You can replace this text by going to "Layout" and then "Edit HTML" section. A welcome message will look lovely here.
RSS

วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ใน ส่วนของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ใน ส่วนของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็มี พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ 2491 ได้รับการยกเว้นการเสียภาษี ให้อำนาจพระมหากษัตริย์แต่งตั้งคณะกรรมการทรัพย์สินฯ ได้ตามพระราชอัธยาศัย ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ ยังดำรงตำแหน่งรองราชเลขาธิการ
ในขณะที่กฎหมายของไทยให้ความคุ้มครองพระมหากษัตริย์เรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุ ภาพและ เห็นว่าสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินไม่ควรตรวจสอบบัญชีของสำนักงานทรัพย์สินฯ เพราะเป็นการหมิ่นเหม่ต่อการละเมิดพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งความคลุมเครือของสถานภาพของสำนักงานทรัพย์สินฯ
คือไม่อนุญาตให้มีการวิจารณ์หรือตรวจสอบสำนักงานทรัพย์สินฯของกษัตริย์ภูมิพลนั่นเอง
พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฯยังคุ้มครองทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่ให้ตก ไปสู่บุคคลอื่น เว้นแต่ได้รับพระบรมราชานุญาตเท่านั้น ดังนั้น หากสำนักงานทรัพย์สินฯ ถูกฟ้องหรือดำเนินคดี เจ้าหนี้ไม่สามารถยึดที่ดินและผู้ใดจะอ้างการครอบครองโดยปรปักษ์ไม่ได้ จะตกเป็นของสาธารณะก็ไม่ได้ การตรวจสอบสำนักงานทรัพย์สินฯต้องได้รับพระบรมราชานุญาตและต้องไม่กระทบพระ ราชอำนาจ
ปี 2544 สำนักงานทรัพย์สินฯ ใช้ที่ดิน บริเวณสวนมิสกวันและคุรุสภา ราว 35 ไร่ มูลค่าราว 1200 ล้านบาท แลกหุ้น ปตท. ของกระทรวงการคลังกว่า 34 ล้านหุ้น (หุ้นละ 35 บาท) ต้นปี 2547 ราคาหุ้นของ ปตท.ขึ้น 5 เท่าตัว อยู่ที่ 140–170 บาท ทำให้กำไรกว่า35,000 ล้านบาท
ในปี 2546 สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้นำที่ดินบริเวณทุ่งพญาไท จำนวน 484.5 ไร่ (มูลค่า 16,500 ล้านบาท) แลกกับหุ้นของธนาคารไทยพาณิชย์ที่กระทรวงการคลังถือ เพื่อเพิ่มหุ้นจาก 11.8% เป็น 24.0 %ในปี 2549 ทั้งๆที่ไม่มีกฎหมายอนุญาต
พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ 2522 บังคับให้เอกชนถือหุ้นธนาคารไม่เกิน 5% ภายในวันที่ 7 มีนาคม 2527 ตอนนั้นสำนักงานทรัพย์สินฯของกษัตริย์ภูมิพล มีหุ้นในธนาคารไทยพาณิชย์ 36% แต่มีการตีความว่าการถือหุ้นของสำนักงานทรัพย์สินฯของกษัตริย์ภูมิพล อยู่ในข้อยกเว้นของกฎหมาย เช่นเดียวกับหน่วยงานของรัฐ สำนักงานทรัพย์สินฯจึงได้สิทธิ์พิเศษควบคุมธนาคารไทยพาณิชย์ไว้เหมือนเดิม
ที่น่าแปลก คือนอกจากพสกนิกรของพระองค์ทั้งที่ร่ำรวยและที่ร่วงโรยจะต้องร่วมทำบุญโดย เสด็จพระราชกุศลมิได้ขาดแล้ว ยังต้องจ่ายเงินภาษีเลี้ยงดูพระราชวงศ์ ให้ดำรงอยู่เป็นศักดิ์ศรีของชาติ มิให้น้อยหน้าพระราชวงศ์ใดๆในโลก ด้วยงบประมาณแผ่นดินที่ค่อนข้างสูงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับพระราชวงศ์ในอารยประเทศที่ประชาชนมีมาตรฐานการกินอยู่ ที่ดีกว่าประชาชนไทยหลายเท่า
งบประมาณของสำนักพระราชวังที่ต้องจ่ายค่าบำรุงเลี้ยงดูพระราชวงศ์เพิ่มมาก ขึ้นเรื่อยๆ ทั้งๆที่เป็นกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก โดยในปี 2551 มีมากกว่า 2,000 ล้านบาท รวมทั้งงบอำนวยความสดวกที่จัดไว้ในหน่วยงานต่างๆรวมเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 6,000 ล้านบาท ยังมีงบแฝงอยู่ในกระทรวงต่างๆ อีก เช่น
ค่าจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ
ค่ารับรอง งบเสด็จพระราชดำเนิน ต้อนรับประมุขต่างประเทศ 500 ล้านบาท งบสำนักพระราชวัง 2,086 ล้านบาท งบถวายอารักขา ถวายพระเกียรติโดยกองทัพบก 185 ล้านบาท
กรมราชองครักษ์ถวายความปลอดภัยถวายพระเกียรติและปฏิบัติตามพระราชประสงค์ 465 ล้านบาท งบสํานักงานตํารวจแห่งชาติถวายความปลอดภัย 349 ล้านบาท กองบัญชาการทหารสูงสุดถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ 120 ล้านบาท งบสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำหรับโรงเก็บเครื่องบินพระราชพาหนะ 2 โรง 381ล้านบาท
งบซื้อเฮลิคอปเตอร์พระราชพาหนะ 3 เครื่อง และโรงจอด 1,220 ล้านบาท งบค่าใช้จ่ายเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง 600ล้านบาท
ขณะที่ค่าใช้จ่ายสำหรับพระราชวงศ์อังกฤษปีละ 2200 ล้านบาท งบค่าใช้จ่ายราชวงศ์ของไทยจึงแพงกว่าอังกฤษถึง 3เท่า ขณะที่ประเทศอังกฤษมีผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงกว่าไทย ถึง 4 เท่า...

Read Comments
  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น