You can replace this text by going to "Layout" and then "Edit HTML" section. A welcome message will look lovely here.
RSS

วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557

จากอยุธยามาเป็นกรุงเทพ

จากอยุธยามาเป็นกรุงเทพ

หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองได้ไม่นานก็เกิดมีการตั้งกลุ่มก๊กต่างๆ พระเจ้าตากสินได้กลายเป็นผู้นำที่เข้มแข็งที่สุด เป็นบุตรชายของชาวจีนอพยพเชื้อสายแต๊จิ๋วมีแม่เป็นคนไทย พระเจ้าตากคงจะมีอาชีพเป็นนายเกวียนค้าขายตามหัว เมือง แล้วติดสินบนข้าราชการจนได้เป็นเจ้าเมืองตากที่อยู่ไกลโพ้น ไม่ได้มาจากตระกูลเจ้าหรือขุนนาง แต่เป็นคนมีความสามารถในการรวบรวมสมัครพรรคพวกจากพวกพ่อค้าจีน นักเสี่ยงโชคและขุนนางระดับล่าง แล้วจึงตั้งเมืองหลวงใหม่ที่ธนบุรี ที่ล้อมรอบด้วยบึงที่เหมาะสำหรับป้องกันตัวจากศัตรูและยังอยู่ตรงข้ามชุมชน จีนที่ทำการค้ามานานที่บางกอก ทรงใช้เส้นสายกับพ่อค้าจีนนำเข้าข้าวเพื่อประทังชีวิตในเขตที่เสียหายมากและ เริ่มฟื้นฟูการค้าเพื่อหารายได้เข้าคลัง ทรงนำเอาประเพณีกษัตริย์ชาตินักรบกลับมา โปรดให้สักข้อมือชายที่ถูกเกณฑ์ และทรงเข้าร่วมทำสงครามในฐานะเป็นแม่ทัพ

เมื่อการรบพุ่งเบาบางลง ผู้คนเริ่มกลับมาดำเนินชีวิตตามปกติ ตระกูลขุนนางที่เหลือรอดมาได้นั้น มีเพียงไม่กี่รายที่พร้อมจะรับใช้กษัตริย์ที่ไม่ได้มาจากเชื้อสายเจ้า ขณะที่พระเจ้าตากสินก็มีแต่ส่งเสริมพวกนักเสี่ยงโชคและนักรบที่ได้ช่วยเหลือ พระองค์มาตั้งแต่ต้นให้ได้ตำแหน่งสูงทั้งที่เมืองหลวงและหัวเมือง มีข้อยกเว้นอยู่บ้าง ที่สำคัญคือนายบุญมาที่มาจากตระกูลขุนนางมอญเก่าต่อมาได้นำพี่ชายคือนายทอง ด้วงเข้ามารับราชการด้วย พี่น้องทั้งสองได้กลายเป็นแม่ทัพเอกของพระเจ้าตากสิน พวกขุนนางเก่าจำนวนมากยอมรับนายทองด้วงหรือพระยาจักรีเป็นผู้นำของกลุ่ม แต่พวกเขาไม่พอใจที่ถูกกีดกันไปจากตำแหน่งสำคัญ อีกทั้งพวกเขาก็ไม่ค่อยยอมรับพระเจ้าตากสินที่มีพื้นเพเป็นแค่สามัญชนที่มี พวกนักเสี่ยงโชคเป็นพวกและปฏิบัติตัวแตกต่างไปจากระบอบเจ้าที่พวกเขาคุ้นเคย ซึ่งพวกเขารับไม่ได้ พวกเขาได้อ้างว่าพระเจ้าตากสินได้อวดอ้างพระองค์ว่ามีอำนาจอภินิหารเหนือพระ สงฆ์ จึงได้ฉวยโอกาสก่อการยึดอำนาจและประหารพระเจ้าตากสินเมื่อต้นเดือนเมษายน 2325 และสถาปนานายทองด้วงเป็นต้นราชวงศ์จักรีที่มีที่มาจากตำแหน่งพระยาจักรีของ นายทองด้วง ราชวงศ์ใหม่ได้หันกลับไปเลียนแบบประเพณีอยุธยาแล้วย้ายเมืองหลวงไปยังฝั่ง ตรงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่กรุงเทพฯ สร้างเลียนแบบแผนผังของอยุธยาที่ตั้งอยู่บนเกาะที่เกิดจากการตัดคลองตรงคอ คอดบริเวณคุ้งแม่น้ำ มีการนำซากอิฐจากวัดและวังสำคัญๆจากอยุธยามาใช้สร้างพระราชวังใหม่ที่ กรุงเทพ โปรดให้สรรหาเอกสารที่หลงเหลืออยู่มาชำระเรียบเรียงใหม่และทำพิธีราชาภิเษก ให้เหมือนกับสมัยพระเจ้าบรมโกศ

สังคมทหารที่ก่อตัวขึ้นใหม่เริ่มแรกเป็นไปเพื่อปกป้องตนเอง แต่กองทัพสยามได้ขยายอาณาจักรออกไปทุกทิศทางมากกว่าครั้งใดโดยเฉพาะในดินแดน ต่างๆที่ถูกพม่ารุกรานจนระส่ำระสาย มีการกวาดต้อนผู้คนจากที่ต่างๆมารวมกันอยู่บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาทำให้ บริเวณนี้คลาคล่ำไปด้วยผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ พวกขุนนางเก่าที่รอดชีวิตจากสงครามได้มาเป็นผู้นำสำคัญในการสร้างเมืองหลวง แห่งใหม่ การค้ากับจีนที่เฟื่องฟูเมื่อสมัยอยุธยาตอนปลายก็ยังคงดำเนินต่อไปและยิ่ง เพิ่มพูนขึ้นอีก การค้าขายขยายตัวอย่างรวดเร็วตลอดบริเวณที่ราบลุ่มเจ้าพระยาลงไปถึงแหลม มลายู พระเจ้าตากสินและรัชกาลที่ 1 ได้ช่วยเจ้ากาวิละขับไล่พม่าออกไปและสถาปนาเชียงใหม่ขึ้นอีกครั้ง พระเจ้าตากสินโจมตีได้เมืองเวียงจันทน์และจับราชบุตรของเจ้าลาวคือเจ้า อนุวงศ์มาเป็นตัวประกันที่กรุงเทพ ทั้งยังเผากรุงละแวกเมืองหลวงของเขมรเป็นจุลและทรงแต่งตั้งเจ้าเขมรองค์ใหม่ ให้เป็นหูเป็นตาแทนกรุงเทพฯ ทรงนำเอาระบบบรรณาการมาใช้เหนือเมืองขึ้นเหล่านี้โดยบังคับให้ส่งของป่าเป็น ส่วยแก่กรุงเทพเพื่อขายเป็นสินค้าส่งออกไปจีน และยังแผ่ขยายแสนยานุภาพต่อไปอีกหลายสิบปี จากปลายสมัยรัชกาลที่ 2 เริ่มเข้าควบคุมที่ราบสูงโคราชที่ยังมีประชากรเบาบางและมีทรัพยากรสมบูรณ์ จึงต้องทำสงครามแย่งชิงกับเจ้าอนุวงศ์ที่เวียงจันทน์ กองทัพสยามได้เข้าทำลายเวียงจันทน์และราชวงศ์ลาวจนราบคาบในปี 2370 – 2371 อย่างเดียวกับที่พม่าเคยทำกับอยุธยาเมื่อ 60 ปีก่อน เชลยลาวถูกกวาดต้อนให้มาตั้งรกรากอีกฝากหนึ่งของแม่น้ำโขง เพื่อให้อีสานส่งส่วยของป่าให้กรุงเทพได้มากขึ้น ต่อมาในปี 2376 รัชกาลที่ 3 ก็ส่งกองทัพไปตีเอาดินแดนเขมร โดยสั่งแม่ทัพให้ไปยึดเอาเขมรเป็นเมืองขึ้นให้ได้ หรือให้ทำลายล้างให้สิ้น ให้กวาดต้อนครอบครัวมาไว้ที่เมืองไทยให้หมดอย่าให้เหลือ ให้จัดการกับเขมรเหมือนอย่างที่เคยจัดการกับเวียงจันทน์ในสมัยเจ้าอนุวงศ์

มีแต่เพียงด้านตะวันตกที่สยามไม่สามารถแผ่ขยายอิทธิพลได้สำเร็จ หลังจากส่งกองทัพไปตีทวายสองครั้งแต่ถูกพม่าตอบโต้
ยุคสมัยแห่งความวุ่นวายนี้ทำให้มีการโยกย้ายผู้คนไปทั่วบริเวณที่ราบลุ่ม เจ้าพระยา กองทัพของพระเจ้าตากสินได้กวาดต้อนเชลยหลายพันคนจากยวนล้านนา ลาวเวียงจันทน์ ลาวพวน ไทยดำและเขมร รวมทั้งชาวมลายู ยังมีมอญอีกสามถึงสี่หมื่นคนก็ได้อพยพเข้ามาสวามิภักดิ์ต่อสยาม ทัพสยามและล้านนาเชียงใหม่ยังบุกขึ้นเหนือเพื่อยึดเขินลู้และไทยใหญ่หลัง จากรบชนะเวียงจันทน์เมื่อปี 2370 โดยได้กวาดต้อนเชลยมากกว่า 150,000 คน โดยให้มาตั้งถิ่นฐานในที่ราบลุ่มเจ้าพระยาราว 50,000 คน ทั้งนี้กรุงเทพได้ส่งกองทัพไปลาวถึง 6 ครั้ง กวาดต้อนเชลยจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงจนเมืองถูกทิ้งร้าง และนำพวกลาวพวนมาจากทุ่งไหหิน นำไทยดำจากสิบสองปันนา รวมทั้งคนเขมรและเวียตนาม เชลยที่ตั้งรกรากอยู่รอบๆกรุงเทพถูกใช้เป็นแรงงานสร้างเมืองหลวงใหม่ พวกที่ตั้งรกรากอยู่แถบที่ราบลุ่มภาคกลางก็ให้ทำนาเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว กลุ่มอื่นๆก็ถูกกวาดต้อนให้ไปอยู่อีสานเพื่อหาของป่าที่กรุงเทพต้องการส่งไป ขายให้จีน

ตระกูลขุนนางไม่กี่รายที่รอดมาหลังจากการเสียกรุงและเกี่ยวโยงกับราชวงศ์ จักรีได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว บางตระกูลรุ่งเรืองและอลังการเทียบเท่าพระราชวงศ์เลยทีเดียวโดยเฉพาะตระกูล บุนนาคที่สืบเชื้อสายไปได้ถึงต้นตระกูลชาวเปอร์เซียที่เข้ามาสยามในสมัยพระ นเรศวร คนสำคัญในตระกูลบุนนาคได้เป็นเป็นเสนาบดีกลาโหม มหาดไทยและกรมท่าหนึ่งหรือสองตำแหน่งเสมอตลอดชั่วสี่อายุคน กษัตริย์จึงมีอำนาจมากกว่าพวกขุนนางตระกูลใหญ่ไม่มากนัก ตระกูลขุนนางใหญ่เพิ่มสมาชิกของครอบครัวด้วยการมีภรรยาหลายคนจะได้มีลูกชาย ที่เก่งกาจเพื่อสืบทอดตระกูลต่อไป และต้องมีลูกสาวมากพอที่จะไปแต่งงานกับครอบครัวชนชั้นนำอื่นให้เป็นเครือ ข่ายสัมพันธ์กัน เจริญรอยตามกษัตริย์ที่มีโอรสธิดาจำนวนมาก ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 5 ตระกูลขุนนางใหญ่เท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ตั้งบ้านเรือนรอบๆวังหลวงเปรียบ เหมือนเมืองขนาดเล็ก ตระกูลบุนนาคได้รับพระราชทานที่ดินผืนใหญ่สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่สำเพ็ง จึงได้สร้างวัด 3 แห่ง ทั้งขุดคลองและสร้างบ้านเรือนให้ลูกหลานที่มีเป็นจำนวนมาก พวกพ่อค้าและช่างฝีมือก็พากันมาตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ๆ กษัตริย์กรุงเทพองค์ใหม่ได้รับความชื่นชอบในฐานะเป็นผู้ปกปักพุทธศาสนาจาก พม่าผู้รุกราน ชัยชนะในการทำศึกเหนือดินแดนลาวและเขมรเป็นความชอบธรรมเพราะทำให้ชาวลาวและ เขมรได้เข้ามาอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภารของกษัตริย์ไทยผู้มีพุทธธรรมสูงกว่า เจ้าผู้ปกครองพวกเขาก่อนหน้านั้น เท่ากับได้ช่วยคนลาวและเขมรได้ก้าวเข้าสู่ความหลุดพ้นหรือพระนิพพานเพราะถือ กันว่ากษัตริย์ไทยนั้นเป็นพระโพธิสัตว์ที่สั่งสมบารมีมาแต่ชาติปางก่อนที่ จุติมาเพื่อช่วยให้มนุษย์หลุดพ้นจากทุกข์และสืบทอดพระศาสนามิให้สูญหายไปจาก โลก อีกทั้งยังทรงชำระคณะสงฆ์ให้บริสุทธิ์และมีการสังคายนาพระไตรปิฎกให้มีความ ถูกต้องสมบูรณ์ ให้ราษฎรได้ประพฤติปฏิบัติธรรมเจริญรอยตามพระพุทธองค์ที่ได้ทรงบำเพ็ญบารมี มาถึง 500 ชาติ โดยเฉพาะการส่งเสริมทานบารมีโดยทรงจัดให้มีการเทศน์มหาชาติเรื่องพระ เวสสันดรเป็นประจำทุกปีที่วัดพระแก้ว

รัชกาลที่ 1 มีแม่เป็นลูกสาวคนงามของตระกูลเจ้าสัวจีนที่ร่ำรวยของอยุธยาจึงได้ทรงสานต่อ นโยบายของพระเจ้าตากสินได้ส่งเสริมให้ชาวจีนอพยพได้เข้ามาช่วยฟื้นฟู เศรษฐกิจ มีจีนอพยพหลั่งไหลเข้ามาตลอดช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นโดยมุ่งการค้าต่างประเทศ ไปทางตะวันออกโดยเฉพาะจีน แม่น้ำเจ้าพระยาเต็มไปด้วยสำเภาจีน คล้ายกับว่าชาวจีนได้กลายเป็นคนส่วนใหญ่ของกรุงเทพ เมื่อถึงปี 2378 ชุมชนจีนที่สำเพ็งได้กลายเป็นตลาดใหญ่ที่คึกคักมากตลอดเส้นทางที่ยาวถึงสาม กิโลเมตรตามแนวถนนที่ปูด้วยอิฐเผา มีทั้งร้านขายสินค้าสารพัดทั้งของสดของแห้ง เหล้า ยา เครื่องมือสารพัด รวมทั้งบ่อนการพนันและซ่องโสเภณี

จีนอพยพรุ่นแรกส่วนใหญ่จะเกี่ยวพันกับการค้าข้าวระหว่างสยามกับจีนที่กำลัง รุ่งเรือง ตามมาด้วยพวกที่อพยพหนีความอดอยากยากจนและความวุ่นวายทางการเมืองในจีนตอน ใต้ มีชาวจีนอพยพเข้ามาประมาณปีละ 7,000 คนทุกปีช่วงทศวรรษที่ 2360 และเพิ่มขึ้นเป็น 14,000 คนในปี 2413 ชาวจีนที่หากินอยู่ในสยามได้สักสองสามปี จะมีราวครึ่งหนึ่งที่เดินทางกลับเมืองจีน แต่มีชาวจีนที่ตัดสินใจตั้งหลักปักฐานในสยามเมื่อทศวรรษ 2390 มีรวมกันถึง 300,000 คน ส่วนมากรับจ้างเป็นกุลีแบกหามของที่ท่าเรือและที่อื่นๆในกรุงเทพ บ้างก็จับจองที่ดินชายขอบที่ราบลุ่มปากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อปลูกผักขายใน เมือง

ราวปี 2353 เริ่มมีคนจีนลงทุนปลูกอ้อย จนต่อมาอีกราว 40 ปี อ้อยก็ได้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจของกรุงเทพในการผลิตน้ำตาลเพื่อส่งออก คนจีนอพยพบางส่วนก็ล่องเรือไปตามลำแม่น้ำแล้วตั้งรกรากตามเมืองต่างๆ เป็นเจ้าของร้านชำ เป็นพ่อค้าส่งพืชผลไปกรุงเทพ เป็นเจ้าของกิจการสารพัด รอบอ่าวไทยเรื่อยลงไปทางแหลมมลายู ตามเมืองท่าใหญ่น้อยจึงมีคนจีนอยู่เป็นจำนวนมาก บ้างก็เข้าไปตั้งรกรากลึกเข้าไปจากชายฝั่งเพื่อปลูกยางพารา พริกไทยและทำเหมืองแร่ดีบุก กษัตริย์ก็เห็นความสำคัญของชาวจีนที่ช่วยบุกเบิกด้านเศรษฐกิจจึงยกเว้นไม่ ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน แต่เก็บภาษีรัชชูปการแทนการเกณฑ์แรงงานทุกสามปีที่เรียกว่าภาษีผูกปี้โดยผูก เชือกที่ข้อมือแล้วตีด้วยครั่ง และเก็บภาษีการค้าจากพวกชาวจีนด้วย โดยพบว่าเป็นวิธีเพิ่มรายได้ของรัฐที่ดีกว่าการผูกขาดการค้าต่างประเทศแบบ เดิม รัฐบาลจึงจ้างพ่อค้าจีนให้ทำหน้าที่เก็บภาษีคือตั้งให้เป็นเจ้าภาษีนายอากร มากขึ้น จากเดิมที่สยามส่งสินค้าป่าไปขายจีนเป็นหลัก พอมาถึงทศวรรษ 2360 ก็มีสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นอีกหลายชนิด เช่น ข้าว น้ำตาล ปลา เนื้อแห้ง ภาชนะดีบุก ผ้า น้ำมัน สียอมผ้าซึ่งคนจีนเป็นผู้ผลิต ต่อมาคนอื่นๆก็เข้ามาผลิตด้วย ทำให้กลายเป็นสังคมการตลาดมากกว่าระบอบเกณฑ์แรงงานเดิม

ตระกูลเจ้าสัวจำนวนหนึ่งได้รุ่งเรืองขึ้นมาจากการอุปถัมถ์ของพระราชวงศ์ เริ่มจากเป็นพ่อค้าช่วยกษัตริย์และขุนนางค้าขาย หลายคนได้เป็นเจ้าภาษีอากร คือ ได้รับสัมปทานเก็บภาษีที่มีมูลค่าสูง เช่น ภาษีรังนก ภาษีสุรา ฝิ่นและบ่อนพนันในเมือง กษัตริย์พระราชทานตำแหน่งและราชทินนามให้สถานะของพวกเขาสูงขึ้น ผู้ที่ประสบความสำเร็จมากก็จะได้ตำแหน่งโชฎึกเศรษฐีเป็นหัวหน้าของชุมชนจีน ที่เมืองหลวง บางครอบครัวประสบความสำเร็จสูง ก่อตั้งเป็นตระกูลใหญ่ สร้างเส้นสายด้วยการถวายลูกสาวให้เป็นนางรับใช้ของกษัตริย์หรือแต่งงานกับ ตระกูลใหญ่ของกรุงเทพและตระกูลพ่อค้าที่เป็นหุ้นส่วนการค้าที่เมืองจีนและ ที่อื่นๆ ตระกูลจีนใหญ่ๆทั้งหลายยกระดับสถานภาพทางสังคมของตนเองได้เพราะทำงานร่วมมือ กับราชสำนักอาศัยระบบอุปถัมถ์จากสมาชิกเจ้านายชั้นสูงในพระราชวงศ์ โดยจะต้องถวายของขวัญมีค่าหรือเงินทองเพื่อจะได้รับราชทินนามที่สูงขึ้นเป็น การตอบแทน ขณะที่กษัตริย์ก็ชักจูงพวกเจ้าสัวให้สร้างและซ่อมแซมทั้งวัดไทยและศาลเจ้า จีน ให้ช่วยขุดคลองเพื่อใช้เป็นเส้นทางเดินเรือ รวมทั้งสร้างโรงพยาบาลและโรงเรียน.....

ติดตามตอนต่อไปครับ...

Read Comments
  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น