรีวิภา ชูเอม เกี่ยวกับความคิดของนักปฏิวัติฝรั่งเศส เช่น วอลแตร์ รุสโซ ซึ่งจิตรแก้ไขให้เข้มกว่าต้นฉบับเดิม



-มีบทแปลของวรรณี นพวงศ์ เปิดโปงการค้าฝิ่น และการโกงกินในรัฐบาลไทย จากหนังสือพิมพ์ต่างประเทศ


-บทความของประวุฒิ ศรีมันตะ ใครหมั่นใครอยู่ ใครเกียจคร้านตายเสีย เขียนโต้กรมประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลที่ ประณามประชาชนผู้ยากจนว่าเป็นผู้เกียจคร้าน ยกย่องพวกมั่งมีศรีสุขว่าขยัน ชื่อเรื่องมาจากโคลงสี่สุภาพ บทสุดท้ายของกรมประชาสัมพันธ์ และมีข้อความให้นิสิตน้อมรำลึกถึงกรรมกร ที่สร้างตึกจุฬาลงกรณ์ขึ้นมา ให้นึกถึงคุณของคนงานและประชาชนผู้เสียภาษี

ประเทศไทยในเวลานั้นเป็นยุคของอัศวินตำรวจ สหรัฐทำสงครามเย็น รัฐบาล เผด็จการซึ่งได้อำนาจมาจากการทำรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 ยอมภักดีอยู่ใต้การครอบงำทางเศรษฐกิจและการเมืองของจักรพรรดินิยมอเมริกา แลกกับการรับความช่วยเหลือทางทหารมาค้ำจุนอำนาจของตน และรับใช้มหาอำนาจด้วยการรื้อฟื้นกฎหมายคอมมิวนิสต์ 2495 และกวาดจับผู้มีความเห็นแตกต่างจากรัฐบาลครั้งใหญ่ในนาม กบฏสันติภาพ

-16 ตุลาคม 2496 จิตร ไปตรวจความเรียบร้อยของการพิมพ์หนังสือที่สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช นายจรัส วันทนทวี ผู้จัดการโรงพิมพ์แจ้งต่อจิตรว่า สภามหาวิทยาลัย ได้อายัดหนังสือทั้งหมดไปเก็บไว้ที่สำนักงานเลขาธิการมหาวิทยาลัย ให้โรงพิมพ์ระงับขั้นตอนที่เหลือก่อน ผู้จัดการโรงพิมพ์ให้จิตรไปสอบถามเรื่องกับทางสภาฯเอง

ก่อน หน้านี้นายน้อย ฝากมิตร ผู้ช่วยผู้จัดการโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช ซึ่งทำหน้าที่ตรวจปรู๊ฟก่อนการพิมพ์ พบว่าเนื้อหาในหนังสือแหวกแนวจากฉบับก่อนๆ และมีหลายบทความที่หมิ่นแหม่ อาจเกิดความเสียหายกับทางโรงพิมพ์ได้ จึงติดต่อไปยัง ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล ณ อยุธยา อาจารย์แผนกวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ ของคณะอักษรศาสตร์ ซึ่งสนิทกับโรงพิมพ์ ม.ร.ว.สุมนชาติ ได้รีบนำเรื่องปรึกษาม.ร.ว.สลับ ลดาวัลย์ เลขาธิการจุฬาลงกรณ์ ซึ่งได้สั่งระงับการพิมพ์ และอายัดหนังสือทันที

ม.ร.ว.สุมนชาติ ไปพบพันตำรวจตรีวิศิษฐ์ แสงชัย สว. ผ.2 กก. 2 ส. ตำรวจสันติบาล และไปที่โรงพิมพ์เพื่ออายัดหนังสือ แต่ทางจุฬาฯ ได้ขนไปแล้ว พตต.วิศิษฐ์ จึงรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ รอการประสานจากจุฬาฯ ต่อไป


-17 ตุลาคม 2496 ม.ร.ว.สลับ และพระเวชยันตรังสฤษฎ์ (พลอากาศโทมุนี มหาสันทนะ) อธิการบดีจุฬาลงกรณ์ และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในรัฐบาลจอมพล ป. ได้เรียกจิตรไปพบในห้องทำงานของ ม.ร.ว.สลับ และสรุปว่าบทความบางบทความ ไม่เหมาะกับหนังสือของจุฬาฯ บางบทความขัดแย้งกับนโยบายรัฐบาล ขอให้จิตรไปตัดออก และจัดรูปเล่มใหม่
ให้เหมาะสม
-19 ตุลาคม 2496 สภามหาวิทยาลัยเรียกประชุมคณะกรรมการ สอบสวนหาความจริงการจัดทำหนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับ 23 ตุลาฯ คณะ กรรมการประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิราว 10 ท่าน อาทิ ม.ร.ว.สลับ ประธานในที่ประชุม พระเวชยันตรังสฤษฎ์ ม.ร.ว.สุมนชาติ และ นางนพคุณ ทองใหญ่
ได้สอบสวนจิตร ว่าบทความในหนังสือบทความไหนเป็นของใคร จิตรใช้อะไรเป็นหลักเกณฑ์พิจารณา ว่าบทความใด ควรได้รับการตีพิมพ์ ได้ยกเอาบทความเรื่องผีตองเหลือง และกลอนเรื่องแม่ ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่ามีเนื้อหาที่รุนแรง มาพิจารณาเป็นพิเศษ ให้จิตรบอกว่าใครเป็นเจ้าของกลอนและบทความ จิตรไม่ได้ให้คำตอบที่น่าพอใจกับคณะกรรมการซึ่งสรุปว่า จิตรมีความเลื่อมใสในลัทธิคอมมิวนิสต์ และลงมติให้ส่งเรื่องจิตรให้ตำรวจสันติบาลทำการสอบสวนต่อไป

-20 ตุลาคม 2496 สภามหาวิทยาลัย ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง เพื่อทำการตรวจสอบประกอบ ด้วย ม.ร.ว.สุมนชาติ หัวหน้าคณะกรรมการ นางจินตนา ยศสุนทร นางฉลวย กาญจนาคม และนางสาวเบญจวรรณ ธันวารชร เรียกคืนต้นฉบับทั้งหมดจากโรงพิมพ์ ออกคำสั่งห้ามจิตรยุ่งเกี่ยวในการตรวจสอบ ไม่ให้ติดต่อโรงพิมพ์ ตัดสิทธิในการพิจารณาบทความตามตำแหน่งสาราณียกรของจิตร
คณะกรรมการได้ตัดบทความออกหลายบทความ และยังลบข้อความบางข้อความออก และส่งต้นฉบับที่ผ่านการเซ็นเซอร์แล้วให้จิตร เพื่อนำไปดำเนินการจัดพิมพ์ต่อไป

จิตรไม่พอใจมากกับการเซ็นเซอร์ในครั้งนี้ เพราะทำให้หนังสือขาดความสมบูรณ์ มีลักษณะพิกลพิการ และคณะกรรมการเซ็นเซอร์โดยไม่เปิดโอกาสให้จิตรชี้แจง จิตรได้พบม.ร.ว.สุมนชาติ ปรึกษาเรื่องนี้ และการจัดทำเสร็จไม่ทันตามกำหนด ม.ร.ว.สุมนชาติให้คำแนะนำว่า เมื่อทำงานไม่สำเร็จก็ควรลาออกตามวิถีทางประชาธิปไตย


-23 ตุลาคม 2496 ไม่มีการแจกหนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับ 23 ตุลาฯ ข่าวลือแพร่สะพัดว่า ตำรวจและสภามหาวิทยาลัย ระงับการแจกจ่ายหนังสือฉบับนี้ ด้วยเหตุผลว่า มีบทความเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์


-27 ตุลาคม 2496 นิสิตหัวก้าวหน้าบางกลุ่มในจุฬาฯ ได้แทรกใบปลิวไม่เห็นด้วยกับการสั่งระงับการแจกและเซ็นเซอร์ข้อความ ในหนังสือมหาวิทยาลัยฉบับ 23 ตุลาฯ ไว้ในหนังสือแจกของคณะต่าง ๆ โดยเรียกร้องให้นิสิตจุฬาฯ มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น มหาวิทยาลัยต้องเคารพในการแสดงความคิดเห็นของนิสิต ที่ ผ่านมา นิสิตถูกริดรอนสิทธิและเสรีภาพจากอำนาจเบื้องบนมาตลอด ดังพบได้จากกรณีการจัดทำหนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับ 23 ตุลาฯ ทั้ง ๆ ที่จุดประสงค์ดั้งเดิม ในการจัดทำหนังสือมหาวิทยาลัย ก็เพื่อต้องการให้นิสิตได้แสดงออกทางความคิดเห็นอย่างเสรี โดยผ่านบทความของหนังสือฉบับนี้

จิตรได้นำใบปลิวนี้ไปให้ ม.ร.ว.สุมนชาติ อ่านเพื่อให้ทราบความเคลื่อนไหวของนิสิต ม.ร.ว.สุมนชาติ บอกจิตรว่า จะส่งเรื่องนี้ให้ตำรวจสันติบาลดำเนินการ ตกบ่าย มีใบปลิวในแนวต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ติดอยู่ตามต้นจามจุรี ด้วยฝีมือของนิสิตกลุ่มนิยมขวาจัด คาดว่าเป็นคณะวิศวะ จิตรได้ลาออกจากสาราณียกรของสโมสรนิสิตจุฬาฯ ในวันนี้เอง
- 28 ตุลาคม 2496 วันพิพากษา
การลุกลามบานปลายของสงครามใบปลิว และข่าวลือในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเหตุให้ ม.ร.ว.สลับ เลขาธิการจุฬาฯ เรียกประชุมนิสิตทั้งหมดหกคณะ ที่มีอยู่ราว 3,000 คน มาประชุมกันที่หอประชุมใหญ่ ในเวลา 12.15 น. เพื่อแถลงถึงสาเหตุที่ทางสภามหาวิทยาลัยสั่งระงับการแจกจ่ายหนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับ 23 ตุลาฯ

ม.ร.ว.สลับ ได้กล่าวว่า สาเหตุที่ยับยั้งไม่ให้หนังสือเล่มนี้ออก เป็นเพราะ มีข้อความบางเรื่องเป็นเรื่องที่สภามหาวิทยาลัยไม่พึงประสงค์ เป็นต้นว่า เรื่องที่มีนิสิตผู้แปลมาจากคำวิพากษ์วิจารณ์เมืองไทย ของนักเขียนอเมริกัน ซึ่งเป็นการขัดต่อนโยบายของรัฐบาล และเรื่องเกี่ยวกับพุทธศาสนา เรื่องบทความเรื่องผีตองเหลือง ซึ่งประณามภิกษุสงฆ์ทั่วไปว่าเป็นผีตองเหลือง ว่าเป็นการดูหมิ่นพระภิกษุสงฆ์ และ เรื่องกลอนเกี่ยวกับแม่ ว่าประณามผู้หญิงว่า ผู้หญิงทุกคนที่เกิดมีบุตรออกมาไม่ได้ตั้งใจให้เกิด เป็นผลพลอยได้จากความสนุกสนานทางกามารมณ์

เรื่องการทำปกหนังสือ ว่าทำปกเป็นสีดำมีวงกลมสีขาว ซึ่งตีความหมายว่าเป็นการแสดงให้เห็นว่าจากยุคมืดไปสู่ยุคแห่งความสว่าง และไม่มีพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 5 ซึ่งควรจะมี และกล่าวหาว่าจิตร มีจิตใจโน้มเอียงนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ เมื่อ ม.ร.ว.สลับ พูดเสร็จ ก็ได้เดินออกจากหอประชุมใหญ่ไปทันที


จิตร ภูมิศักดิ์ในฐานะสาราณียกรและบรรณา ธิการ จึงได้ก้าวขึ้นเวที ที่สูงจากพื้นราวสองเมตร เขาขึ้นพูดเพื่อแก้ข้อกล่าวหาที่เลขาธิการมหาวิทยาลัย ผู้เป็นอาจารย์ได้กล่าวหาเขาไว้ ต่อหน้านิสิตจุฬาฯ ทั้งหกคณะ เพื่อโน้มน้าวหัวใจที่รักความเป็นธรรมของนิสิตจุฬาฯ ให้เห็นถึงเจตนาบริสุทธิ์ที่จะสร้างสรรหนังสือฉบับพิเศษฉบับนี้ให้สมกับเป็นหนังสือของชาวจุฬาฯ

จิตรเริ่มชี้แจงไปตั้งแต่หน้าปกที่ไม่มีพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นที่ข้องใจเลขาธิการมหาวิทยาลัย เพราะหนังสือนี้ทำกันมา 20-30 ปีแล้วซ้ำๆกัน จิตรจึงพยายามหามุมใหม่ โดยไปขอลายเซ็นพระปรมาภิไธยจาก หอพระสมุดมาประกอบพระเกี้ยว ซึ่งคิดว่าเป็นสัญลักษณ์สมเด็จพระปิยมหาราชโดยสมบูรณ์แล้ว แถมทิ้งท้ายว่าส่วนที่ว่าเอียงซ้าย ถ้าจะเอียงก็เห็นจะสัก 30 องศาเท่านั้น

จิตรได้รับเสียงปรบมือกึกก้องและยาวนาน เขาได้เล่าเรื่องบทความต่าง ๆ ที่มีปัญหาให้เพื่อนนิสิตฟัง ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร ทำไมจึงได้รับเลือกให้มาลงในหนังสือฉบับนี้ ระหว่างการชี้แจง มีเสียงจากนิสิตบางคนที่ไม่เห็นด้วยกับเขา คอยโห่ขัดคอและมีเสียงสอดอย่างหยาบคายตลอดเวลา แต่คำแถลงที่มีเหตุมีผลของจิตรทำให้นิสิตที่มีใจเป็นธรรมเห็นคล้อยตามเขามาก ขึ้นเรื่อย ๆ เสียงปรบมือดังสนั่นห้องประชุม และมีเสียงเรียกร้องให้ตีพิมพ์เผยแผ่หนังสือออกมา
จิตรแถลงต่อไปจนถึงบทความเกี่ยวกับการโยนน้ำ ที่นิสิตผู้หนึ่งส่งมาร่วมตีพิมพ์ สมัยนั้นระบบโซตัส (SOTUS) หรือระบบอาวุโส ในจุฬาฯ ยัง เข้มข้นมาก เป็นแบบแผนการปกครองที่นิสิตรุ่นพี่ มีสิทธิบังคับใช้กับรุ่นน้อง ในการลงโทษผู้ฝ่าฝืนธรรมเนียมประเพณีที่มีมาแต่เดิม โดยการ จับโยนลงสระน้ำในมหาวิทยาลัย




โซตัส (SOTUS)
คืออักษรย่อ 5ตัว :
S=Seniority เคารพผู้อาวุโส
O=Order ต้องทำตามคำสั่งผู้อาวุโส



T=Tradition ต้องทำตามประเพณีที่ผู้อาวุโสคิดเอาไว้
U=Unity ต้องคิดเหมือนๆกันอย่างเป็นเอกภาพห้ามคิดต่าง
S=Spirit พร้อมพลีชีพเพื่อสถาบัน



ระบบโซตัส คือแนวคิดที่อังกฤษและอเมริกาใช้ปกครองคนในอาณานิคม เริ่มมาจากนักเรียนนายร้อยของอังกฤษเพื่อฝึกระเบียบวินัยให้แก่นายร้อยที่ จะไปประจำในที่ต่างๆ ทั้งดินแดนอาณานิคมอื่นๆ แต่ระบบโซตัสที่เห็นเป็นแบบอ่อน มีแต่รุ่นพี่แกล้งรุ่นน้อง เล่นพิเรน โดยเฉพาะพวกอาชีวะบางแห่ง แต่ยังมีแบบเข้มแถวโรงเรียนเตรียมทหารหรือโรงเรียนนายร้อยเหล่าต่าง ๆ ที่ยังดุเดือดเข้มข้น


เสียงตะโกนจากฝั่งคณะวิศวะก็เริ่มดังขึ้นแสดงความไม่พอใจ เพราะประธานเชียร์เป็นคนของวิศวะ จิตรยังคงพูดต่อไปอย่างอดทน และได้กล่าวปิดท้ายด้วยการเรียกร้องว่า ตามที่ท่านเลขาฯ ได้เลือกเอาข้อความเพียงบางตอนมากล่าวบิดเบือนให้ร้ายผมนั้น ผมเห็นว่าไม่เป็นธรรม ทางที่ดีควรเปิดโอกาสให้นิสิตได้เห็นเนื้อหาของหนังสือทั้งหมด และวินิจฉัยเนื้อหาทั้งหมดด้วยตนเอง จึงจะเป็นการยุติธรรม

เสียงปรบมือก็ดังกระหึ่มขึ้นอีกครั้ง แต่ดังกึกก้องกว่าและยาวนานกว่าเดิม บรรดานิสิตจุฬาฯ ในห้องประชุมก็ตะโกนขึ้นมาพร้อมกันว่าให้ตีพิมพ์หนังสือออกมา ทำให้ฝ่ายอาจารย์ และฝ่ายคณะวิศวะ ตื่นตระหนก เพราะเหตุการณ์ไม่เป็นไปตามคาด ที่นิสิตส่วนใหญ่ให้การสนับสนุนจิตร แทนที่จะประณาม นิสิตวิศวะหลายคนไม่พอใจมาก และตะโกน โยนน้ำเลย สวนขึ้นมาสู้กับกระแสที่สนับสนุนจิตร เหตุการณ์ในหอประชุมเริ่มชุลมุนวุ่นวาย

ทันใดนั้น นายสีหเดช บุนนาค (บุตรพลโทพระยาสีหราชเดโชชัย) ผู้แทนนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ และประธานเชียร์ของจุฬาก็ขึ้นไปบนเวทีและวิ่งเข้าไปเตะจิตร จนล้มลงไปนอนกับพื้น นาย ศักดิ์ สุทธิพิศาล นิสิตคณะวิศวะอีกคนตามขึ้นไป ช่วยนายสีหเดช ล็อคตัวจิตรเอาไว้ นายชวลิต พรหมานพ เลขานุการคณะวิศวกรรมศาสตร์ วิ่งตามขึ้นไปอีกคน พูดขึ้นมาว่า อย่าโยนน้ำเลย โยนบกนี่แหละ และรวบขาของจิตรให้ลอยจากพื้น จิตรสลบไปครู่ใหญ่หลังจากถูกโยนลงจากเวทีที่สูงจากพื้นถึงสองเมตร และถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลเลิศสินโดยแจ้งกับหมอว่า ตกจากที่สูง
จิตรต้องนอนเจ็บอยู่ 4 เดือน สภามหา วิทยาลัย ลงมติสั่งพัก การเรียน 12 เดือน และต้องรายงานตัวต่อตำรวจ สันติบาลทุกสัปดาห์ ต่อมามหาวิทยาลัย ได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาโทษและมีมติให้จิตร ภูมิศักดิ์ถูกพักการเรียนเป็นเวลาอีก 1 ปี คือในปีการศึกษา 2497
นิสิตผู้ก่อเหตุโยนบก สองคนแรกถูกทำโทษเพียงให้เดินลุยน้ำลงสระแค่ครึ่งตัว ส่วนอีกคนไม่ปรากฏความผิดและไม่ต้องรับโทษแต่อย่างใด
แม่ แสงเงินรู้ข่าวร้ายจากหนังสือพิมพ์ฉบับวันที่ 29 ตุลาคม 2496 ขณะอาศัยอยู่กับลูกสาว ที่รับราชการที่จังหวัดหนองคาย เช้าวันถัดมา นางกับลูกสาวก็เดินทางมาถึงกรุงเทพฯโดยรถไฟ นำเงินที่เก็บออมไว้มาปลูกบ้านหลังหนึ่งบนพื้นที่แบ่งเช่าที่ถนนศรีอยุธยา ใกล้สี่แยกเสาวณีย์ และอยู่ด้วยกันกับลูกชาย ตราบจนวันที่เจ้าหน้าที่ตำรวจมาจับตัวเขาไปจากห้องนอน

ร่วม 2 ปีที่สูญเสียเวลาในชั้นเรียนมหาวิทยาลัย จิตรหันมาทุ่มเทให้แก่การค้นคว้าเรียนรู้ด้วยตัวเอง เริ่มจากการเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์เรื่อง คำเขมรโบราณในภาษาไทย ทั้งที่เขายังเรียนไม่จบชั้นปริญญาตรี เริ่มศึกษาภาษารัสเซียด้วยตนเอง


เขามีรายได้มาให้แม่จากการเป็นครูสอนวิชาภาษาไทย ในโรงเรียนอินทรศึกษา ต่อมาเข้าทำงานหนังสือพิมพ์ ไทยใหม่ เขียนบทวิจารณ์ภาพยนตร์และหนังสือ และข้อเขียนด้านศิลปะ ได้เดินทางไปเขมรหลายครั้งในฐานะมัคคุเทศก์นำทัศนาจรนครวัดนครธม เขาอาศัยความเชี่ยวชาญภาษาเขมรที่มีมาแต่เดิมแกะรอยความยิ่งใหญ่ของมหาโบราณ สถาน และนำมาบันทึกไว้ในรูปของนิยายชื่อ ตำนานแห่งนครวัด ซุกเอาไว้ในตู้หนังสือส่วนตัวตั้งแต่ก่อนถูกจับเข้าคุกลาดยาว เพิ่งถูกค้นพบและได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อเวลาล่วงไปกว่า 25 ปี

ความเป็นปัญญาชนนอกระบบของ จิตร ภูมิศักดิ์ ยังเป็นอยู่ต่อไป แม้เมื่อได้กลับเข้ามาเรียนหนังสือต่อ จิตรก็ต้องไปรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่สอบสวนทุกสัปดาห์ ตลอดช่วงเวลา 2 ปีจนกระทั่งกองบังคับการตำรวจสันติบาล ได้ออกหนังสือที่ 986/2498 รับรองต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2498 ว่า จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นผู้บริสุทธิ์
ในการกลับเข้ามาเรียนครั้งใหม่นี้ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้รวมกลุ่มกับเพื่อนนิสิตที่มีแนวคิดก้าวหน้าจากคณะต่างๆ ทำกิจกรรมเน้นการศึกษาต่อ มานำไปสู่การปฏิบัติ ทั้งงานในระดับคณะ ระดับมหาวิทยาลัย และระดับขบวนการนิสิตนักศึกษา


ต่อมาได้จัดกิจกรรม รายการ ศิลปินโซเวียต โดยมีศิลปินจากรัสเซียมาแสดงเป็นครั้งแรก จัดรายการ บัวบานบนแผ่นดินแดง โดยเชิญคณะศิลปินกลุ่มที่กลับจากเมืองจีนของ สุวัฒน์ วรดิลก มา แสดง เชิญกมล เกตุศิริ มาบรรยายเรื่อง ดนตรีไทย เพื่อกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกชาตินิยม หวงแหนวัฒนธรรมของชาติ ผลักดันให้มีสภานิสิตและคณะผู้บริหารองค์กรนักศึกษาที่มาจากการเลือกตั้ง
จิตรได้เข้าร่วมกิจกรรมปลูกฝังนิสิตนักศึกษาให้เกิดความรักชาติรักประชาชน รณรงค์ ให้บริจาคเงินและสิ่งของช่วยเหลือผู้เดือดร้อนจากเหตุเพลิงไหมที่พิษณุโลก ปี2499 ชักชวนนิสิตนักศึกษาออกไปปฏิบัติงานตามหัวลำโพง ตามกรมแรงงาน กรมประชาสงเคราะห์และหาที่อยู่ตามวัดต่างๆให้ผู้อพยพชาวอีสานที่เข้ามาหางานทำในกรุงเทพ และไม่ให้ชาวอีสานถูกล่อลวง พยายามจัดตั้ง "สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย" มีการจัดทำร่างระเบียบนำเสนอขอจดทะเบียนจัดตั้งเป็นสมาคม เรื่องผ่านกรมตำรวจ แต่ต่อมาได้เกิด การรัฐประหารขึ้นจึงไม่ได้เกิดสหพันธ์ มีการออกหนังสือพิมพ์ในมหาวิทยาลัย ที่ดำเนินการโดยนิสิต ชื่อ เสียงนิสิต มีคำขวัญว่า ศึกษาเพื่อรับใช้ประชาคม

ต่อมาในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500 จิตร ภูมิศักดิ์จบการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ และได้นำปริญญาบัตรมาให้แม่
"คุณแม่ครับ นี่ไงครับปริญญาบัตรที่คุณแม่อยากเห็น"
แม่รับกระดาษแผ่นนั้นจากจิตร นางตั้งความหวังให้ลูกทั้งสองคนได้มาครอบครอง บัดนี้สมใจของคุณแม่แล้ว
จิตรถามแม่ว่า "แม่เสียใจไหมที่ผมไม่ได้เข้าร่วมพิธีรับพระราชทานปริญญากับเพื่อน ๆ "
คุณแม่แสงเงินย้อนถามจิตรว่า"จิตรตอบแม่ก่อนว่าปริญญาบัตรแผ่นนี้มีค่าครึ่งเดียวหรือเปล่า
"เปล่าครับ" "ใช้สมัครงานที่ไหนได้หรือเปล่า " "ใช้ได้ครับ"
"เข้าใจหรือยังว่าแม่ตอบคำถามว่ากระไร " แม่ได้ตอบคำถามของจิตร—ด้วยการตั้งคำถาม...

จากนั้นก็ทำงานเป็นอาจารย์สอนหนังสือที่วิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์และขณะเดียวกันก็เป็นอาจารย์พิเศษวิชาภาษาอังกฤษที่คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร พร้อมทั้งศึกษาต่อระดับปริญญาโท ณ สถาบันค้นคว้าเรื่องเด็กของยูเนสโก ที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร อาจารย์จิตร ภูมิศักดิ์ สอนที่มหาวิทยาลัยศิลปากรสัปดาห์ละ 6 ชั่วโมง โดยได้ค่าสอนชั่วโมงละ 30 บาท


จาก แนวคิด ของจิตร ทำให้หนังสือรับน้องใหม่ของศิลปากร ปี 2500 ออกมาแหวกแนว เช่นเดียวกับหนังสือรับน้องใหม่ของจุฬาฯ ปี 2496 เป็นหนังสือที่ปฏิวัติแนวคิดเรื่องศิลปะอย่างขุดรากถอนโคน ชี้นำให้เห็นว่า "ศิลปต้องเกื้อเพื่อชีวิต" มิใช่ "ศิลปเพื่อศิลป" อย่างเลื่อนลอย งานเขียนเรื่อง "ศิลปเพื่อชีวิต"บางตอนของจิตร ซึ่งใช้นามปากกาว่า ทีปกร (ผู้ถือดวงประทีป)
ความคิดเรื่อง "ศิลปเพื่อชีวิต" ซึ่งถือว่าเป็นความคิดใหม่ในสมัยนั้น ปรากฏว่า เสฐียรโกเศศ หรือ ศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน ก็เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ตรงกับที่ "ทีปกร" เสนอ และในหนังสือรับน้องฉบับ ดังกล่าว "เสฐียรโกเศศ" ได้แปลบทความเรื่อง ศิลปคืออะไร ของตอลสตอยให้

พร้อมกับอาจารย์กุหลาบ สายประดิษฐ์ ก็ได้มอบบทความเรื่อง ความเป็นมาของประวัติศาสตร์ ซึ่งเขียนถึง ผู้สร้างประวัติศาสตร์ไม่ใช่กษัตริย์ แต่เป็นประชาชนผู้ทุกข์ยาก หนังสือ รับน้องศิลปากร พิมพ์ไว้ 1,000 เล่ม หลังจากมีการแจกหนังสือดังกล่าว ได้ถูกบรรดานักศึกษาคณะจิตรกรรม ต่อต้านและนำไปทำลาย เกิดการชกต่อยระหว่างผู้มีแนวคิด สองแนวทาง มีการประชุมชักฟอกโดยกรรมการนักศึกษาว่า ทีปกร คือใคร

เช้าตรู่ของวันที่ 21 ตุลาคม 2501 จิตรถูกจับกุมพร้อมกับ บุคคลอื่นๆอีกเป็นจำนวนมากในข้อหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ และ สมคบกันกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐทั้งภายใน และภายนอกราชอาณาจักร อันเป็นผลมาจากการยึดอำนาจและการใช้นโยบายปราบปรามของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จิตรถูกจับกุมคุมขังไว้ที่ กองกำกับการสันติบาล (บริเวณโรงพยาบาลตำรวจในปัจจุบัน)


จิตรถูกคุมขังตามสถานที่ต่างๆสามแห่ง คือ กองปราบปทุมวัน เรือนจำลาดยาวใหญ่ และเรือนจำลาดยาวเล็ก จอมพลสฤษดิ์ใช้วิธีเหวี่ยงแห กวาดเอาคนที่ต้องสงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์มาขังไว้หมด ในลักษณะที่ ว่าจับมาสิบคนเป็นคอมมิวนิสต์หนึ่งคนก็ถือว่าใช้ได้ ภายในคุกลาดยาวปี 2501 จึงมีคนหลายกลุ่มรวมกันในคุกการเมือง



กลุ่มแรก เป็นสมาชิกองค์กรจัดตั้งของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.) เช่น เปลื้อง วรรณศรี, อุดม สีสุวรรณ , หนก บุญโยดม และคนอื่นๆ






กลุ่มที่สอง เป็นนักการเมืองแนวสังคมนิยม เช่น เทพ โชตินุชิต , พรชัย แสงชัจจ์ , เจริญ สืบแสง และคนอื่นๆ




กลุ่มที่สาม เป็นพวกนักเขียน-นักหนังสือพิมพ์ เช่น อุทธรณ์ พลกุล ,
อิศรา อมันตกุล , สนิท เอกชัย , เชลง กัทลีระดะพันธ์ และคนอื่นๆ




กลุ่มที่สี่ เป็นนักศึกษา ปัญญาชน ที่มาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่น จิตร ภูมิศักดิ์ , ประวุฒิ ศรีมันตะ, สุธี คุปตารักษ์ จากมหาวิทยาลัยเกษตร เช่น นิพนธ์ ชัยชาญ , บุญลาภ เมธางกูร และนักศึกษาหนุ่มอีกหลายคน



กลุ่มที่ห้า เป็นชาวนาจากบ้านนอก และชาวเขาจากดอยในภาคเหนือ เป็นพวกที่ไม่รู้เรื่องอะไร ซึ่งถูกกล่าวหาว่า เป็นชาวนาที่อยู่ในสายจัดตั้งของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

ต่อมาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2507 จิตร ภูมิศักดิ์ได้รับการปล่อยตัว เนื่องจากศาลกลาโหมยกฟ้อง รวมเวลาที่จิตรถูกคุมขังโดยไม่มีความผิด 6 ปีเศษ ระหว่างที่จิตรอยูในคุก จิตรได้ทุ่มเวลาในการเขียน หนังสือ ผลงานเด่นๆ ของจิตรที่เกิดขึ้นในคุก อาทิเช่น ผลงานแปลนวนิยายเรื่อง "แม่" ของแมกซิมกอร์กี้ , และผลงานทางวิชาการที่ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษ คือ "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาวและขอม และลักษณะทางสังคม ของชื่อชนชาติ"
ตุลาคม 2508 จิตร ภูมิศักดิ์ ได้เดินทางสู่ชนบทภาคอีสาน เพื่อเข้าร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)ในนาม สหายปรีชา

ในเดือนพฤศิจกายน 2508 สหายปรีชา ได้เดินทางไปที่ บ้านดงสวรรค์ มุ่งสู่ที่มั่นกลางดงพระเจ้าเพื่อส่งตัวไปปฏิบัติงานในจีนตามคำขอของสหายไฟ (อัศนี พลจันทร หรือ นายผี ผู้แต่งเพลงเดือนเพ็ญ) แต่จิตรขอเรียนรู้การปฏิวัติในชนบทไทยก่อน สหายปรีชาใช้ชีวิตอยู่ที่ดงพระเจ้าได้ไม่นาน กองทหารป่าก็ถูกกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ากวาดล้าง สหายปรีชาและพวกได้ถอยทัพจากไปภูผาตั้ง ได้ปฏิบัติงานมวลชน ที่ภูผาลมสหายปรีชาได้แต่งเพลง ภูพานปฏิวัติ


วัน ที่ 4 พฤษภาคม 2509 สหายปรีชาและพลพรรคอีก 5 คนข้ามทางสายวาริชภูมิ-ตาดภูวง มาทำงาน มวลชนที่บ้านหนองแปน และบ้านคำบ่อ ในวันรุ่งขึ้นได้ถูกล้อมปราบจากฝ่ายรัฐบาล สหายปรีชาถูกล้อมยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2509 ที่ชายป่าบ้านหนองกุง ตำบลคำบ่อ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร

ผลงานชิ้นเด่นของจิตร ภูมิศักดิ์มีมากมาย
ที่รู้จักกันดี คือ หนังสือ "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาวและขอม และลักษณะทางสังคม ของชื่อชนชาติ"
หนังสือ โฉมหน้าศักดินาไทย
เพลง "ภูพานปฏิวัติ" เพลง "แสงดาวแห่งศรัทธา"


จิตร ภูมิศักดิ์ แต่งเพลงแสงดาวแห่งศรัทธา ขณะถูกจับกุมคุมขัง แม้ฟ้าทั้งผืนจะมืดมิด แต่ก็ยังมีดาวดวงน้อย มองเห็นความหวัง การถูกจับคุมขัง มิใช่การสิ้นสุดบทบาทของชีวิต เมื่อมองเห็นความหวังแล้ว ก็มีพลังศรัทธา ในการที่จะทำงานเพื่อผลประโยชน์ของสาธารณชนอีกต่อไป อย่างเชื่อมั่น ความเป็นจริง จะต้องปรากฎสักวันหนึ่งว่าใครทำอะไรเพื่อใคร จิตร แต่งเพลงนี้ในนามปากกา สุธรรม บุญรุ่ง ระหว่างปี 2503 - 2505 ขณะกำลังติดคุกอยู่ นอกจากจะใช้ปลุกพลัง ความหวังและศรัทธาของตัวเองแล้ว เนื้อร้องที่ประสานกับทำนองที่ไพเราะของเพลงนี้ยังใช้ปลุกพลัง ความหวัง ของเพื่อนร่วมคุก ได้อย่างดีด้วย ...

จิตร ภูมิศักดิ์ คือปัญญาชนนักปฏิวัติของไทยที่แท้จริง ผลงานของจิตรก็ยังคงอยู่คู่สังคมไทยมาตลอด เพรียบพร้อมด้วยเนื้อหาสาระที่เฉียบแหลมและถ้อยคำท่วงทำนองที่ประณีตงดงาม เป็นเหมือนปีศาจที่ตามหลอกหลอนพวกเผด็จการศักดินาล้าหลัง มาจนตราบเท่าทุกวันนี้

Read Comments
  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น