You can replace this text by going to "Layout" and then "Edit HTML" section. A welcome message will look lovely here.
RSS

วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557

พรบ. จัดการทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์

พรบ. จัดการทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์นั้นมีอยู่ 3 ฉบับ อย่างที่เราก็คงทราบกันดีอยู่แล้วคือ...

ฉบับที่ 1 ปี 2479 และต่อมาฉบับที่ 2 ปี 2484 ที่ปรีดีเสนอให้เพิ่มจำนวนกรรมการจาก 4 คนเป็นไม่น้อยกว่า 4 คน ( ไม่รู้จะแก้ทำเชี้ยอะไรครับ )

และก็ฉบับปี 2491 อย่างที่เราคุ้นเคยกันดี ( หุหุ )

แต่จริงๆแล้ว ยังมีร่าง พรบ. จัดการทรัพย์สินฯ อีกฉบับหนึ่งที่ถูกเสนอร่างเข้าสภาโดย นายใหญ่ ศวิตชาต แกนนำพรรคประชาธิปัตย์รุ่นแรก ในการประชุมสภาเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2490

โดย พรบ. แก้ไขฉบับนี้มีใจความสำคัญที่เปลี่ยนไปจากเดิมคือ...

"มาตรา ๖ รายได้และรายจ่ายจากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในความดูแลของกรรมการตามมาตรา ๕ วรรค ๒ ให้กรรมการเสนองบประมาณรายได้รายจ่ายประจำปีขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อนุมัติ เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการจัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แล้ว และมีเงินเหลืออยู่เท่าไร จะทรงจำหน่ายจ่ายแจกประการใดย่อมเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ

ห้ามมิให้ผู้สำเร็จราชการแทนองค์พระมหากษัตริย์ใช้จ่ายเงินนอกเหนือไปจากการพระราชกุศลในฐานะองค์พระประมุขของชาติ"

ซึ่งมาตรานี้ใน พรบ. ปี 2491 ฉบับปัจจุบัน เขียนไว้ว่า...

""มาตรา ๖ รายได้จากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่กล่าวในมาตรา ๕ วรรคสองนั้นจะจ่ายได้ก็แต่เฉพาะในประเภทรายจ่ายที่ต้องจ่ายตามข้อผูกพัน รายจ่ายที่จ่ายเป็นเงินเดือนบำเหน็จ บำนาญ เงินรางวัล เงินค่าใช้สอย เงินการจร เงินลงทุน และรายจ่ายในการพระราชกุศลเหล่านี้ เฉพาะที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว เท่านั้น

รายได้ซึ่งได้หักรายจ่ายตามความในวรรคก่อนแล้ว จะจำหน่ายให้สอยได้ก็แต่โดยพระมหากษัตริย์ ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ว่ากรณีใดๆ หรือโดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เฉพาะในกรณีที่เกี่ยวกับการพระราชกุศลอันเป็นการสาธารณะหรือในทางศาสนา หรือราชประเพณีบรรดาที่เป็นพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์เท่านั้น"

แอดมินจะลองเปรียบเทียบกับ พรบ. ฉบับปัจจุบันดูนะครับ...

"ให้กรรมการเสนองบประมาณรายได้รายจ่ายประจำปีขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อนุมัติ"
กับ
"เฉพาะที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว เท่านั้น"

"จะทรงจำหน่ายจ่ายแจกประการใดย่อมเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ ห้ามมิให้ผู้สำเร็จราชการแทนองค์พระมหากษัตริย์ใช้จ่ายเงินนอกเหนือไปจากการพระราชกุศลในฐานะองค์พระประมุขของชาติ"
กับ
"จะจำหน่ายให้สอยได้ก็แต่โดยพระมหากษัตริย์ ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ว่ากรณีใดๆ หรือโดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เฉพาะในกรณีที่เกี่ยวกับการพระราชกุศลอันเป็นการสาธารณะหรือในทางศาสนา หรือราชประเพณีบรรดาที่เป็นพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์เท่านั้น"

จะเห็นว่าเนื้อหาไม่ได้มีความแตกต่างกันอย่างสำคัญเลย เป็นเพียงการเรียบเรียงเขียนใหม่เท่านั้น แต่เนื้อหายังเหมือนเดิมคือ รายจ่ายให้กษัตริย์อนุมัติ และรายได้ให้กษัตริย์ใช้ตามพระราชอัธยาศัย เว้นแต่ผู้สำเร็จฯให้ใช้ในงานการกุศล ซึ่งจริงๆแล้วในเนื้อหาส่วนอื่น พรบ. ฉบับนี้อาจดีกว่าฉบับปี 2491 ด้วยซ้ำ เช่น เรื่องการดูแลทรัพย์สินส่วนพระองค์ที่ให้เป็นของสำนักพระราชวัง และเรื่องอำนาจของกรรมการทรัพย์สิน

นายใหญ่ได้ให้เหตุผลในการขอแก้ พรบ. ทรัพย์สินฯ ฉบับเดิมไว้ว่า...

"เนื่อจากพระราชบัญญัติที่ใช้อยู่ไม่รัดกุมพอที่จะทำความมั่นคงให้แก่ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ จึงควรปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องนั้นๆเสีย"

และนายใหญ่ยังเสริมความเห็นด้วยอีกว่า...

"อีกประการหนึ่ง ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะให้พระมหากษัตริย์ได้มีโอกาสหรือเป็นเกียรติยศที่จะได้ใช้ทรัพย์สินนี้ให้มากกว่าปกติ"

พูดง่ายๆก็คือ ต้องการให้กษัตริย์ได้ใช้เงินจากสำนักงานทรัพย์สินฯ เยอะๆ ก็เลยโอนอำนาจการดูแลจัดการและใช้จ่ายไปที่กษัตริย์นั่นเอง...

-----------

สุดท้ายแล้ว พรบ. ฉบับนี้ก็ไม่ได้ผ่านสภาครับ เพราะเกิดรัฐประหารปี 2490 ขึ้นมาก่อน...

แต่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ภายใต้การ "อุ้ม" ของคณะรัฐประหาร ก็ได้เสนอ พรบ. ทรัพย์สินฯ 2491 ซึ่งมีเนื้อหาคล้ายคลึงกันขึ้นมาแทน และก็ถูกใช้เรื่อยมา...

คงไม่เป็นเรื่องที่เกินไปนะครับที่จะบอกว่า ร่าง พรบ. ฉบับที่นายใหญ่ ศวิตชาต เสนอนี่แหละ เป็นต้นแบบของ พรบ. จัดการทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ฉบับปี 2491 ที่ทุกๆคนต่างก็หวงแหน ( แฮ่ม... ) ในปัจจุบันนั่นเอง...

ปล. ดูรายชื่อคนร่วมเสนอนะครับ เลียง ไชยกาล "ปรีดีฆ่า ร.8" ไหมครัช

Read Comments
  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น