You can replace this text by going to "Layout" and then "Edit HTML" section. A welcome message will look lovely here.
RSS

วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ความเปลี่ยนแปลงของสังคมสยาม ในสมัยรัตนโกสินทร์ 1


ความเปลี่ยนแปลงของสังคมสยาม ในสมัยรัตนโกสินทร์

สยามในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีสังคมเป็นสองแบบซ้อนกันอยู่ คือ ประชาชนส่วนหนึ่งยังอยู่ในระบบเก่า มีการฟื้นระบบแรงงานเกณฑ์ ผู้เป็นไพร่ต้องสังกัดมูลนาย ไพร่ถูกเกณฑ์เป็นทหารทำสงครามด้านตะวันออกในทศวรรษ ที่ 2380 มีการเกณฑ์ชายฉกรรจ์ได้ถึงหนึ่งในสิบจากที่ราบลุ่มเจ้าพระยาและที่ราบสูง โคราช และยังมีการใช้แรงงานเกณฑ์ในวังและตามบ้านขุนนางทั้งงานก่อสร้างโยธาและเก็บ ของป่าขายเป็นสินค้าส่งออก มีการควบคุมแรงงานอย่างเข้มงวดตามบริเวณหัวเมือง ผู้คนส่วนใหญ่มีสถานภาพเป็นเหมือนทาสแบบใดแบบหนึ่ง บางคนเริ่มแรกจากการเป็นเชลยที่ถูกกวาดต้อนมา หรือถูกเกณฑ์เป็นทหารเพื่อทำสงครามทางใต้และทางตะวันออก บางคนถูกจับเข้ามาขาย โดยมีคนที่มีอาชีพไปโจมตีหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลแล้วลักพาผู้คนเอามาขายใน เมืองและบริเวณที่ราบลุ่ม บางคนตกเป็นทาสเพราะเป็นหนี้ บางคนก็ขายตัวเอง บางคนก็ขายลูก ขายญาติ หรือขายบ่าวคือคนรับใช้ แต่ห้ามขายพี่น้องท้องเดียวกันหรือหลานปู่ย่าตายาย แต่ขายผู้อื่นได้ตามกฎหมาย 2384 กฎหมายนี้กำหนดราคาซื้อ-ขายทาสตามอายุ เพศและสภาพอื่นๆ ให้ความเป็นทาสตกทอดถึงลูกหลาน ทั้งทาสและไพร่ถูกเกณฑ์และบังคับได้ จะล่ามโซ่ตรวนหรือทรมานจนตายโดยวิธีการใดก็ได้

อีกสภาพหนึ่งเป็นสังคมเศรษฐกิจการตลาดที่อาศัยแรงงานและผู้ประกอบการจาก ชาวจีนอพยพ กำลังก่อตัวและขยายตัวควบคู่ไปกับสังคมแบบเก่า ต่อมาจึงได้ดึงเอาคนในส่วนอื่นๆเข้าร่วมวงด้วย ชาวนาในภาคกลางหันมาปลูกข้าวเพื่อส่งออก หรือขายให้พ่อค้า บางคนปลูกอ้อยส่งโรงงานหีบอ้อยของคนจีน ตัดไม้ให้อู่ต่อเรือ เป็นช่างผลิตสิ่งของส่งตลาดที่กำลังขยายตัว พวกขุนนางก็หันมาเป็นผู้ประกอบการกันมากขึ้น บ้างก็ทำกิจการเอง บางคนก็เข้าหุ้นหรือเป็นผู้อุปถัมภ์ชาวจีน ตระกูลใหญ่ๆบางตระกูล เช่น ตระกูลบุนนาคจะมีกิจการค้าหลายประเภท ทั้งนำเข้าส่งออกและทำไร่ขนาดใหญ่ เศรษฐกิจแบบเก่าที่อาศัยแรงงานเกณฑ์และเศรษฐกิจการตลาดแบบใหม่ต่างก็แก่ง แย่งกันทั้งเรื่องทรัพยากรและแรงงาน ค่าตัวของทาสเพิ่มขึ้นสูงกว่าที่ทางการกำหนดในทศวรรษที่ 2360 ไพร่หนีไปทำงานทางเศรษฐกิจการตลาดมากขึ้น กษัตริย์และขุนนางต้องแย่งแรงงานเกณฑ์ที่มีจำนวนน้อยลงโดยต่างเสนอแรงจูงใจ มาแข่งกัน

สมัยรัชกาลที่ 3 พวกหัวเก่าที่ต้องการควบคุมไพร่ทาสแบบดั้งเดิมเข้มแข็งมากและต้องการกันพวก ฝรั่งออกไปห่างๆ ทรงเปลี่ยนจากการค้าผูกขาดในราชสำนักมาเป็นระบบเจ้าภาษีนายอากร ทรงปฏิเสธการเปิดค้าเสรีกับฝรั่ง และใช้ระบบเกณฑ์แรงแบบเดิมเพื่อทำสงครามกับเขมร แต่พวกหัวใหม่ที่นำโดยตระกูลบุนนาคต้องการขยายการค้ากับฝรั่งเพื่อให้ เศรษฐกิจขยายตัวและเพิ่มความมั่งคั่ง ขณะที่อังกฤษทำสงครามฝิ่นสยบประเทศจีนส่งผลให้การค้าสำคัญระหว่างสยามกับจีน ต้องหยุดชะงักอย่างสิ้นเชิง อินเดียและจีนต้องอยู่ในการครอบงำของตะวันตก ชนชั้นนำของไทยจึงต้องหันมาค้าขายกับตะวันตก

เศรษฐกิจแบบตลาดที่รุ่งเรืองและกลุ่มสังคมใหม่ๆส่งผลให้เกิดวิธีคิดแบบใหม่ๆ ที่มาจากโลกตะวันออกและโลกตะวันตก ทำให้ผู้คนหันมาให้คุณค่ากับการอ่านออกเขียนได้และการเรียนรู้มากขึ้น พวกฝรั่งต่างชาติ ทั้งกลุ่มทูต หมอสอนศาสนาและพ่อค้าฝรั่งก็เริ่มหลั่งไหลเข้าสู่สยามและนำความรู้และวิทยา การใหม่เข้ามา เจ้าฟ้ามงกุฏขณะบวชหนีราชภัยก่อนขึ้นครองราชย์ก็ได้มีการติดต่อพวกฝรั่งโดย เฉพาะพวกหมอสอนศาสนา ได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งอื่นๆ รวมทั้งการพิมพ์หนังสือ การนำเข้าหนังสือและเครื่องมือจากต่างประเทศ เครื่องจักรไอน้ำ รวมทั้งวิชาการด้านต่างๆ

พวกฝรั่งได้กลับเข้ามาอีกพร้อมทั้งนำความคิดและวิชาการสมัยใหม่เข้ามารวม ทั้งลัทธิเจ้าอาณานิคมที่เป็นตัวเร่งนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลง จักรวรรดินิยมอังกฤษจากอินเดียเริ่มมาตั้งฐานที่มั่นที่ปีนังและสิงคโปร์ เข้าพัฒนาอุตสาหกรรมดีบุกและขยายอิทธิพลเข้าสู่แหลมมลายูโดยเริ่มดำเนินการ เจรจาเรื่องการปักปันเขตแดนกับสยาม กองทหารอังกฤษที่อินเดียได้รุกเข้าพม่าเมื่อปี 2369 เข้ายึดครองยะไข่และชายฝั่งทะเลมอญด้วยอาวุธที่เหนือกว่าทั้งปืนและเรือปืน ที่ทำด้วยเหล็ก พวกฝรั่งจึงกลายมาเป็นภัยคุกคามตัวใหม่ต่อสยามแทนพวกพม่าและญวน ภัยคุกคามอีกประการหนึ่งคือฝิ่นที่อังกฤษได้นำเข้าสู่จีนและกำลังขยายตลาด ค้าฝิ่นในพื้นที่ที่มีคนจีนอาศัยอยู่ พวกฝรั่งและหมอสอนศาสนาก็แอบขนฝิ่นเข้าสยามที่ยังเต็มไปด้วยทาสที่ต้องทำงาน ทั้งๆที่มีโซ่ตรวนล่ามอยู่ มีการพนันดาษดื่นและการนับถือเคารพรูปภาพของกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิ ราชย์ ประชาชนถูกกดทับเป็นไพร่ทาสที่ดูป่าเถื่อนโง่เขลาและขลาดกลัว บนผืนแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ มีสินค้ามีค่า ทั้งเหมืองแร่ ยางไม้ เครื่องเทศ พริกไทย ข้าวและน้ำตาลคุณภาพดีและถูกที่สุด รวมทั้งผลไม้นานาชนิดที่มีรสชาติดีที่สุดในโลก พวกฝรั่งได้เข้ามาทำการสำรวจและบันทึกข้อมูลและทำแผนที่สยาม กัมพูชาและลาว ราชสำนักสยามยอมเซ็นสัญญาทางการค้ากับฝรั่ง พ่อค้าต่างชาติก็จัดหาอาวุธและของใช้ฟุ่มเฟือยที่ราชสำนักต้องการ

ในสมัยปลายรัชกาลที่ 3 กรุงเทพเป็นศูนย์รวมอำนาจรัฐ เป็นเมืองท่าส่งออกข้าวและไม้สัก มีประชากรหนาแน่นที่สุด เพียง 100,000 คน ประชากรส่วนใหญ่ยังอาศัยอยู่บนแพริมน้ำและใช้ทางน้ำเพื่อการสัญจรเนื่องจาก ถนนมักจะเป็นหล่มโคลน เดินทางแทบไม่ได้ ต่อมาจึงขยับขยายเป็นเมืองบก โดยมีการสร้างถนนเจริญกรุงเป็นถนนแห่งแรกในปี 2400 เพื่อให้ชาวยุโรปได้ตั้งบ้านเรือน เดินเล่นและใช้รถม้า บรรดาสถานทูต ธนาคารและสำนักงานของบริษัทฝรั่งล้วนกระจุกตัวอยู่ในย่านนี้ทั้งสิ้น หลังจากนั้น 33 ปี ก็มีถนนทั้งหมดเพียง 14 กิโลเมตรเท่านั้นในปี 2433 ก่อนหน้านั้นชาวจีนก็มักนุ่งกางเกงและเสื้อกุยเฮงเป็นเสื้อคอกลมผ่าอกตลอด ติดกระดุมมีกระเป๋าด้านล่างข้างละกระเป๋า ขณะที่คนไทยและอื่นๆยังนุ่งโสร่งหรือผ้าถุงหรือคาดผ้าข้าวม้า โดยพวกผู้หญิงจะมีผ้าคาด อกด้วย สมัยก่อนนั้นคนไทยยังไม่นิยมสวมเสื้อ รัชกาลที่ 4 จึงทรงมีรับสั่งให้ผู้เข้าเฝ้าสวมเสื้อเพื่อความศิวิไลซ์จะได้ไม่อายฝรั่ง พอมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 จึงให้หญิงชายในราชสำนักสวมใส่เสื้อผ้าที่ตัดเย็บให้พอดีตัวทั้งท่อนบนและ ท่อนล่าง ข้าราชการสมัยใหม่ที่มักต้องทำงานกับที่ปรึกษาชาวยุโรปก็จะเอาอย่างโดยสวม กางเกงและเสื้อแบบฝรั่ง กลายเป็นแฟชั่นของชนชั้นนำ แต่พวกคนงานชายก็ยังเปลือยอก คนงานหญิงก็ใช้ผ้าคาดอก ชาวเมืองสยามเริ่มมาสวมเสื้อผ้ากันทั้งตัวก็ในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 มีการสรวจสำมะโนประชากรครั้งแรกในปี 2426 พบว่าชาวสยามและจีนมีรวมกันถึง 97% ของประชากรกรุงเทพทั้งหมด โดยมีชาวจีนแค่ 1 ใน 4 ซึ่งต่ำกว่าที่ฝรั่งคาดการณ์ว่าจะมีชาวจีนราวครึ่งหนึ่ง อาจเป็นเพราะว่ามีลูกหลานจีนจำนวนมากรวมทั้งลูกหลานของเชลยชาวลาวเขมรและมา เลย์ถือว่าพวกตนเป็นคนไทยแล้ว คนจีนทำการค้าถึง 3 ใน 5 ส่วนคนไทยส่วนใหญ่ทำการเกษตร รับจ้างและรับราชการ
มีชาวจีนอพยพหนีความยากไร้และปัญหาทางการเมืองที่จีนตอนใต้

หลังปี 2400 ในช่วงทศวรรษที่ 2420 เริ่มมีเรือกลไฟวิ่งระหว่างเมืองท่าทางตอนใต้ของจีน ระหว่างปี 2425 ถึง 2453 มีชาวจีนอพยพเข้าสยามถึง 1 ล้านคน โดยมีชาวจีนประมาณ 3 แสน 7 หมื่นคนที่ตั้งหลักแหล่งอยู่เมืองไทยเป็นการถาวร จึงมีคนจีนถึงเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรกรุงเทพทั้งหมด โดย 3 ใน 5เป็นจีนแต๊จิ๋ว ตามด้วยจีนแคะและไหหนำ ชาวจีนได้เข้ามาลงทุนซื้อหาเครื่องจักรและจ้างวิศวกรต่างชาติสร้างโรงสีข้าว โรงเลื่อยไม้ อู่ต่อเรือ ทำการค้าขายเอาชนะพวกยุโรป เพราะมีเครือข่ายพ่อค้าจีนที่ช่วยซื้อข้าวจากชาวนาตามหมู่บ้านและสามารถ บริหารจัดการพวกกุลีจีนได้ดีกว่าและยังพัฒนาเคริอข่ายทางการค้ารอบๆภูมิภาค ที่เป็นคนจีนด้วยกัน
ตระกูลเจ้าสัวใหญ่ดั้งเดิมจำนวนหนึ่งตัดสินใจกันก่อตั้งธนาคารและบริษัทเดิน เรือ เพื่อแสวงหาธุรกิจใหม่ๆแทนธุรกิจเดิมให้เป็นแหล่งทุนของพ่อค้าจีนแข่งกับพวก พ่อค้ายุโรป จึงมีความต้องการแรงงานจำนวนมากเพื่อทำงานที่ท่าเรือ โรงสีข้าวและสาธารณูปโภคใหม่ๆ มีการจ้างจับกังหรือคนงานซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนจีนนับแสนคนหรือประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรกรุงเทพ เฉพาะกิจการโรงสีข้าวอย่างเดียวก็มีแรงงานระหว่าง 1 หมื่นถึง 2 หมื่นคน โดยมีคนไทยทำงานรับจ้างมากขึ้นภายหลังการเลิกทาสและเริ่มมีรัฐวิสาหกิจ เช่น การรถไฟ

สภาพการทำงานและวิถีชีวิตที่ย่ำแย่ทำให้จับกังจำนวนมากหันมาสูบฝิ่นเพื่อลืม ชีวิตที่ลำบากยากแค้น คนงานท่าเรือหยุดงานประท้วงสภาพการทำงานที่ย่ำแย่ในปี 2426 ทำให้ท่าเรือเป็นอัมพาต ลูกจ้างโรงสีข้าวหยุดงานในปี 2427 และ 2435 จนรัฐบาลต้องส่งทหารไปสลายการชุมนุมแล้วเนรเทศพวกหัวโจก รัฐบาลได้ออกกฎหมายปราบปรามสมาคมลับหรืออั้งยี่ ในปี 2440 เพราะเชื่อว่าอยู่เบื้องหลังขบวนการแรงงาน มีการตั้งหน่วยตำรวจพิเศษเพื่อควบคุมย่านคนงานจีนด้วยความรุนแรง คนงานจีนในกรุงเทพได้นัดหยุดงานขนานใหญ่ในปี 2453 เพื่อประท้วงการที่รัฐบาลยกเลิกภาษีผูกปี้ที่ยกเว้นการเกณฑ์ทหารแก่คนจีนที่ เคยเก็บทุกๆ 3 ปีเปลี่ยนมาเป็นการเก็บเป็นรายปีซึ่งสูงกว่าเดิมมากในปี 2452 พอเกิดการปฏิวัติล้มระบอบฮ่องเต้ราชวงศ์แมนจูเรียของจีนในปี 2454 หางเปียจึงได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความล้าหลัง ชาวจีนส่วนใหญ่จึงเลิกไว้เปียและหันมานิยมสวมเสื้อผ้าแบบฝรั่งแทนที่จะเป็น แบบไทยหรือแบบจีน แต่ยังคงใช้ภาษาจีนในเอกสารทางธุรกิจทุกอย่างโดยมักมีการส่งลูกชายไปเรียน ภาษาจีนที่เมืองจีน เมื่อคนจีนต้องใช้นามสกุลไทยนับตั้งแต่ปี 2456 ก็ยังคงแซ่เดิมเอาไว้ในนามสกุลไทย

ชุมชนพ่อค้าจีนมักจะก่อตั้งสถาบันหรือสมาคมต่างๆเพื่อสนับสนุนการดำเนิน ชีวิตและธุรกิจของพวกเขา รวมไปถึงการออกหนังสือพิมพ์จีน สร้างโรงพยาบาลและมูลนิธิ รวมทั้งสมาคมต่างๆโดยมีพ่อค้าจีนระดับนำเป็นผู้สนับสนุนด้านการเงินและเป็น กรรมการ ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อค้าจีนและราชสำนักที่เคยอุปถัมภ์กันมาเริ่มห่างเหิน เพราะราชสำนักหันไปสนใจด้านตะวันตกขณะที่ชาวจีนที่กรุงเทพก็ร่ำรวยขึ้นและมี สมาคมของพวกเขาเอง

หลังการปฏิรูประบบบริหารที่รวมศูนย์อำนาจสู่ส่วนกลางสมัยรัชกาลที่ 5 มีการก่อตั้งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนที่ต่อมาพัฒนาเป็นจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยที่ได้กลายเป็นช่องทางสู่การเป็นข้าราชการระดับสูงของสมาชิกพระ ราชวงศ์ที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากมายโดยอาศัยเงินเดือนข้าราชการในสมัยนั้น ซึ่งมากพอที่จะเลี้ยงครอบครัวได้ รัฐบาลได้ชักจูงขุนนางและผู้ปกครองตระกูลใหญ่ตามหัวเมืองส่งลูกชายเข้า โรงเรียนและวิทยาลัยที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ ทำให้เกิดสามัญชนคนชั้นกลาง พวกข้าราชการชั้นผู้น้อย ครู นักวิชาชีพ.....

หมายเหตุ
เหตุการณ์ เรียกร้องประชาธิปไตยมีหลายครั้ง ครั้งแรก รศ. 103 (พ.ศ 2428) ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ครั้งที่ 2 รศ 130 เรียกว่า กบฎ รศ 130 ( พศ 2454-2455 ) ตรงกับสมัย ร. 6 ครั้งที่ 3 การปฏิวัติคณะราษฎร พ. ศ 2475 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 7 (สำเร็จ แต่ต่อมาก็เป็นเผด็จการทหาร แบบราชาธิปไตย แอบแฝง) ครั้งที่ 4 พ.ศ 2557 สมัยปัจจุบัน ยังไม่รู้สถานการณ์

Read Comments
  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น